วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ป้องกัน...ลูกในครรภ์ขาดอาหาร

ถ้าแม่ท้องขาด(อาหาร) ลูกก็ขาด(อาหาร)ด้วย

 
ถ้าเป็นสมัยก่อนคุณอาจนั่งทนทำงานต่อไปได้อีก 2-3 ชั่วโมงหลังจากเวลาอาหารปกติแม้จะยังไม่ได้กินอะไร แต่ยามตั้งครรภ์คงทำแบบนั้นไม่ได้แล้วล่ะ บางคนอาจมีทัศนคติที่ว่าไม่ควรกินมากเพราะลูกในท้องจะได้ตัวเล็ก คลอดง่าย แต่จริงๆแล้วการที่แม่รู้จักเลือกกินอาหาร นอกจากจะไม่ทำให้ตัวเองอ้วนเกินไปแล้ว ลูกในท้องยังแข็งแรงสมบูรณ์ด้วย


ในกรณีที่แม่ขาดอาหาร ลูกในท้องมักจะได้รับผลกระทบอย่างมากค่ะ อันดับแรก คือ มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนดสูง หรือไม่อย่างนั้นทารกที่คลอดออกมา ก็จะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และยังทำให้รกมีขนาดเล็กและเติบโตไม่ดีพอ เมื่อรกทำหน้าที่ได้ ไม่ดี โอกาสที่ลูกจะเสียชีวิตในครรภ์ก็สูงขึ้น ยิ่งในช่วงเดือนแรกๆ และช่วงปลายของการตั้งครรภ์ที่สมองและร่างกายของลูกกำลังพัฒนาเต็มที่นั้น หากลูกมีภาวะขาดอาหารก็จะ เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของลูกได้ อะไรบ่งบอกว่า...ลูกในท้องขาดอาหาร ข้อสังเกตเบื้องต้นของแพทย์ที่จะพิจารณาคือ ขนาดท้องกับอายุครรภ์ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ น้ำหนักของแม่ขึ้นดีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือ เปล่า หรือแม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่


ช่วงที่จะเริ่มสังเกตได้คืออายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งถ้าตรวจพบว่าลูกในท้องของคุณมีความเสี่ยงต่อการขาดอาหาร คุณหมอก็จะให้เพิ่มอาหารประเภทโปรตีน และแนะนำให้คุณแม่นอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น
         

แม่กลุ่มเสี่ยง กับปัญหาโภชนาการ*แม่ที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา
*แม่ที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรง ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เลย
*แม่ที่มีความเจ็บป่วยเรื้องรัง ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน
*แม่ที่มีครรภ์แฝด
*แม่ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี เพราะร่างกายยังต้องการอาหารสำหรับการเจริญ เติบโตของตัวแม่เองมากกว่าปกติ
*แม่ที่ทำงานหนัก และเครียดมากเกินไป หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
*แม่ที่ก่อนตั้งครรภ์ มีร่างกายและสุขภาพไม่ดีนัก น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ หรือกิน อาหารได้น้อยกว่าปกติ


สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=17137
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ข่าวดี หญิงมีลูกช้าอายุยืนยาวกว่า

ผู้หญิงอยากตั้งครรภ์ควรทราบ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานผลการศึกษาที่เผยให้เห็นว่า ในครอบครัวที่มีสมาชิกมีลูกเมื่ออายุมาก สมาชิกในครอบครัวจะมีอายุยืนยาวกว่า สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตของประชากรกว่า 2 ล้านคน


ดร.เคน อาร์ สมิธ จากมหาวิทยาลัยยูท่าห์ เมืองซอลท์เลค สหรัฐอเมริกา ศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีลูกเมื่ออายุ 40 หรือ 50 ปี มีอายุยืนยาวมากกว่า และพี่ชายหรือน้องชายของหญิงผู้นั้นก็มีอายุยืนยาวกว่าคนอื่นด้วยเช่นกัน แต่หญิงที่เป็นภรรยาของพี่ชายหรือน้องชายกลับไม่ได้มีอายุยืนยาวตามไปด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่า พันธุกรรมมีส่วนสำคัญในความเกี่ยวข้องระหว่างการมีลูกเมื่ออายุมาก และอายุที่ยืนยาวของหญิงผู้นั้นและสมาชิกในครอบครัว

การวิจัยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก และเป็นการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติไม่ได้ใช้เทคโนโลยีช่วย เมื่อหมดประจำเดือนหญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมากจะมีชีวิตได้ยืนยาวกว่า


นอกจากนี้เพื่อที่จะศึกษาว่า ญาติของหญิงเหล่านั้นก็มีอายุยืนยาวด้วยเช่นกัน ดร.สมิธ และทีมงานของเขาได้ศึกษาข้อมูลประชากรชายในรัฐยูทาห์ ที่เกิดระหว่างปี ค.ศ.1800  ถึง ค.ศ.1896 จำนวน 11,604 คน และศึกษาข้อมูลประชากรชายที่เกิดระหว่าง ค.ศ.1670 ถึง ค.ศ.1750 ที่อาศัยในรัฐควีเบค ประเทศแคนาดา จำนวน 6,206 คน ผู้ชายทั้งหมดนี้มีพี่สาวหรือน้องสาวอย่างน้อย 1 คน ที่มีชีวิตยืนยาวเกินกว่า 50 ปี ข้อมูลของประชากรเหล่านี้เป็นข้อมูลอย่างดีในการศึกษาเรื่องนี้ เนื่องจากผู้หญิงในยุคนั้นยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีช่วยตั้งครรภ์ และในสังคมวัฒนธรรมที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายมอร์มอน และโรมันคาธอลิกนั้นไม่สนับสนุนให้มีการคุมกำเนิด

"เรากำลังสังเกตการณ์สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ทางชีววิทยา ไม่ใช่ผู้หญิงเลือกที่จะมีลูกเมื่ออายุมาก แต่การมีลูกเมื่ออายุมากสะท้อนว่า หญิงผู้นั้นยังมีความสามารถที่จะมีลูกได้" ดร.สมิธ กล่าว

จากการศึกษากลุ่มผู้หญิงในรัฐยูท่าห์จำนวน 14,123 คน นักวิจัยพบว่า ในกลุ่มผู้หญิงที่มีลูกเมื่ออายุมาก พวกเธอมีอายุยืนยาวกว่าผู้หญิงอื่นๆ ผู้หญิงที่มีลูกคนสุดท้ายระหว่างอายุ 41 และ 44 ปี มีอัตราการตายก่อนอายุ 50 ปี น้อยกว่ากลุ่มผู้หญิงที่มีลูกเมื่ออายุน้อยกว่านี้ถึง 6 % แต่ในผู้หญิงกลุ่มที่มีลูกเมื่ออายุ 45 ปี หรือมากกว่านั้น มีอัตราการตายก่อนอายุ 50 ปีน้อยกว่าถึง 14%

ส่วนในกลุ่มผู้หญิงชาวแคนาดาจำนวน 4,666 คน ตัวเลขข้อมูลการเสียชีวิตออกมาคล้ายกัน หญิงที่มีลูกเมื่ออายุ 42 และ 44.5 ปี มีอัตราการเสียชีวิตลดลงกว่ากลุ่มอื่นถึง 7% และลดลงถึง 17% ในกลุ่มผู้หญิงที่มีลูกเมื่ออายุ 44.5 ปี หรือมีลูกเมื่ออายุมากกว่านั้น

ในการศึกษายังพบว่าพี่ชายหรือน้องชายของผู้หญิงที่มีลูกเมื่ออายุมากก็มีอายุยืนยาวด้วยเช่นเดียวกัน จากข้อมูลพบว่า ชายที่มีพี่น้องผู้หญิงอย่างน้อย 3 คน และในจำนวนนี้มีพี่น้องผู้หญิง 1 คนที่มีลูกเมื่ออายุมากจะมีอายุยืนยาวมากที่สุด ในกลุ่มผู้ชายชาวยูท่าห์ที่มีพี่น้องผู้หญิงที่มีลูกเมื่ออายุมาก พวกเขามีอัตราการตายน้อยกว่าถึง 20% ส่วนกลุ่มผู้ชายชาวควีเบคมีอัตราการตายน้อยกว่าถึง 22%

การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า พันธุกรรม ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ผู้หญิงอายุมากสามารถมีบุตรได้นั้นยังมีความสัมพันธ์กับการมีอายุยืนยาวของทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ดร.สมิธ อธิบายว่า เป็นการยากที่จะหาว่า การมีบุตรเมื่ออายุมากส่งผลให้มีอายุยืนยาวได้อย่างไร แต่ในปัจจุบันเราค้นพบแล้วว่า การมีบุตรช้าจะตามมาด้วยการมีภาวะหมดประจำเดือนที่ช้าตามไปด้วย

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=27377
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่สบาย..ใช้ยาได้ไหมเนี่ย ?

เมื่อไม่ สบายเล็กๆ น้อยๆ คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่คงเคยคิดสงสัยแบบนี้มาแล้วและพอพูดถึงเรื่องไม่สบาย คงหนีไม่พ้นที่ต้องพูดถึงเรื่องยาด้วย หลายคนคงเคยได้ยินกิตติศัพท์ของยาบางอย่างที่ทำให้ลูกน้อยในท้องพิการ จึงทำให้เกิดความกังวลเวลาไม่สบายขึ้นมา(เพราะอาจต้องกินยา)
จริงครับ ยาบางชนิดอาจมีผลร้ายแรงต่อลูกในท้อง สามารถทำให้เกิดการแท้ง หรือพิการแต่กำเนิดได้ แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ยาที่ใช้กันทั่วไปส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างปลอดภัยทั้งกับคุณแม่และลูกในท้อง แต่เพื่อความไม่ประมาท เมื่อจะใช้ยาคุณแม่ควรต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะถ้าแพทย์ผู้ดูแลไม่ได้สั่งยานั้นให้(ซื้อเองตามร้านขายยาทั่วไป)

แม่กินยา..ลูกกินด้วย
ยาเกือบ ทุกชนิด เมื่อคุณแม่กินเข้าไป จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด และส่วนหนึ่งจะผ่านรกไปสู่ลูกในท้อง ทำให้ลูกได้รับยานั้นด้วย ยาจะก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่นั้น ขึ้นกับว่าเป็นยาชนิดอันตรายมากน้อยแค่ไหน และลูกได้รับในปริมาณเพียงใด ที่สำคัญยังขึ้นกับระยะของการตั้งครรภ์อีกด้วย

โดยปกติแล้ว ช่วงเวลาที่อันตรายและอาจทำให้ลูกน้อยเกิดความพิการได้มากที่สุด คือช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะเป็นช่วงที่ทารกกำลังสร้างอวัยวะต่างๆ อยู่ ถ้ามีอะไรไปรบกวนในช่วงนี้จะทำให้เกิดความพิการขึ้นมาได้
เมื่อพ้นช่วงนี้ไปแล้วมักไม่มีผลทำ ให้เกิดความพิการอะไรหรอกครับ แต่จะไปมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มากกว่า ที่สำคัญอีกอย่างคือ มีผลต่อสมอง ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยตลอดตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนหลังคลอด ดังนั้นยาบางชนิดแม้จะไม่ก่อให้เกิดความพิการที่เห็นได้ชัดทางร่างกาย แต่อาจมีผลต่อพัฒนาการของสมองของลูกได้

คุณแม่คงสงสัยว่า แล้วอย่างนี้ถ้าไม่สบายขึ้นมาระหว่างที่ท้องอยู่จะทำอย่างไรดี? จะรับประทานยาได้หรือไม่ ? แล้วยาชนิดไหนอันตราย ? คำ ถามนี้ตอบยาก คงต้องพิจารณาเป็นกรณีไปครับ แต่มีคำแนะนำโดยทั่วไปอยู่บ้าง ถ้าคุณแม่เกิดไม่สบายขึ้นมาหรือจำเป็นต้องรับประทานยาระหว่างตั้งครรภ์

* อย่าลืมประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า คุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ โดยบอกให้แพทย์ เภสัชกร หรือใครก็ตามที่จะรักษาคุณแม่รู้ว่า ฉันกำลังท้องอยู่นะคะ โดยเฉพาะถ้าเพิ่งตั้งครรภ์ (ท้องโตมากแล้วคงไม่ต้องก็ได้ มันเห็นๆ กันอยู่น่ะ)
* ถ้าเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาใดๆ ก็ตามในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะยาที่ซื้อใช้เอง
* ถามตัวเองหรือหมอที่ดูแลว่า จำเป็นต้องใช้ยารักษาอาการไม่สบายที่เกิดขึ้นนั้นหรือไม่ มีทางเลือกอื่นบ้างหรือไม่ที่ไม่ต้องใช้ยา
* ถ้าจะต้องใช้ยาชนิดใดก็ตาม คุณแม่ต้องทราบให้แน่ชัดว่า ยานั้นใช้เพื่อรักษาอะไร และมีผลข้างเคียงหรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะกับลูกในครรภ์ คุณแม่อย่าไปเชื่อเอกสารกำกับยาเสียทีเดียวนะครับ บางทีรายละเอียดในนั้นมีไม่มากพอสำหรับแม่ตั้งครรภ์ อีกอย่างในบ้านเรามักไม่มีเอกสารกำกับยาให้ด้วยซ้ำ ดังนั้นควรปรึกษากับเภสัชกรหรือแพทย์เป็นดีที่สุดครับ
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=1495
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

น้ำในหูไม่เท่ากัน...ยิ่งต้องระวังยามท้อง

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ค่ะ

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Miniere’s disease) เป็นสภาวะความผิดปกติของท่อบรรจุน้ำที่อยู่ในหูชั้นใน โดยมีการขยายตัวจนทำให้ปริมาณน้ำในหูเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ค่ะ
ผู้ที่เป็นน้ำในหูไม่เท่ากัน จะมีอาการเวียนศีรษะเหมือนบ้านหมุน รู้สึกหนักๆ ในหู หูอื้อ ได้ยินเสียงน้อยลง จะเริ่มจากเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งก่อน และท้ายที่สุด บางรายอาจมีอาการลุกลามจนเป็นทั้ง 2 ข้างได้

แม่ท้อง...อาการคูณสอง
พบว่าแม่
ท้องที่มีปัญหานี้ ต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษค่ะ เพราะ...
มีอาการมากกว่าปกติ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิงซึ่งจะมีระดับสูงขึ้นยาม
ท้อง จะไปกระตุ้นให้อาการกำเริบมากขึ้น ทั้งเวียนหัว หูอื้อและได้ยินเสียงน้อยลง
เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย แม่
ท้องมักมีอาการหูอื้อแบบขึ้นๆ ลงๆ ไม่เป็นตลอดเวลา เมื่อมีอาการแล้วพักสักครู่จนหาย ก็อาจมีอาการขึ้นมาอีกครั้งเมื่อไหร่ก็ได้
ร่างกายอ่อนเพลีย แม้จะไม่เป็นอุปสรรคในการคลอด แต่ขณะ
ท้องอาการเหล่านี้จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย กินไม่ได้และอาจทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็น ถ้าเป็นระดับรุนแรงก็อาจต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด
เสี่ยงอุบัติเหตุ เนื่องจากอาการเวียนหัวเหมือนบ้านหมุนอาจเกิดกับแม่
ท้องได้ตลอดเวลา จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ล้ม เลือดออก จนทำให้คลอดก่อนกำหนด ทำให้เป็นอันตรายได้ทั้งแม่และลูกในท้อง
แนวทางรักษา ทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นจึงยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด ทำได้เพียงการบรรเทาอาการและลดปัจจัยกระตุ้นต่างๆ เท่านั้น ดังนี้...

การใช้ยา ยาที่ใช้รักษาในปัจจุบันมีหลายกลุ่มด้วยกัน แต่ที่แม่ท้องสามารถกินได้มีตัวเดียวเท่านั้นคือวิตามินบี ซึ่งจะมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในช่องหูชั้นในและลดภาวะเกิดน้ำได้ อย่างไรก็ตามแม้การกินยาจะช่วยให้อาการดีขึ้น แต่ก็อาจกลับมาเป็นใหม่ได้อีกทุกเวลาและการใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้นค่ะ



ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ผู้ที่เป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากันต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องเพื่ออยู่กับโรคนี้ไปได้อย่างดีที่ สุด นั่นคือการเคลื่อนไหวช้าๆ ลดปัจจัยกระตุ้นต่างๆ พักผ่อนให้เพียงพอค่ะ

การผ่าตัด สำหรับคนท้องไม่สามารถผ่าตัดได้ ต้องรอให้คลอดก่อนจึงจะทำได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพยายามรักษาด้วยวิธีอื่นๆ อย่างเต็มที่ก่อน เพราะการผ่าตัดจะมีความเสี่ยงสูงที่จะกระทบกระเทือนแก้วหูจนอาจทำให้หูดับได้
ผู้ตัดสินใจผ่าตัดมักมีอาการหูไม่ได้ยินเสียงและเวียนหัวมาก จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ จึงยอมเสี่ยงที่จะมีอาการหูดับเพื่อแลกกับการผ่าตัดค่ะ

การฟื้นฟูหลังผ่าตัดหรือการบรรเทาด้วยวิธีอื่นๆ แล้ว การฟื้นฟูด้วยการออกกำลังกายในท่าหมุนศีรษะ เอียงคอสลับซ้ายขวา และก้มเงย จะเป็นการช่วยบริหารกล้ามเนื้อคอและหัวไหล่ รวมทั้งยังมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำ ซึ่งวิธีการต่างๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=18869
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

คาถาเด็ดเรียกน้ำนม (แม่)

คุรแม่ตั้งครรภ์ควรรู้

นวดกระตุ้น
นวดบริเวณเต้านมโดยวางมือลงบริเวณรอบๆ เต้านม แล้วลงน้ำหนักบริเวณนิ้วมือ นวดเบาๆ เป็นการกระตุ้นเพื่อเตรียมความพร้อมของเต้านมอย่างดี คุณแม่สามารถเริ่มนวดกระตุ้นได้ตั้งแต่ช่วงใกล้คลอดที่หน้าอกตึงไปจนถึงหลังคลอด แต่ถ้าหลังคลอดนวดแล้วยังรู้สึกคัดตึงเต้านมมาก ก็สามารถใช้การประคบร้อนสลับเย็นช่วยบรรเทาอาการปวดได้ และคุณแม่อาจจะคลึงบริเวณรอบเต้านมก่อนให้ลูกกินนมเพื่อให้น้ำนมไหลสะดวกยิ่งขึ้น

กินอาหารเสริมน้ำนม
ช่วงให้นมคุณแม่ต้องเน้นกินอาหารที่มีแมกนีเซียมและแคลเซียมสูงเข้าไว้ค่ะ เพราะปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมในร่างกายที่พอเพียงมีผลต่อกลไกน้ำนมพุ่งปรี๊ด คุณแม่หลังคลอดจึงควรกินผักใบเขียวมากขึ้นเพราะอุดมไปด้วยแมกนีเซียม และกินอาหารจำพวกนม ไข่ ปลา เพื่อเพิ่มปริมาณแคลเซียมให้แก่ร่างกาย อาหารเรียกน้ำนมยอดฮิตของคนไทยก็เช่น แกงเลียง ต้มหัวปลี ไก่ผัดขิง ฯลฯ ล้วนเป็นอาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียมและแคลเซียมทั้งสิ้น

ดูด (ปั๊ม) กระตุ้นเป็นประจำ
วิธีเรียกน้ำนมแบบนี้อาจจะเรียกว่าเป็นหลักอุปสงค์อุปทานค่ะ เพราะถ้าคุณแม่อยากมีน้ำนมเยอะ ก็ต้องให้ลูกดูดบ่อยๆ ถึงจะมีน้ำนมหรือไม่ก็ตาม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมถูกผลิตออกมา สำหรับคุณแม่ที่เป็น Working Mom และจำเป็นต้องกลับไปทำงานก็อย่าพลาดใช้บริการเครื่องปั๊มนม โดยเลือกเครื่องปั๊มที่จังหวะปั๊มใกล้เคียงกับจังหวะดูดของลูก และปั๊มตามเวลาที่ลูกเคยกิน หากไม่ปั๊มตามเวลาเดิมอาจจะทำให้น้ำนมลดลงและหมดไปในที่สุด

ดื่มน้ำอุ่น
คุณแม่ที่ให้นมลูกควรดื่มน้ำอุ่น เพราะว่าน้ำอุ่นจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เลือดไหลเวียนได้ดีเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้นอีกทางหนึ่ง และถ้าดื่มก่อนให้นมทุกครั้งอาจจะเป็นการสร้างเงื่อนไขให้ร่างกาย ทำให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้นอีกด้วย
การให้นมแม่ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เพียงคุณแม่ตั้งใจมั่น ผ่อนคลาย และปล่อยให้ไปเป็นตามธรรมชาติ เท่านี้เจ้าตัวเล็กก็จะได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอแล้วล่ะค่ะ

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=25920
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

คัดกรองเด็กดาวน์

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรศึกษาไว้
เหตุใดต้องตรวจคัดกรอง

ประเทศ ที่เจริญแล้วมักมีความพยายามลดปริมาณเด็กดาวน์ที่เกิดในประเทศ เพื่อลดภาระของประเทศและสังคมโดยรวม จึงมีความพยายามที่จะหามาตรการวินิจฉัยเด็กในครรภ์ให้ได้ก่อนคลอด เพื่อพิจารณายุติการตั้งครรภ์กรณีที่ทราบได้เร็วก่อนที่ทารกจะอยู่รอด หรือทราบเพื่อเตรียมตัวดูแลลูกเมื่อหลังคลอด แต่ถึงอย่างไรนั้นปัจจุบันยังไม่มีวิธีการแก้ไขภาวะเด็กดาวน์
ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ครับ 
วิธีการตรวจกรองเด็กดาวน์

การ ตรวจกรอง (Screening) เป็นเพียงการประเมินความเสี่ยงให้เฉพาะเจาะจงกับคุณแม่แต่ละคนครับ ซึ่งจะมีความจำเพาะกว่าการใช้ตัวเลขความเสี่ยงเฉลี่ยของอายุเป็นตัวแทนความ เสี่ยงเฉลี่ยของตัวเอง เช่น คุณแม่คนหนึ่งอายุ 30 ปี โดยเฉลี่ยความเสี่ยงที่คุณแม่คนนี้จะให้กำเนิดเด็กดาวน์อยู่ที่ประมาณ 1:900 (ดูตามตารางความเสี่ยงครับ) ซึ่งนี่คือความเสี่ยงเฉลี่ยของคุณแม่ที่อายุ 30 ปีจำนวนมาก แต่ว่าคุณแม่ที่อายุ 30 ปีแต่ละคนอาจมีความเสี่ยงมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้

การตรวจกรองโดย การเจาะเลือดแม่เป็นการปรับความเสี่ยงให้เป็นความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละคนครับ เช่นคุณแม่ที่อายุ 30 ปีท่านนี้ (ความเสี่ยงเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 1:900) แต่เมื่อตรวจกรองเลือดแล้ว ความเสี่ยงอาจเปลี่ยนเป็น 1:2000 ซึ่งอาจทำให้คุณแม่สบายใจขึ้น หรืออาจถูกเปลี่ยนเป็น 1:100 หลังจากตรวจแล้ว ซึ่งความเสี่ยงนี้เทียบเท่ากับความเสี่ยงของคุณแม่ที่มีอายุเท่ากับ 40 ปี ในกรณีหลังคุณแม่ท่านนี้จะได้รับคำแนะนำให้ตรวจน้ำคร่ำเพราะถือว่ามีความ เสี่ยงสูง แต่จะยังไม่ได้รับวินิจฉัยว่ามีทารกดาวน์ครับ

วิธีการ ตรวจโดยทั่วไปเป็นการตรวจสารชีวเคมี 3 ตัว ได้แก่ Alpha fetoprotein (AFP) , Unconjugated estriol (uE3) , Human chorionic gonadotropin ( hCG) ซึ่งมักเรียกว่า Triple test หรือ Triple screening (บางสถาบันอาจตรวจสารชีวเคมี 2 ตัวหรือ 4 ตัว ซึ่งก็เรียกว่า Double test หรือ Quadruple test ตามลำดับครับ ซึ่งจะให้ความไวในการตรวจจับเด็กดาวน์ต่างกันบ้างเล็กน้อย)

ช่วง เวลาที่เหมาะสมกับการตรวจน้ำคร่ำคือเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ16-20 สัปดาห์ โดยผลจะทราบหลังการตรวจ 1 สัปดาห์ การตรวจวิธีนี้มีความไวในการตรวจกรองเด็กดาวน์ประมาณร้อยละ 60-65 หมายความว่าหากมีแม่ที่อุ้มเด็กดาวน์100 คน ตรวจ Triple screening แล้ว ผลจะบอกว่ามีความเสี่ยงสูงและควรไปตรวจน้ำคร่ำต่อไปจำนวน 60-65 ราย ซึ่งในกลุ่มนี้จะทำให้ทราบว่ามีเด็กดาวน์ในที่สุด จะเห็นได้ว่าTriple screening จะไม่สามารถตรวจจับเด็กดาวน์ได้อีกร้อยละ 35-40 นอกจากนี้ ตัว test นี้ยังให้ผลบวกลวงร้อยละ 5 กล่าวคือ หากนำ test นี้ไปตรวจในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เด็กปกติ100 ราย test นี้จะบอกว่ามีความเสี่ยงต่ำเพียง 95 ราย และจะบอกว่ามีความเสี่ยงสูง 5 ราย ซึ่งใน 5 รายนี้ จะถูกแนะนำให้ไปตรวจน้ำคร่ำในที่สุด

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการนำวิธีการตรวจกรองในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์มาใช้โดยตรวจ hCG และ PAPP-A ( Pregnancy associated plasma protein-A) ทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10-13.6 สัปดาห์ วิธีนี้มีข้อดีกว่าวิธีเดิมอยู่บ้างตรงที่สามารถนำข้อมูลของการตรวจเลือดไป ใช้แปรผลร่วมกับการตรวจความหนาของหนังคอทารกในครรภ์โดยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มความไวในการตรวจกรองเป็นร้อยละ 90-95 โดยมีผลบวกลวงร้อยละ 5 เช่นเดิมครับ แต่เนื่องจากวิธีนี้ยังเป็นวิธีที่ใหม่อยู่ จึงยังไม่ได้แนะนำให้ใช้กันแพร่หลายอย่างวิธีดั้งเดิมครับ  


 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=12449
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ทำไงดี...มีลูกยากจัง

นั่นสิคะ...เพราะปัญหามิได้อยู่แค่ว่า "มีลูกยาก" เท่านั้น
แต่ยังอยู่ที่ "ทำใจยาก (ยิ่งกว่า)" เมื่อพยายามมี แต่มีไม่สำเร็จสักทีด้วยน่ะสิ เฮ้อ!

คุณแม่ที่อยากตั้งครรภ์ลองอ่านดูน่ะ
ถ้า พูดถึงครอบครัวในภาพที่ทุกคนจินตนาการไว้ก็คงต้องประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก อยู่กันอย่างพร้อมหน้า นั่งรับประทานอาหารด้วยกัน เย้าแหย่กันตามประสาตามวิถีชีวิตของแต่ละคน มีความสุขเมื่อได้เห็นรอยยิ้มของลูก ได้เห็นการเจริญเติบโตและความก้าวหน้าของลูก นั่นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกท่านต้องการและตั้งความหวังไว้ แต่จะมีพ่อแม่กลุ่มหนึ่งจนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถมีลูกไว้เชยชมได้ ดังเช่นประสบการณ์ของพ่อแม่คู่ที่กำลังจะเล่าให้ฟัง ซึ่งอาจจะตรงหรือใกล้เคียงกับประสบการณ์ของพ่อแม่บางท่าน

อย่างไรจึงเรียกว่า "มีลูกยาก"
เมื่อ พูดถึงการมีลูกยากโดยทั่วไปจะหมายความว่าชายหญิงอยู่ด้วยกัน มีเพศสัมพันธ์กันสม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิดแล้วยังไม่สามารถที่จะมีลูกได้ในระยะเวลา 1 ปี นั่นเป็นความหมายโดยทั่วๆไป แต่อยากจะเตือนนะครับว่าคุณแม่ท่านไหนที่อายุมาก โดยเฉพาะอายุมากกว่า 38 ปีขึ้นไป ถ้าได้พยายามที่จะมีลูกสัก 6 เดือนแล้วยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ควรจะรีบปรึกษาแพทย์นะครับ อย่าชะล่าใจปล่อยไปเรื่อยๆ เพราะยิ่งอายุมากโอกาสการตั้งครรภ์จะน้อยลง การรักษาจะยากขึ้นมาก แต่ถ้าอายุยังน้อยก็ยังพอที่จะรอได้นะครับยังไม่ต้องใจร้อนรีบปรึกษา
เพราะ โดยทั่วไป ชายหญิงอยู่ด้วยกันมีเพศสัมพันธ์กันสม่ำเสมอ จะมีโอกาสการตั้งครรภ์ภายในปีแรกประมาณร้อยละ 85 มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่จะเข้าข่ายการมีลูกยาก แต่ยกเว้นในคู่ที่ประวัติมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาการมีลูกยาก เช่น ฝ่ายหญิงเคยผ่าตัดในช่องท้องมาก่อน มีประวัติการอักเสบในอุ้งเชิงกราน หรือฝ่ายชายเคยมีลูกอัณฑะอักเสบ หรือเคยผ่าตัดบริเวณลูกอัณฑะ เป็นต้น คู่เหล่านี้ควรจะปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ

 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=21814
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ตรวจหาความผิดปกติของสมองลูก

ปกติก่อนจะตรวจร่างกายทารกในครรภ์ จำเป็นต้องตรวจภาวะแวดล้อมรอบตัวทารกทั่วไปก่อนครับ โดย ดูจำนวนทารกในครรภ์ การเต้นของหัวใจ ตำแหน่ง ท่าทาง ปริมาณน้ำคร่ำรอบตัวทารก นอกจากนี้ยังต้องตรวจดูตำแหน่งและเกรดของทารก (ความแก่ของรก) ดูบริเวณมดลูกว่ามีเนื้องอกและความผิดปกติอื่นบริเวณปีกมดลูกร่วมด้วยหรือ ไม่

ซึ่ง ความผิดปกติทางโครงสร้างของทารกอาจเป็นผลมาจากพันธุกรรม สภาพแวดล้อมและอื่นๆ โดยร้อยละ 50 จะไม่ทราบสาเหตุ เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่างในการวินิจฉัยโดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกของการตั้ง ครรภ์ เช่น ช่วง 8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์จะมีการยื่นของลำไส้ทารกเข้าไปในสายสะดือจนเกิดเป็น ก้อนขึ้นมา แล้วจะกลับเข้าไปในช่องท้องของทารกเมื่ออายุครรภ์ 11 สัปดาห์ อันอาจทำให้คิดว่าเป็นลำไส้ที่ยื่นผิดปกติได้ แต่จริงๆ เป็นลักษณะที่พบได้ปกติครับ

ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะตรวจหา ความผิดปกติทางโครงสร้างของทารกตั้งแต่ในไตรมาสแรก แต่ตอนนี้สูติแพทย์ทั่วไปยังคงยึดถือการตรวจในช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นมาตรฐาน โดยใช้การอัลตราซาวนด์ในการวินิจฉัย ดังนั้นไม่ว่าจะตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วงใดของอายุครรภ์ก็ตาม จะไม่สามารถวินิจฉัยความผิดปกติทุกอย่างของทารกในครรภ์ได้ครับ

ส่วน ความผิดปกติที่พบบ่อยนั้น ผมขอเริ่มจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ศีรษะของทารกนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการใช้กำหนดอายุครรภ์ คุณหมอต้องวัดความกว้างของศีรษะของทารก ซึ่งเรียกว่า Biparietal diameter เป็นมาตรฐานในการคำนวณอายุครรภ์ ความผิดปกติแต่กำเนิดในระบบประสาทส่วนกลางที่พบก็เช่น

ทารกหัวบาตร (Hydrocephalus) เป็นภาวะที่มีปริมาณน้ำในช่องสมอง (Cerebrospinal fluid = CSF) เพิ่มมากผิดปกติ อะไรก็ตามที่ทำให้มีการสร้าง CSF เพิ่มขึ้น จะทำให้มีการดูดซึมกลับของ CSF ช้าลง หรือมีอะไรไปขวางทางไหลเดินของ CSF ก็จะทำให้เกิดเด็กหัวบาตรขึ้นในที่สุด

คุณหมอจะวัดความกว้างของช่อง Ventricle ในสมอง ซึ่งปกติมีความกว้างประมาณ 7.6 ? 0.6 มม. ตลอดอายุครรภ์ตั้งแต่ 15-40 สัปดาห์ หากมากกว่า 15 มม. ถือว่าผิดปกติครับ

มีช่องว่างในสมอง ที่เรียกว่า Holoprocencephaly ก็เป็นความผิดปกติที่มักพบร่วมกับการที่ทารกมีตาเดียว (Single orbit) มีปากแหว่งตรงกลาง มีช่องจมูกช่องเดียว และอาจพบก้อนเนื้อยื่นเหนือระดับตาด้วย

ในบางรายจะไม่พบกะโหลก (anencephaly) และมีลักษณะตาที่คล้ายกบ เรียกว่า Frog eye appearance ลักษณะอื่นที่พบด้วย ได้แก่ ครรภ์แฝดน้ำ เกิดจากมีการผลิตน้ำคร่ำมากขึ้นร่วมกับการที่ทารกในครรภ์กลืนน้ำคร่ำได้ไม่ ปกติ โดยภาวะที่ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะนี้สามารถตรวจหาได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์

นอกจากนี้หากคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วมีการติดเชื้อในครรภ์เกิด ขึ้น โดยเฉพาะการติดเชื้อ กลุ่ม Virus ได้แก่ toxoplasma หัดเยอรมัน cytomegalovirus เริม ซึ่งสามารถผ่านรกทำให้ทารกติดเชื้อได้ ส่งผลให้มีการติดเชื้อในสมองทารก ทำให้ศีรษะทารกเล็ก เนื้อสมองฝ่อ ช่องสมองที่มีน้ำใหญ่ขึ้น นอกจากนี้จะเห็นจุดขาวๆ ในเนื้อสมอง ซึ่งเกิดจากการสะสมของแคลเซียม และอาจตรวจพบตับ ม้ามโต ในกรณีของการติดเชื้อ cytomegalovirus ด้วย

กรณีมีการอุดตันของหลอด เลือดแดง หลอดเลือดดำ หรือการอุดตันของเส้นเลือดในสมองทารกข้างใดข้างหนึ่ง จะทำให้เกิดการฝ่อตัวของเนื้อสมองในข้างเดียวกัน โครงสร้างภายในสมองก็จะโย้ไปด้านที่ฝ่อได้

ในบางรายมีการอุดตันของ หลอดเลือดแดงของทารกทำให้เกิดการทำลายของเนื้อสมอง เมื่ออัลตราซาวนด์คุณหมอจะเห็นของเหลวเต็มกะโหลกศีรษะ โดยไม่เห็นเนื้อสมองเลย 



คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=12009
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

สาวเอย..ตรวจภายในกันหรือยัง?

คุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งหลายมาอ่านกันค่ะ

เจาะลึกเรื่อง "ตรวจภายใน"ผู้หญิง ทุกคนคงไม่ปฏิเสธว่าสุขภาพกายที่ดีนำมาซึ่งสุขภาพจิตที่ดีและความ สามารถในการทำงานในชีวิตประจำวันหลายๆอย่าง จากรายงานทางการแพทย์ในทุกยุคทุกสมัยพบว่าหญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกสูง เป็นอันดับ 1 ของอวัยวะสืบพันธุ์ แต่หมอเองก็แปลกใจที่หญิงไทยส่วนใหญ่กลับให้ความสนใจต่อ "การตรวจภายในประจำปี" กันน้อยมาก กว่าจะมาหาหมออีกทีก็ตอนที่มีปัญหามาก เป็นมะเร็งระยะลุกลาม ไม่สามารถเยียวยารักษาได้ทันเวลาซะแล้ว

การ ตรวจภายในจัดเป็นการตรวจพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งมักจะตรวจโดยแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญทางด้านสูตินรีเวช ผู้หญิงที่จะรับบริการการตรวจภายในจะต้องยินยอมให้แพทย์ใช้อุปกรณ์พิเศษและ มือตรวจทางช่องคลอด เพื่อหาความผิดปกติที่บริเวณปากมดลูก ตัวมดลูก ปีกมดลูกและรังไข่ โดยอาศัยการสัมผัสของมือทั้งสองผ่านทางหน้าท้องและทางช่องคลอดพร้อมกัน ก็จะสามารถตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายในได้

วิธีตรวจเริ่มจากต้อง ถอดกางเกงชั้นในออก ปัสสาวะทิ้งให้หมด สวมใส่แต่กระโปรงหรือผ้าถุงเท่านั้น จากนั้นจึงขึ้นนอนบนเตียงพิเศษ โดยเตียงจะมีเบาะรองรับบริเวณศีรษะ หลัง ไปจนถึงสะโพก บริเวณปลายเตียงจะมีขาตั้งไว้รองรับบริเวณส้นเท้า เมื่อขึ้นนอนจะต้องแยกขาออกแล้วเอาส้นเท้ายันไว้ที่ปลายเตียง พยายามเลื่อนบริเวณก้นให้มาอยู่ที่ขอบเตียงด้านล่างให้มากที่สุดเพื่อความ สะดวกในการตรวจภายในของแพทย์ นอกจากนี้ ควรทำร่างกายให้ผ่อนคลาย ทำจิตใจให้สบาย หย่อนกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องให้มากที่สุดในช่วงที่แพทย์ทำการตรวจภายใน ทั้งนี้เพื่อที่แพทย์จะได้ให้การตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป

อุปกรณ์ พิเศษที่แพทย์ใช้จะมีลักษณะคล้าย "ปากเป็ด" สามารถเปิดอ้าขยายและหุบได้ตามความต้องการ เรียกทางการแพทย์ว่า "Speculum" มีหลายขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซ็นติ-เมตร ไปจนถึง4 เซ็นติเมตร โดยแพทย์จะเลือกใช้ขนาดตามความเหมาะสมของผู้รับบริการ  


 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=2403
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ข่าวดี หญิงมีลูกช้า

อายุยืนยาวกว่า

ข่าวดี สำหรับหญิงอยากตั้งครรภ์ แต่มีลูกช้า มีลูกเมื่ออายุมากแสดงว่าคุณอาจมีอายุยืนยาวมากกว่าคนอื่น เพราะแสดงถึงร่างกายอันแข็งแรงพร้อมจะมีชีวิตอีกยาวนานกว่าคนทั่วไป

ในการศึกษายังพบว่าพี่ชายหรือน้องชายของ ผู้หญิงที่มีลูกเมื่ออายุมากก็มีอายุยืนยาวด้วยเช่นเดียวกัน จากข้อมูลพบว่า ชายที่มีพี่น้องผู้หญิงอย่างน้อย 3 คน และในจำนวนนี้มีพี่น้องผู้หญิง 1 คนที่มีลูกเมื่ออายุมากจะมีอายุยืนยาวมากที่สุด ในกลุ่มผู้ชายชาวยูท่าห์ที่มีพี่น้องผู้หญิงที่มีลูกเมื่ออายุมาก พวกเขามีอัตราการตายน้อยกว่าถึง 20% ส่วนกลุ่มผู้ชายชาวควีเบคมีอัตราการตายน้อยกว่าถึง 22%

การ ค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่า พันธุกรรม ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ผู้หญิงอายุมากสามารถมีบุตรได้นั้นยังมีความสัมพันธ์ กับการมีอายุยืนยาวของทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ดร.สมิธ อธิบายว่า เป็นการยากที่จะหาว่า การมีบุตรเมื่ออายุมากส่งผลให้มีอายุยืนยาวได้อย่างไร แต่ในปัจจุบันเราค้นพบแล้วว่า การมีบุตรช้าจะตามมาด้วยการมีภาวะหมดประจำเดือนที่ช้าตามไปด้วย


ปัจจุบัน ดร.สมิธ และทีมงานของเขายังคงค้นหาต่อไปด้วยว่า การมีบุตรช้า และการมีอายุยืนยาวนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคต่างๆ ที่ทำให้อายุสั้น เช่น โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็งหรือไม่ ถ้าผลออกมาว่า การมีอายุยืนยาวไม่เกี่ยวข้องกับการมีหรือไม่มีโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะ นั่นอาจแสดงว่าพันธุกรรม ที่ทำให้มีบุตรช้าอาจมีผลต่อร่างกายที่ดีกว่านั้น ด้วยการช่วยชะลอความเสื่อมโทรมตามวัยของร่างกายให้กับหญิงที่มีบุตรช้า และญาติพี่น้องของเธอ


 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=27377
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

เจาะน้ำคร่ำ...วินิจฉัยทารกก่อนคลอด

คุณแม่ตั้งครรภ์มาอ่านกันค่ะ
ทำไมต้องเจาะน้ำคร่ำ
คุณหมอไม่ได้เจาะน้ำคร่ำคุณแม่ทุกคนหรอกครับ โดยจะเลือกเจาะเพื่อตรวจหาความผิดปกติทางโครโมโซมในกรณีต่อไปนี้ครับ

• คุณแม่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

• เคยคลอดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ

• มีประวัติการแท้งบ่อย

• ได้รับการตรวจโดยวิธีการทางชีวเคมีจากการตรวจเลือดคุณแม่แล้วได้ผลผิดปกติ 

ตรวจพบความพิการภายนอกของทารกจากการอัลตราซาวนด์

• ตรวจพบว่าทารกในครรภ์โตช้า

นอกจากนี้ การเจาะน้ำคร่ำยัง มีประโยชน์ในการตรวจหาโรคที่มีความผิดปกติ ของกระบวนการดูดซึมและเสริมสร้างร่างกายของทารก การตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอ การติดเชื้อในทารกและความสมบูรณ์เต็มที่ของปอดด้วยครับ

อายุครรภ์กับการเจาะน้ำคร่ำ
การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาความผิดปกติทางโครโมโซมหรือโรคทางพันธุกรรม มักทำในช่วงอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่มดลูกมีขนาดพอเหมาะในการใช้เครื่องมือตรวจ เพราะ

* คลำมดลูกได้ชัดเจนทางหน้าท้อง และมีปริมาณน้ำคร่ำพอเหมาะคือประมาณ 150-250 ซี.ซี. จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ

* ในน้ำคร่ำมีความเข้มข้นของเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่เพียงพอในการวินิจฉัย ทำให้ลดความล้มเหลวในการเพาะเลี้ยงเซลล์ลง เหลือน้อยกว่าร้อยละ 0.5

* ที่สำคัญการเจาะน้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์นี้ ไม่มีผลทำให้ความดันภายในถุงน้ำคร่ำเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

แต่ถ้าเจาะตรวจช่วงที่อายุครรภ์มากเกินไป โดยเฉพาะถ้าเกิน 26 สัปดาห์ไปแล้ว ความล้มเหลวจากการเพาะเลี้ยงเซลล์จะมีมากขึ้น นอกจากนี้หากผลการตรวจผิดปกติ จะทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากโดยทั่วไปการเพาะเลี้ยงเซลล์ และการรายงานผลการตรวจโครโมโซมจะใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์



คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=12725
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ให้มือน้อยๆ ได้ปั้นโลกบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์มาอ่านกันค่ะ
ด็ก...มิใช่เพียงความว่างเปล่าที่ต้องรอให้ผู้ใหญ่คอยแต่ง เติมสิ่งต่างๆให้เท่านั้นค่ะ แต่เขาสามารถเลือก ที่จะเรียนรู้และจดจำสิ่งที่สนใจ...ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ดิฉันมีลูก เมื่ออายุกว่า 40 แล้ว ตอนตั้งครรภ์คนที่รู้จักมักคุ้นกัน จะทักด้วยความห่วงใยว่า อายุปูนนี้มีท้องเสี่ยงนะ เสี่ยงทั้งแม่และลูกในท้อง ไม่ใช่ดิฉันจะไม่รู้ความเสี่ยงนี้ แต่ความต้องการมีลูกนั้นบดบังความกลัวเสียสิ้น ซึ่งนั่นก็คงเป็นสัญชาติญาณของความเป็นแม่ที่มีอยู่ในผู้หญิงทุกคน

ประสบการณ์ ที่ดิฉันคิดว่าเพศแม่หลายๆ คนควรจะได้รับ แม้เป็นผู้อยู่ในวัยเสี่ยง นั่นก็คือ การได้คลอดลูกอย่างปกติธรรมชาติ ดิฉันโชคดีที่ได้รับความสนับสนุนช่วยเหลืออย่างดียิ่งจากคุณหมอผู้รับฝาก ท้อง

เมื่อถึงเวลาคลอด ดิฉันไม่ได้ฉีดยาชาหรือให้หมอบล็อคหลังเพื่อระงับความเจ็บปวด ความเจ็บปวดระหว่างคลอด ทำให้ระลึกถึงแม่ และซาบซึ้งในความรักของแม่มากขึ้น ได้รู้สึกถึงความผูกพันระหว่างแม่-ลูก ความทุรนทุรายของเจ้าตัวเล็กที่กำลังพรากจากโลกมืดอันอบอุ่นในท้องแม่ สู่โลกใหม่ภายนอก แม้สายสะดือของลูกจะถูกตัดขาดไป แต่สายสัมพันธ์อันล้ำลึกได้ก่อกำเนิดขึ้น คงคล้ายกับความรู้สึกของคู่หูผู้ผ่านความเป็นความตายของสงครามมาด้วยกัน

นี่ถ้าหากดิฉันถูกวางยาชาหรือวางยาสลบในระหว่างผ่าตัด ประสบการณ์และความรู้สึกอันล้ำลึกดังกล่าวคงขาดหายไปอย่างน่าเสียดาย

เพื่อนๆ พอรู้ว่าดิฉันคลอดโดยไม่ผ่าตัด ต่างพากันประหลาดใจว่าเป็นไปได้อย่างไร บ้างก็ทำท่ายกนิ้วหัวแม่มือให้ว่านายแน่มาก แต่ดิฉันคิดว่าการคลอดโดยวิธีปกติน่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับผู้หญิงทั่ว ไป มิใช่กรณียกเว้น

อีกปรารถนาหนึ่งที่สัญชาติญาณแม่ในตัวดิฉัน เรียกร้อง คือการได้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมของตนเอง ตอนแรกดิฉันคิดว่าเรื่องนี้ไม่น่ามีปัญหา แต่เมื่อพยาบาลนำลูกมาให้เพื่อกินนมแม่ ปรากฏว่ามีน้ำนมเพียงไม่กี่หยด ดิฉันรู้สึกกังวลใจมากว่าจะไม่มีน้ำนมพอเลี้ยงลูก ดังนั้นระหว่างอยู่โรงพยาบาลลูกจึงรับแต่นมผสม

เพื่อนคนหนึ่งของ ดิฉันให้กำลังใจว่าอย่าท้อถอย เพราะตัวเธอเองก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน แต่ก็พยายามให้ลูกของเธอดูดนมจนมีน้ำนมไหลออกมาตามปกติ เมื่อกลับมาอยู่บ้าน ดิฉันก็ทำตามคำแนะนำของเพื่อน ทีแรกก็เกือบจะท้อถอยเหมือนกันแต่ลูกก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แม้เขาจะติดรสชาติของนมผสมจากโรงพยาบาลแล้วก็ตาม เมื่อให้เขาดูดนมแม่ เขาก็ตั้งใจดูดอยู่นาน แม้จะมีนมเพียงเล็กน้อย

ในที่สุดการดูดบ่อยๆ ของลูกก็ช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลออกมา ดูเหมือนจะใช้เวลาเกือบหนึ่งอาทิตย์ ดิฉันเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเวลา 9 เดือนครึ่ง โดยมีนมผสมช่วยเสริมน้อยมาก

ช่วง เวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมของตนเอง นับเป็นเวลาที่มีความสุขที่สุดช่วงหนึ่งในชีวิต ไม่เพียงคุณค่าทางอาหารและภูมิคุ้มกันโรคที่ลูกได้จากน้ำนมแม่เท่านั้น แต่ทั้งแม่และลูกได้สัมผัสไออุ่นของกันและกัน สายตาของลูกน้อยที่ประสานสายตาแม่ขณะดูดดื่มนม เป็นสื่อรักที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าภาษาพูด

ดิฉันชอบพุทธวัจนะบทหนึ่งที่ ว่า "มารดารักถนอมลูกคนเดียวของตนเช่นไร พึงรักถนอมชีวิตทั้งปวงเช่นนั้น" และยังทรงบอกด้วยว่า "คถาคตเมตตาพระเทวทัตเช่นเดียวกับเมตตาพระราหุล"

ดิฉัน เพิ่งมารู้สึกจับใจในพุทธวัจนะนี้จริงๆ ก็ตอนมีลูกเองนี่แหละ ความรู้สึกรักถนอมลูกคนเดียวเป็นเช่นไร คุณแม่ทั้งหลายที่มีลูกโทนคงซาบซึ้งดี ก็คงไม่ต่างจากความรู้สึกของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีต่อพระโอรสองค์เดียวของ พระองค์กระมัง

แต่การรักคนอื่นเหมือนรักลูกตัวเอง อาจจะเป็นศักยภาพที่เหลือวิสัยสำหรับตนเองในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ดิฉันก็เห็นด้วยกับพระพุทธเจ้าอย่างยิ่งที่ทรงใช้ความรักที่แม่มีต่อลูก เป็นต้นแบบของความรักสากลที่สามารถสัมผัสได้

และถ้ามองจากอีกด้าน หนึ่ง ความรักที่ลูกมีต่อแม่ก็เป็นความรักที่มีคุณค่าไม่แพ้กัน ผู้ใหญ่มักจะเข้าใจว่าเด็กเล็กๆ นั้นเป็นฝ่ายต้องการความรัก ความเอาใจใส่แต่ถ่ายเดียว ยังให้ความรักใครไม่เป็น สำหรับตัวเองมิได้เข้าใจเช่นนั้นแล้ว เมื่อสัมผัสความรักที่ลูกมีต่อเรา จากสายตาที่เขามองดูเราขณะกำลังดูดดื่มนมจากอกของเรา ตอนนั้นเขามีอายุไม่กี่เดือน ตอนนี้เขามีอายุครบ 4 ขวบแล้ว เวลาตื่นนอนบาง เช้าลูกจะมากอดเราแล้วบอกว่า

"ขวัญรักแม่ ขวัญคิดถึงแม่" เพราะเขารู้ว่าทุกเช้าเราต้องจากกัน แม่ไปทำงาน ลูกไปเรียนหนังสือ 


 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=1437
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

เมื่ออายุเป็นเพียงตัวเลข

คุณแม่ตั้งครรภ์มาอ่านกันค่ะ
เดี๋ยวนี้วิทยาการล้ำหน้า อะไรๆ ที่เคยคิดว่าเป็นเรื่องยากก็เป็นไปได้ทั้งนั้น เห็นได้จากอายุของแม่ผู้ให้กำเนิดลูกน้อยที่นับวันจะมากขึ้นๆ ที่ว่ามากนี่ไม่ใช่แค่ 30 ปี 40 ปี หรอกนะคะ แต่เป็นระดับแม่เฒ่ากันเลยทีเดียว

 นับตั้งแต่ปี 2001 ที่แม่เฒ่าวัย 62 ให้กำเนิดลูกน้อยได้สำเร็จ มาจนกระทั่งต้นปีนี้หญิงชาวอินเดีย วัย 70 ปี ก็ได้ให้กำเนิดลูกแฝดชายหญิงไปพร้อมๆ กับรับตำแหน่งแม่อายุมากที่สุดในโลกไปครอง

และเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้เอง หญิงชาวฝรั่งเศสเชื้อสายเวียดนาม วัย 59 ปี ก็ได้ทำลายสถิติใหม่ในการให้กำเนิดทารกแฝด 3 (ชาย 2 คน และหญิง 1 คน) ได้สำเร็จ จากการผสมเทียมด้วยเทคนิคเด็กหลอดแก้ว (IVF) แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วแพทย์จะจำกัดอายุหญิงที่สามารถเข้ารับการผสมเทียมด้วย วิธีดังกล่าวไว้ที่ 45 ปีก็ตาม…

เชื่อว่ายังมีผู้หญิงอีกมากที่กำลังพยายามฝืนกฎธรรมชาติ เพื่อเดินไปสู่การเป็น ‘แม่’ ให้ได้ โดยทิ้งตัวเลขแห่งวัยเอาไว้เบื้องหลัง

 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=22832
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

พ่อหรือแม่ (อายุมาก) เสี่ยงที่ใครกันแน่?

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้
พ่อหรือแม่ ..เสี่ยงที่ใครกันแน่
ในสมัยก่อนเราเชื่อว่าคุณแม่สูงอายุน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญเพียงอย่างเดียวที่ทำให้ลูกเกิดความผิดปกติของโครโมโซมหรือพันธุกรรม เพราะฟองไข่เริ่มสร้างตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์ พอคลอดออกมาปุ๊บผู้หญิงเราก็จะมีฟองไข่ทันทีประมาณ 2 ล้านฟอง ฟอง ไข่เหล่านี้จะไปผสมกับตัวอสุจิของฝ่ายชายแล้วเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น ทั้งฟองไข่และตัวอสุจิจะมีการแบ่งตัว 2 ครั้ง เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงให้เหลือฝ่ายละครึ่ง พอมารวมกันก็ได้ โครโมโซมครบคู่พอดี แต่ฟองไข่จะมีการแบ่งตัวไปแล้วครั้งหนึ่งตั้งแต่อยู่ในมดลูก และจะรอแบ่งตัวอีกครั้งตอนผสมกับตัวอสุจิ ถ้าคุณแม่อายุ 35 ปี ก็แสดงว่าการแบ่งตัวครั้งแรกและ ครั้งที่สองก็ห่างกัน 35 ปี ดังนั้นโครโมโซมจึงมีโอกาสชำรุดแตกหักเสียหายเกิดความผิด ปกติได้

สำหรับตัวอสุจิจะเริ่มสร้างเมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่มแล้ว แถมตัวอสุจิที่ออกมาจะเป็นของใหม่ถอดด้ามทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้สมัยก่อนเลยไม่ค่อยมีใครคิดว่าตัวอสุจิจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครโมโซม แต่ อย่างว่าล่ะครับ หญิงกับชายเป็นของคู่กัน หญิงมีอะไร ชายก็ต้องมีคล้ายๆ กัน ไม่ยอมน้อยหน้าซึ่งกันและกัน ดูแต่ "วัยทอง" สิครับ เดิมก็มีแต่ผู้หญิงวัย หมดประจำเดือนที่เรียกว่าวัยทอง พอถึงวัยนี้ก็มักจะมีอาการหงุดหงิด เครียด นอนไม่หลับ รู้สึกวูบๆ วาบๆ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาวปัจจุบันพอได้มีการศึกษาค้นคว้ากันอย่างจริงจัง ถึงรู้ ว่าผู้ชายก็มี "วัยทอง" เช่นกัน พอถึงเวลาก็จะมีเครียด หงุดหงิด ซึมเศร้า อ่อนเพลีย คล้ายๆ กันเลยครับ

วกกลับมาเรื่องอสุจิกันใหม่ หลังจากรอดจากการเป็นจำเลย ปล่อยให้คุณแม่สูงอายุถูกปรักปรำว่าเป็นต้นเหตุของความผิดปกติของลูกมานาน ในที่สุดผลการศึกษาค้นคว้าก็สรุปออกมาว่า ไม่เพียงแต่คุณแม่เท่านั้น คุณพ่อสูงอายุทั้งหลายก็มีส่วนในการเพิ่มอุบัติการความผิดปกติของลูกไม่น้อย ไปกว่าคุณแม่ เพียงแต่รูปแบบในการเกิดไม่เหมือนกันเท่านั้น

ในฝ่ายหญิงความผิดปกติของโครโมโซมส่วน ใหญ่เกิดจากความเก่าของไข่ที่สร้าง ทิ้งเอาไว้ตั้งแต่เด็กจนกลายเป็นโบราณวัตถุ ย่อมมีการชำรุด สึกหรอตามวันเวลาที่ผ่านไป ยิ่งนานก็ยิ่งชำรุดมากขึ้นตามลำดับ ส่วนฝ่ายชายจะสร้างอสุจิของ ใหม่ขึ้นตลอดเวลาและ สร้างในจำนวนมากด้วย คิดดูก็แล้วกัน น้ำเชื้อฝ่ายชาย 1 ซีซี จะมีตัวอสุจิประมาณ 60-100 ล้านตัว มากมั้ยล่ะครับ แถมสร้างกันได้ตลอดเวลา คล้ายกับโรงพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือ ถึงจะเป็นแท่นพิมพ์ชั้นดีที่พิมพ์แบบพันธุกรรมให้ตัวอสุจิออกมาได้เหมือนเป๊ะคราวละมากๆ แต่ เมื่อพิมพ์บ่อยๆ พิมพ์นานๆ แท่นพิมพ์ก็ชำรุดหรือเพี้ยนได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้นในคุณพ่อที่สูงอายุจะมีโอกาสสร้างตัวอสุจิที่มีแบบพันธุกรรมหรือ โครโมโซมที่ผิดเพี้ยนไปได้บ้าง เรียกว่าเกิดก๊อปปี้ผิด (Copy Error) ยิ่งอายุมากเท่าไร โอกาสก๊อปปี้ผิดก็เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะคุณพ่อที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ก็คุณพ่อวัยทองนั่นแหละ 



คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=191
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ท้องเมื่อ 35 UP

ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่มีอายุ 35 อัพ ในขณะที่กำลังตั้งท้องอยู่ล่ะก็ คงปฏิเสธไม่ได้ใช่ไหมคะว่าคุณเองก็มีความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับลูกน้อยในครรภ์อยู่ไม่ใช่น้อย

โดยทั่วไปทางการแพทย์จะกำหนดให้คุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าตั้งท้องตอนอายุมากค่ะ ซึ่งปัจจุบันแม่ท้องกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาจเพราะเหตุผลที่ผู้หญิงมีการศึกษาสูงขึ้น มีหน้าที่การงานรับผิดชอบมากขึ้น หรือ

นั่นหมายความว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเตรียมพร้อมรับกับปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาจากการตั้งครรภ์ใน ช่วงวัยดังกล่าว ไม่ว่าจะการดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ จิตใจที่ต้องพร้อม เรียกว่าใจสู้ รู้ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ก็จะผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ


จะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยทั่วๆ ไปนั้นก็เหมือนกับแม่ท้องวัยอื่นๆ ค่ะ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง เหนื่อยง่าย แต่ในกรณีที่ตั้งท้องตอน อายุมาก อาจมีอาการเหนื่อยง่ายกว่า มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดเพราะมดลูกบีบรัดตัวไม่ดี หรือตกเลือดหลังคลอดได้ และอาจมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้นได้มากกว่าปกติหากขาดการดูแลที่ดี เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

ขณะที่ช่วงอายุประมาณ 20-30 ปี ถือเป็นระยะเวลาที่ดีและเหมาะสมกับการตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายมีความแข็งแรง สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในช่วงตั้งครรภ์และความเจ็บปวดจากการบีบรัดตัวของมดลูกขณะคลอดได้ดี


ประวัติสุขภาพ

สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับแพทย์ใช้ในการประเมินความเสี่ยง และวางแผนการดูแลครรภ์ก็ คือ ประวัติสุขภาพของตัวคุณแม่เอง และประวัติของเครือญาติหรือคนในครอบครัว เช่น เคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม เคยแท้ง เคยเป็นโรคโลหิตเป็นพิษในช่วงตั้งครรภ์หรือไม่ หรือโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต ฯลฯ ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้คุณแม่จะต้องเตรียมพร้อมไว้เมื่อจะไปฝากครรภ์ และเนื่องจากมีปัญหามากมายที่อาจเกิดขึ้นคุณแม่จึงควรเคร่งครัดกับการไปฝากครรภ์ทุกครั้ง แม้ว่าคุณหมอจะนัดฝากครรภ์บ่อยกว่าแม่ท้องปกติก็ตาม

ดูแลสุขภาพตัวเอง

สิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปกับการฝากครรภ์คือ การดูแลสุขภาพตัวเองในทุกๆ ด้าน ทั้งในเรื่องอาหารการกินต้องได้รับอาหารครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยต้อง 8-10 ชั่วโมง และอย่าปล่อยให้งานที่รัดตัวมากระทบกับการเจริญเติบโตของลูกในท้องค่ะ

ที่สำคัญที่สุดถ้าคุณเป็นหนึ่งในสาววัย 35 อัพที่ต้องการจะตั้งครรภ์ ควรเริ่มต้นด้วยการปรึกษากับสูติแพทย์ในการวางแผนการตั้งครรภ์และการคลอดที่มีคุณภาพ และฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ค่ะ

คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=8432
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

หมอ (สูติ) ในดวงใจ

เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ผมเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงจะมีความรู้สึกต่างๆ ระคนกันไปหมด แต่เมื่อลองรวบรวมดูแล้วผมว่ามีอยู่ 2 ประการใหญ่ๆ เท่านั้นเอง
ประการแรกคือกลัว กลัวว่าลูกจะไม่แข็งแรง กลัวลูกจะพิการ กลัวตัวเองจะคลอดไม่ได้ กลัวอันตรายจากการคลอด และอีกสารพัดกลัว

ประการที่ 2
คือ อยาก อยากให้ลูกฉลาด แข็งแรง อยากให้ตัวเองปลอดภัยจากการตั้งครรภ์และการคลอด

ด้วย ความรู้สึกดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นที่มาของการเลือกคุณหมอที่จะไปฝาก ครรภ์ด้วย ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นประเด็นแรกๆ ที่คุณแม่ส่วนมากมักจะคิดกันก่อนที่จะคิดถึงเรื่องอื่นๆ

ผมเองเป็น สูติแพทย์ที่ดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์มาก็นานพอควรแล้ว ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับคุณแม่และคุณพ่อจำนวนไม่น้อย และก็ต้องรับคำปรึกษาหารือและตอบปัญหามาสารพัดเช่นกัน ปัญหาที่ผมถูกถามไม่น้อยเลยก็คือ “จะฝากครรภ์กับคุณหมอคนไหนดี ?” ผมเองพยายามหลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถามนี้ตรงๆ เพราะคำถามนี้ตอบยาก หมอที่ดีของคนหนึ่งอาจจะไม่ดีของอีกคนหนึ่งก็ได้ และมาตรฐานของคำว่าดีก็บอกยากเสียด้วยซิครับ ยิ่งผมเป็นสูติแพทย์เองด้วยแล้ว การจะตอบอะไรมากเกินไปก็คงจะไม่ดี เดี๋ยวจะถูกกล่าวหาว่าเขียนให้ประโยชน์แก่ตัวเอง ผมเลยมักจะตอบไปกว้างๆ ว่าคุณหมอที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นสูติแพทย์ทุกคนก็มีความรู้ความสามารถในการ ดูแลคุณแม่ไม่ต่างกันหรอกครับ

อย่างไรก็ตามในระยะซัก 2-3 ปีมานี้ผมก็ยังถูกตั้งคำถามนี้ไม่เลิก และคุณแม่หลายคนก็บอกผมว่าคำตอบของผมไม่ชัดเจน นำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ประกอบกับผมได้มีโอกาสอ่านนิตยสารเกี่ยวกับแม่ๆ ลูกๆ อยู่หลายฉบับ ทั้งนิตยสารของไทยและต่างประเทศที่พยายามเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ส่วนมากก็เขียนเหมือนๆ กันนั่นแหละ กล่าวคือเขียนกว้างๆ และใช้ประโยชน์ไม่ได้จริงเต็มที่ ผมเลยตัดสินใจว่าจะเขียนเรื่องนี้ให้ละเอียดขึ้น และตอบข้อสงสัยของคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับคุณหมอที่อยากจะไปฝากครรภ์ด้วยให้ ชัดเจนขึ้น โดยหวังว่าน่าจะสร้างความกระจ่างได้มากขึ้น จะเป็นจริงหรือไม่ก็ลองอ่านดูนะครับ

ผมต้องขอย้ำ ณ ที่นี้นะครับว่าความคิดเห็นต่อไปนี้เกี่ยวกับคุณหมอที่ควรจะฝากครรภ์ด้วย หรือไม่ควรจะเป็นอย่างไร เป็นความคิดเห็นของผมคนเดียวไม่เกี่ยวกับคนอื่น ท่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้นะครับ

คิดให้ดีก่อนฝากครรภ์กับ...

คุณหมอที่อยู่ไกลบ้าน
ตั้งแต่ ตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด คุณแม่ต้องไปรับการตรวจครรภ์กับคุณหมอหลายครั้งทีเดียว ต้องคิดว่าถ้าฝากครรภ์กับคุณหมอที่อยู่ไกลบ้านมากจะไหวไหม เพราะอย่าลืมว่าเมื่อตั้งครรภ์ไปเรื่อยๆ ท้องก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้เหนื่อยง่าย เดินทางลำบากจากสภาพร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งถ้าเกิดปัญหาฉุกเฉินขณะตั้งครรภ์ เช่น เลือดออก ปวดท้องคลอด จะทำอย่างไร จะไปพบคุณหมอทันหรือ ถ้ายังคงศรัทธาในตัวคุณหมอที่แม้จะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตาม สงสัยว่าต้องย้ายที่อยู่ไปอยู่ใกล้ๆ กับคุณหมอซะเลย

คุณหมอที่ทำงานหลายที่โดย ปกติแล้วคุณหมอแต่ละคนจะไม่ทำงานที่เดียวหรอกครับ เหตุผลตรงไปตรงมาก็คือเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น การจะทำงานหลายที่มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความต้องการเงินหรือความอึดของ หมอแต่ละคนครับ ถ้าคุณหมอที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ด้วยทำงานหลายที่มาก อาจจะทำให้พบตัวยากเวลาที่มีปัญหา ยกเว้นแต่จะตามไปหาได้ทุกที่ที่คุณหมอไปทำงานก็แล้วไป


 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=11849
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

อัลตราซาวนด์เพื่อความบันเทิง

จากที่เคยใช้ตรวจเพื่อผลทางการแพทย์เป็นหลัก แต่ตอนนี้มีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยเริ่มนำเครื่องอัลตราซาวนด์มาใช้เพื่อจุด ประสงค์ของความบันเทิงมากขึ้น ผมก็เลยอยากจะมาชวนคุยถึงเรื่องนี้กันสักหน่อยครับ

เมื่อพูดถึงเครื่องอัลตราซาวนด์ที่ใช้ตรวจคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อะไร เพราะเครื่องมือนี้ได้ถูกใช้ในการตรวจคุณแม่มานานนับสิบปีแล้ว คุณแม่ที่ยังไม่ค่อยกล้าหรือไม่ค่อยอยากที่จะให้คุณหมอตรวจอัลตราซาวนด์แทบ จะไม่มีให้เห็นแล้ว ที่พอจะมีมักจะเป็นคุณแม่ที่ตั้งท้องครั้ง แรกและไม่ค่อยใส่ใจหาความรู้ เกี่ยวกับเรื่องนี้สักเท่าไร มีคุณแม่บางคนที่ยังกลัวว่าเวลาตรวจแล้วจะทำให้เจ็บบริเวณที่ตรวจก็มี แต่คุณแม่แบบนี้ก็เหลือน้อยมาก ที่ผมเจอในปัจจุบันก็คือคุณแม่ส่วนมากที่มาตรวจกับผมมักจะรบเร้าให้ตรวจ อัลตราซาวนด์ให้ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยจะมีเหตุผลในการตรวจสักเท่าไร

รู้จักอัลตราซาวนด์
เสียงที่เราได้ยินหรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Sound (ซาวนด์) เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียง โดยปล่อยเป็นคลื่นออกมากระทบกับตัวรับคลื่น อย่างในคนเราตัวรับคลื่นก็คือหู คลื่นเสียงที่ปล่อยออกมาในแต่ละวินาทีจะมีจำนวนมากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่การ สั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิดเสียง ถ้าวัตถุสั่นสะเทือนและปล่อยคลื่นเสียงด้วยความถี่ในช่วงประมาณ 20 -20,000 คลื่นต่อวินาทีซึ่งเป็นคลื่นเสียงที่มนุษย์ได้ยินในชีวิตประจำวัน จะเรียกว่าคลื่นเสียงปกติ (Normal sound) แต่ถ้าปล่อยคลื่นเสียงด้วยความถี่ที่น้อยกว่านี้ เราจะเรียกว่า คลื่นเสียงความถี่ต่ำ หรือ อินฟราซาวนด์ (Infrasound) ในทางตรงกันข้าม คลื่นเสียงที่มีความถี่สูงมากกว่าปกติ จะเรียกว่า อัลตราซาวนด์ (Ultrasound) คลื่นเสียงความถี่สูงๆ นี้คนเราไม่สามารถได้ยิน แต่สัตว์บางชนิดอาจได้ยิน เช่น สุนัขจะได้ยินเสียงที่มีความถี่มากกว่ามนุษย์
  

 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=12551
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไปฝากครรภ์...หมอตรวจอะไร

ไปฝากครรภ์...หมอตรวจอะไร
+ ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่าปริมาณน้ำตาลและโปรตีนว่าปกติหรือเปล่า เพราะผลของ 2 ตัวนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกความผิดปกติในตัวคุณแม่
+ วัดความดันโลหิต เพื่อดูการทำงานของระบบเลือด เพื่อป้องกันความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง

+ ตรวจหน้าท้อง คุณหมอจะคลำหน้าท้องเพื่อดูขนาดและตำแหน่งของลูกน้อยในครรภ์

+ ชั่งน้ำหนักคุณแม่ เพราะการที่น้ำหนักคุณแม่น้ำหนักขึ้น อาจจะกระทบต่อปัญหาสุขภาพค่ะ

+ ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจลูกในครรภ์ สามารถฟังเสียงหัวใจเต้นได้เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 16 สัปดาห์

+ ตรวจอาการบวมเหนือข้อเท้า อาการบวมที่แขน ขา เท้า หรือหน้า แสดงว่าคุณแม่มีน้ำในร่างกายมากขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบกับการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายค่ะ

คุณ แม่ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองนะคะ เพราะหากมีอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ควรสอบถามคุณหมออย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=22436
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ฝากครรภ์ผ่านมือถือ

เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ผมเชื่อว่าคุณแม่ส่วนมากก็มักจะมีความหวาดหวังคล้ายๆ กันทั้งนั้นแหละครับ ที่หวาดก็คือกลัวลูกจะพิการ ไม่แข็งแรง กลัวตัวเองจะได้รับอันตรายจากการคลอด ส่วนที่หวังก็คืออยากจะให้ลูกสมบูรณ์แข็งแรง เฉลียวฉลาด และตัวเองปลอดภัยจากการคลอด เป็นต้น

เวลาที่ไม่ลงตัว
ทั้ง ความคาดหวังและความวิตกกังวลต่างๆ ดังกล่าว ทำให้คุณแม่ส่วนมากพยายามแสวงหาทั้งโรงพยาบาลที่จะไปคลอดและคุณหมอที่จะดูแล กันอย่างมาก บางคนเปลี่ยนหมอเปลี่ยนโรงพยาบาลเป็นว่าเล่นเลยก็มีกว่าจะเจอหมอหรือโรง พยาบาลที่ถูกใจหรือไว้ใจ บางคนจวนจะคลอดอยู่แล้วยังเปลี่ยนหมอเลยก็มี

ผม คิดว่าคงจะไม่เล่าเกี่ยวกับวิธีเลือกหมอหรือโรงพยาบาลอีกแล้วครับ เพราะเล่าไปแล้วใน Modern Mom ฉบับก่อนๆ ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็ลองกลับไปหาอ่านดูนะครับ สำหรับในครั้งนี้ผมคิดว่าจะคุยกับคุณแม่ในประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องกับการ ดูแลคุณแม่เวลาตั้งครรภ์

สิ่งที่ผมอยากจะเรียนให้ทราบก็คือ ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งจะใช้เวลายาวนานถึงประมาณ 10 เดือน แม้ว่าคุณแม่จะไปฝากครรภ์กับคุณหมอที่ไว้วางใจหรือสนิทสนมเพียงใดก็ตาม ส่วนมากคุณแม่ก็มักจะมีโอกาสพบกับคุณหมอประมาณ 10-15 ครั้งเท่านั้น และในแต่ละครั้งที่มาตรวจ คุณแม่อาจมีโอกาสพูดคุยกับคุณหมอไม่มากมายอะไร แค่ประมาณ 15-20 นาทีเท่านั้น ยิ่งถ้าเป็นคุณหมอที่มีชื่อเสียง มีคนมาฝากครรภ์ด้วยเยอะ โอกาสคุยจะยิ่งเหลือน้อยลงไปอีก บางคนมีโอกาสคุยแค่ 5-10 นาทีหรืออาจจะไม่มีโอกาสได้คุยเลยก็ได้ คุณแม่ที่มีปัญหาค้างคาใจค่อนข้างมากก็เลยหมดโอกาสถามคุณหมอ หมอบางคนก็อยากจะอธิบายให้คุณแม่ฟังยาวๆ ก็ไม่มีเวลาเช่นกัน เพราะยังมีคุณแม่คนอื่นรอตรวจอีกเยอะ ดังนั้นการตั้งครรภ์แต่ละครั้งที่ว่านานถึง 10 เดือน นับดูให้ดีคุณแม่อาจมีเวลาที่พบกับหมอรวมๆ กันแล้วอาจแค่สัปดาห์เดียวก็เป็นได้

ทางออก ?
เมื่อ หาคำตอบจากคุณหมอไม่ได้เต็มที่ คุณแม่หลายคนก็เลยไปหาคำตอบจากแหล่งอื่น ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อน ญาติ หรือจากสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต รวมทั้งจากอีกสารพัดสื่อ เท่าที่ผมสังเกตดู พบว่าคำตอบหรือคำแนะนำสำหรับปัญหาต่างๆ ที่ได้จากตัวบุคคล เช่น จากเพื่อนหรือญาติ มักจะเป็นคำตอบหรือคำแนะนำที่ได้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เล่าที่เคย คลอดมาก่อน หรือบางคนฟังคนอื่นแล้วเอามาเล่าให้ฟังอีกที ซึ่งข้อมูลจำนวนไม่น้อยผมว่าค่อนข้างมั่ว ยิ่งไปเจอบางคนที่ชอบเล่าอะไรให้มันดูตื่นเต้น หรือเล่าแล้วคุณแม่ประสาทรับประทานได้ยิ่งดี ถ้าเจอแบบนี้หลีกๆไว้บ้างก็จะดีนะครับ

ส่วนข้อมูลจากสื่อต่างๆ มีไม่น้อยเหมือนกันที่เชื่อไม่ได้ หรือขัดแย้งกันจนไม่รู้จะเชื่อสื่อไหนดี ซึ่งก็ ก่อให้เกิดความเครียดได้เช่นกัน


ประโยชน์จาก SMS
ปัจจุบัน ความก้าวหน้าด้านการสื่อสารได้ก้าวไปไกลจนคนเราสามารถติดต่อพูดคุยกันได้ อย่างง่ายดายไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก ผมเชื่อว่าอีกไม่นานคงคุยกันไปมองเห็นหน้าตากันไปด้วยอย่างแน่นอน ผมเลยคิดว่าทำไมเราไม่นำเอาความก้าวหน้าด้านการสื่อสารมาผสานกับการฝากครรภ์ แบบเดิมๆ ที่ทำกันมานานแล้วซะ ผมว่าน่าจะทำให้การฝากครรภ์ของคุณแม่เป็นไปด้วยดีและทำให้คุณแม่อบอุ่นใจ เหมือนมีหมออยู่ข้างกายโดยไม่ต้องเป็นภรรยาหมอก็ได้นะครับ

ผมและทีม คณะวิจัยที่ศิริราชได้ลองใช้มือถือเป็นอุปกรณ์ช่วยในการดูแลคุณแม่ที่ฝาก ครรภ์กับผมมาระยะหนึ่งแล้ว โดยผมจะส่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์เป็นข้อมูลสั้นๆทาง SMS ให้คุณแม่ทราบเป็นระยะๆ ข้อมูลที่ให้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และความผิดปกติหรือปัญหาที่คุณแม่ต้องรีบมาพบคุณหมอ

สำหรับความรู้ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ จะแบ่งออกเป็นแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ โดยในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ก็จะทยอยส่งข้อความที่ควรรู้ของแต่ละช่วงของ การตั้งครรภ์ไปให้ เช่น ในไตรมาสแรกจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับการแพ้ท้อง อาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ในช่วงดังกล่าว เช่น ปัสสาวะบ่อย ปวดหลัง ปวดเอว ในไตรมาสที่สองก็จะให้ความรู้เกี่ยวกับการเดินทาง การทำงาน หรือเพศสัมพันธ์ เป็นต้น 



คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=12240
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

แม่ท้อง VS หมอสูติ...ในอานาคต

คุณแม่... ช่างถาม หาข้อมูล

ในปัจจุบันคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มี ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองมากขึ้น ซึ่งน่าจะ มาจากการที่มีการศึกษาสูงขึ้น ประกอบกับมีแหล่งให้ความรู้จากสื่อต่างๆ มากมาย ผมเชื่อว่าในอนาคตจะยิ่งมีคุณแม่ที่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองมากยิ่ง ขึ้นไปอีก เมื่อความรู้มากขึ้นก็จะยิ่งช่างซักช่างถามมากขึ้น คุณแม่ประเภททำตามคำสั่งหรือคำแนะนำของคุณหมอเพียงอย่างเดียวจะน้อยลง

ผมมีข้อสังเกตว่าความรู้ที่คุณแม่ได้รับจากแหล่งต่างๆนั้น ไม่แน่ว่าจะเป็น

ความ รู้ที่ถูกต้องเสมอไป ความรู้จากหลายแหล่งแฝงโฆษณาเกินจริงความรู้บางอย่างได้มาจากการคัดลอกสื่อ จากต่างประเทศซึ่งใช้ไม่ได้จริงในบ้านเรา

เนื่องจากการฝากครรภ์และคลอดในอนาคตจะกลายเป็นการซื้อบริการมากกว่าการรับการดูและช่วยเหลือโดยคุณหมอ

ยิ่งอยากได้บริการที่ดีก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น ยิ่งจ่ายมากขึ้นก็ยิ่งจะคาดหวังมากขึ้น ถ้าผลออกมาไม่พึงประสงค์
การฟ้องร้องก็จะตามมา มั่นใจได้เลยว่าหมอสูติจะถูกฟ้องร้องอีกเรื่อยๆ เพราะปัญหาและภาวะแทรกซ้อนจาก
การตั้งครรภ์และการคลอดมีมากมาย ต่อให้ดูแลดีอย่างไรก็ป้องกันไม่ได้ทั้งหมดหรอกครับ


เลือกหมอที่ถูกใจ

ความ รู้สึกที่คุณแม่มีต่อหมอจะเปลี่ยนจากความเคารพศรัทธาและไว้วางใจ เป็นความพอใจหรือไม่พอใจในบริการที่ได้รับ คุณแม่จะมีสิทธิเลือกที่จะฝากครรภ์กับหมอที่ตัวเองชอบมากขึ้นการจะเลือกไปฝากครรภ์หรือคลอด กับหมอคนไหนก็จะเหมือนกับการเลือกไปเที่ยวกับบริษัททัวร์อะไรซักบริษัทหนึ่งเท่านั้น

อย่างอเมริกาถึงอาชีพหมอจะเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับ แต่มันจะเป็นลักษณะทำตามหน้าที่มากกว่า คนไข้ก็ไม่ได้เกรงกลัวอะไรหมอมาก เพราะเขาก็ถือว่าเขามีความรู้ มีสิทธิ เรียกว่าความสัมพันธ์เป็นแบบเท่าเทียมกัน ถ้ามีเรื่องก็ฟ้องร้องกันแบบเต็มที่ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้กับหมอในรูปแบบนี้เริ่มเกิดขึ้นในบ้านเราแล้ว ความเอื้ออาทร นับถือกันก็เริ่มน้อยลง ภาพที่คนไข้หิ้วชะลอมผลไม้จากสวนมาฝากหมอ หมอพูดคุยไถ่ถามกันแบบสนิทชิดเชื้อ ถึงจะได้เห็นอยู่แต่ก็น้อยลงไปเยอะ

ในปัจจุบันการผ่าตัดคลอดเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมาก ผลข้างเคียงก็ค่อนข้างน้อย ผมเชื่อว่าต่อให้พูดอย่างไรก็เถอะ คุณแม่ก็จะร้องขอให้ผ่าตัดคลอดอยู่นั่นแหละ บางรายถามตั้งแต่มาฝากครรภ์เลยด้วยซ้ำว่าจะผ่าคลอดให้หรือไม่ ถ้าไม่ผ่าก็ไม่ฝาก ดังนั้นเชื่อได้เลยว่าการผ่าตัดคลอดจะไม่ลดลงและจะเพิ่มอีกขึ้นด้วยโดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชน เพราะการผ่าตัดคลอดจะสมประโยชน์กันทุกฝ่ายทั้งโรงพยาบาล หมอ และคนไข้ ทั้งนี้ไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียวหรอกครับ ยังมีเรื่องเวลา ความเครียดขณะเฝ้าคลอด และความสะดวกอื่นๆ อีกมากมายหลายประการที่ไม่อยากจารนัย ที่ทำให้ต้องผ่าตัดคลอด ซึ่งถือแม้จะมีการรณรงค์ให้คลอดธรรมชาติแต่จำนวนการผ่าคลอดก็ยังเพิ่มสูงขึ้นอยู่และได้รับความนิยมจากคุณแม่ทั่วโลก



คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=11112
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

5 เรื่องที่แม่ท้องไม่รู้...ไม่ได้ !

เพราะการตั้งครรภ์แต่ละครั้งนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายค่ะ แม่ต้องมีการเตรียมตัว เตรียมใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี และเพื่อให้การตั้งครรภ์ตลอด 9 เดือนเป็นไปอย่างราบรื่น จึงต้องให้ความสำคัญมากๆ กับเรื่องต่อไปนี้ด้วยค่ะ

1. โภชนาการยามท้อง
โภชนาการที่ดีของแม่ท้องย่อมส่งผลดีถึงลูกน้อยในท้องโดยตรงค่ะ เพราะถ้าแม่มีโภชนาการดี ลูกน้อยในท้องก็จะมีสุขภาพดีและแข็งแรงตามไปด้วย มีงานวิจัยออกมาค่ะว่า ในแม่ที่โภชนาการไม่ดี แม้ลูกอาจเติบโตอยู่ในท้องได้อย่างปกติ คลอดก็ปกติ แต่ในระยะยาวสุขภาพร่างกายจะไม่แข็งแรงเท่ากับเด็กที่โภชนาการดีมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เช่น อาจจะมีการเสื่อมของอวัยวะในส่วนต่างๆ เร็วกว่าเวลาอันควรได้ หรืออาจจะมีโรคแทรกอย่างโรคเบาหวาน ทั้งๆ ที่ไม่มีกรรมพันธุ์ นั่นเป็นเพราะในช่วงที่ตับอ่อนของลูกกำลังสร้างนั้น แม่มีโภชนาการที่ไม่ดี ทำให้การสร้างอวัยวะของลูกไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ซึ่ง โภชนาการที่ดีของแม่ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากค่ะ เพียงแค่กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวันรวมถึงในแต่ละมื้อด้วย ไม่ใช่ว่ามื้อนี้กินแต่เนื้อสัตว์ แต่มื้อต่อไปกินผักอย่างเดียว แบบนี้ไม่เกิดประโยชน์ค่ะ เพราะที่สุดแล้วร่างกายจะไม่สามารถดึงส่วนต่างๆ มาประกอบกันได้เลย เหมือนเราจะต่อจิ๊กซอว์ ให้ครบ แต่ชิ้นส่วนส่งมาไม่ครบ ภาพก็ไม่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นจึงควรกินให้ครบในมื้อเดียวกัน เพราะสารอาหารทุกอย่างมีความสำคัญ แต่ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสมกับโครงสร้างและน้ำหนักตัวของแม่แต่ละคนนะคะ
ถ้า แม่น้ำหนักตัวน้อย คุณหมออาจให้เพิ่มสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต แต่ถ้าแม่น้ำหนักตัวเริ่มขึ้นมากเกินไป อาจต้องลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตลงบ้าง โดยสารอาหารหลักที่ต้องเน้นให้มากคือพวกโปรตีน และผักผลไม้ เพราะมีสารอาหารที่ร่างกายต้องการครบถ้วน ส่วนไขมันอย่าคิดว่าไม่มีประโยชน์นะคะ แม่ก็ต้องกินเพราะถ้าไม่กินเลยลูกจะมีพัฒนาการทางสมองที่ไม่ดี เนื่องจากไขมันเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์ประสาท
นอกจากนี้ยังมีสารอาหารบางชนิดที่ทั้งแม่และลูกต้องใช้มากเป็นพิเศษ เช่น โฟลิก ธาตุเหล็ก แคลเซียม โดยเฉพาะโฟลิกนั้น แม่ต้องกินก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-3 เดือนค่ะ

2. ฝากครรภ์ ห้ามพลาด
การมาฝากครรภ์ทันทีหลังทราบว่าตั้งครรภ์ จะทำให้แม่ทราบถึงวิธีดูแลตัวเอง และการฝากครรภ์จะ ทำให้คุณหมอได้ตรวจดูความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับครรภ์ในแต่ละสัปดาห์ ถ้าแม่สุขภาพแข็งแรงดี การนัดมาตรวจครรภ์อาจจะเว้นระยะออกไปค่ะ
แต่สิ่งสำคัญคือเวลามาฝากครรภ์ แม่ต้องบอกรายละเอียดให้หมด ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว หรือประวัติการแท้ง เคยต้องผ่าตัดคลอดมาก่อน หรือเป็นโรคที่มีความเสี่ยงอื่นๆ อย่างเช่น กามโรค และต้องไปพบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง
หากต้องเลื่อนนัดฝากครรภ์ ก็ไม่ควรทิ้งระยะห่างมากนะคะ เพราะภาวะแทรกซ้อนอาจจะเกิดขึ้นได้ ยิ่งในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณหมอจะเริ่มนัดถี่ขึ้น เพราะโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมีสูงกว่าในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2

3. ตรวจคัดกรอง ก็สำคัญ
สามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ในช่วงเดือนแรกๆ ของการตั้งครรภ์ การ ตรวจร่างกายโดยรวมก็ถือว่าเป็นการตรวจคัดกรองอย่างหนึ่งค่ะ เพื่อดูว่าแม่มีโรคที่สามารถส่งผ่านไปถึงลูกได้หรือไม่ ถ้ามีจะได้ป้องกันเอาไว้ก่อน หรือเพื่อเป็นการประเมินสภาพการตั้งท้องของแม่ว่าจะดำเนินไปได้โดยปลอดภัย หรือไม่ ต้องระวังแค่ไหน บำรุงอย่างไร มีความเสี่ยงต่อสุขภาพแค่ไหน
การ ตรวจคัดกรองจะมีหลายช่วงอายุครรภ์ค่ะ ช่วงเดือนแรกจะมีการเจาะเลือด เพื่อตรวจดูโรค เช่น พวกธาลัสซีเมีย โลหิตจาง (ซึ่งคนไทยเป็นมากพบได้ถึง 1 ใน 3 ) โรคทางเพศสัมพันธ์ ทางกรรมพันธุ์ ไวรัสตับอักเสบบี
พอ อายุครรภ์ 3-4 เดือน จะมีการตรวจคัดกรองโดยการเจาะเลือดไปตรวจว่ามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ จะเกิดฮอร์โมนผิดปกติหรือไม่ หรือในแม่ที่อายุมากก็จะมีการตรวจคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรม โดยการเจาะน้ำคร่ำด้วย
ในต่างประเทศจะมีการตรวจคัดกรองโครโมโซมในแม่ตั้งครรภ์ทุก คน ไม่ว่าจะอายุน้อยหรือมาก ซึ่งเป็นผลดี เพราะการตรวจนั้นจะทำให้ทราบถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้แต่เนิ่นๆ ในบ้านเราส่วนมากแล้วจะมีการตรวจคัดกรองโครโมโซมเฉพาะตามโรงพยาบาลที่มี โรงเรียนแพทย์ ซึ่งก็อยากแนะนำแม่ทุกท่านนะคะว่าสามารถขอให้คุณหมอที่ฝากครรภ์ช่วยตรวจคัด กรองโครโมโซมให้เราได้ เพราะการตรวจคัดกรองโครโมโซมนั้นถ้าเราไม่ได้บอกคุณหมอ หรือไม่ใช่แม่ที่มีอายุมากหรือมีความเสี่ยง คุณหมอมักจะไม่ได้ตรวจให้ค่ะ

4. สุขภาพทารกในครรภ์...ต้องดูแล
การดูแลสุขภาพครรภ์ต้องดูแลไปตลอดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์เลยค่ะ ถ้าแม่มีโภชนาการดี มีการฝากครรภ์สม่ำเสมอ มีการตรวจคัดกรอง ก็อุ่นใจได้ค่ะว่า ลูกที่อยู่ในครรภ์ของเราค่อนข้างจะสมบูรณ์
แต่ สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือการสังเกตและการเอาใจใส่ตัวเองของแม่ค่ะ เพราะแม่จะมีโอกาสเจอกับคุณหมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง แต่จำนวนวันที่เหลือคือเวลาที่ลูกอยู่ในท้องกับแม่ แม่จึงเป็นคนเดียวที่จะรับรู้ความเคลื่อนไหวของลูกได้มากที่สุดนะคะ
การ สังเกตก็อย่างเช่นลูกดิ้นดีหรือไม่ สุขภาพแม่แข็งแรง น้ำหนักขึ้นตามปกติ ท้องใหญ่ขึ้นมั้ย หัวใจเต้นดีหรือไม่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แม่สามารถสังเกตได้เองค่ะ
ซึ่ง ถ้าเมื่อไหร่ที่พบความผิดปกติ เช่น รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง ดิ้นช้าลง อย่านิ่งนอนใจนะคะ รีบมาพบคุณหมอ เพราะเด็กยังมีโอกาสรอด แต่ถ้ามาตอนลูกไม่ดิ้นแล้ว คุณหมอจะช่วยอะไรไม่ได้ค่ะ เพราะเวลาที่เกิดอันตรายขึ้นกับเด็กในครรภ์ จะมีระยะเวลาที่พอจะช่วยชีวิตลูกได้ คือภายใน 12 ชั่วโมงนับตั้งแต่ลูกดิ้นน้อยลง ถ้ามาในช่วงนั้นลูกก็มีโอกาสรอด เพราะฉะนั้นจึงต้องหมั่นสังเกตในทุกอาการที่เกิดขึ้นช่วงตั้งครรภ์ค่ะ

5. ภาวะแทรกซ้อน...เตรียมรับมือ
ภาวะแทรกซ้อนมีมากมายเลยค่ะ และเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงเดือนแรกๆ ไปจนถึงคลอดหรือหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นการแท้ง ตั้งครรภ์แฝด 3-4 คน การตั้งครรภ์นอก มดลูก แท้งคุกคาม รกเกาะต่ำ เลือดออก ครรภ์เป็นพิษ ไทรอยด์ หรือถ้ามีความเครียดก็จะทำให้คลอดก่อนกำหนด เด็กโตช้า หรือบางคนน้ำหนักขึ้นเยอะ ทำให้เกิดโรคเบาหวานตามมาระหว่างตั้งครรภ์ หรือเกิดครรภ์เป็นพิษ หรือแม้แต่ตอนกำลังคลอดก็อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่นน้ำคร่ำติดเชื้อ มดลูกแตก (ทำให้เสียชีวิตทันที) ตกเลือดหลังคลอด ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น
ซึ่ง ภาวะแทรกซ้อนเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ค่ะ แต่อาจป้องกันได้ หากแม่ดูแลสุขภาพให้ดี ทำตามคำแนะนำของคุณหมอก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ค่ะ
แต่ อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่สุดวิสัยจริงๆ ไม่สามารถช่วยเหลือหรือป้องกันได้ อย่างกรณีสายสะดือรัดคอเด็ก ทำให้เด็กเสียชีวิตใน 2-3 นาทีค่ะ หรือเกิดอุบัติเหตุแบบเฉียบพลัน เช่น ตกบันได ตกจากรถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น ซึ่งแม่ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากค่ะ เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น

 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=27150
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

อย่าให้ มดลูก ป่วย

คุณแม่ตั้งครรภ์ลองอ่านดูค่ะ

มดลูกของผู้หญิงเราจะโตขึ้นตามวัยค่ะ แต่ไม่ได้โตขึ้นเรื่อยๆ นะคะ เพราะเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็จะหยุดโต และมีขนาดประมาณ 1x2x3 นิ้ว (ขนาดประมาณลูกแพร์)มดลูกเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ มีเอ็นยึดไว้ให้ติดอยู่ในช่องท้องบริเวณอุ้งเชิงกราน
- ด้านหน้าของมดลูกติดกับกระเพาะปัสสาวะ
- ด้านหลังอยู่ใกล้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย โดยมีปากมดลูกหรือคอมดลูกยื่นเข้าไปในช่องคลอด
- ด้านนอกมีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อ มีการหดรัดตัวได้ ช่วงเวลาที่มีประจำเดือนแล้วรู้สึกปวด เนื่องจากมีการหดรัดตัว เกร็งตัว ของกล้ามเนื้อมดลูกค่ะ
- ส่วนด้านในที่เรียกกันว่าโพรงมดลูกนั้น ที่จริงไม่ได้เป็นโพรงนะคะ แต่จะมีเยื่อบุแนบชิดกันอยู่ภายใน

หาก จะพูดถึงหน้าที่โดยตรงของมดลูก มีเพียงหน้าที่เดียวคือสำหรับเลี้ยงลูก เมื่อตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวและเจริญเติบโตเป็นทารก มดลูกก็จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุครรภ์ของคุณแม่ค่ะ

ความเปลี่ยนแปลงของมดลูก
ความ จริงแล้วมดลูกไม่ได้มีกลไกอะไรในการทำงาน แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีฮอร์โมนมากระตุ้น เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ต่อมใต้สมองจะกระตุ้นรังไข่ ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มมากขึ้น จนเยื่อบุที่อยู่ข้างในโพรงมดลูกหนาตัวมากขึ้น เมื่อครบรอบก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน หมุนเวียนเป็นรอบๆ ไป

การ เปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งคือวัยก่อนหมดประจำเดือน เพาะไม่มีฮอร์โมนมากระตุ้นอีกต่อไป มดลูกจะเหี่ยวและฝ่อลงไป แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเท่านั้นค่ะ

การ ตั้งครรภ์ คือ การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งของมดลูก เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มดลูกจะยืดขยายจากเดิมได้เป็นพันเท่าทีเดียวค่ะ คุณแม่อาจสงสัยว่า เมื่อมดลูกขยายเต็มที่แล้วขณะตั้งครรภ์ หลังคลอดมดลูกจะกลับมามีขนาดเท่าเดิมหรือไม่ คุณหมอบอกว่าจะกลับมามีขนาดเท่าเดิมค่ะ

เมื่อมดลูกป่วย
โอกาส ในการเกิดโรคต่างๆ ในมดลูกพบได้พอสมควรค่ะ โรคที่พบได้ เช่น เนื้องอก เนื่องจากตัวมดลูกเป็นกล้ามเนื้อ ก็อาจจะมีเนื้องอกขึ้นมาได้ เช่น เนื้องอกที่โตอยู่ในโพรงมดลูก อยู่ในเนื้อมดลูก โตออกมาข้างนอก หรือตัวมดลูกอาจโตขึ้นมาทั้งหมดก็ได้ค่ะ เรียกรวมๆ ว่า เนื้องอกของมดลูกซึ่งพบได้บ่อยกว่าโรคอื่นๆ ค่ะ สาเหตุนั้นยังไม่ทราบว่าเกิดเพราะเหตุใด และผู้ป่วยก็จะไม่ทราบว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ โรคนี้อาจแสดงอาการหรือไม่ก็ได้ อาการที่พบได้บ่อยก็คือ การมีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ บางรายเลือดออกมากจนซีดก็มี นอกจากนั้นอาจมีอาการจากการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยได้ เป็นต้น แต่หลายรายก็ไม่มีอาการใดๆ นอกจากมาตรวจแล้วจึงพบว่าเป็นโรค ส่วนการรักษาก็ต้องผ่าตัดค่ะ

เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ภาย ในโพรงมดลูกซึ่งมีเยื่อบุอยู่ก็สามารถเกิดโรคได้ค่ะ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ เพราะได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนนานเกินไป ยิ่งหนามากเลือดก็ยิ่งออกมาก แต่สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาหรือการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคค่ะ

กระบังลมหย่อน เกิด จากการที่เอ็นที่ยึดตัวมดลูกและกล้ามเนื้อเชิงกรานที่ยึดรั้งตัวมดลูก ยืดยานออก ทำให้เกิดสภาวะที่มดลูกเลื่อนต่ำลงมาจากต่ำแหน่งเดิม ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เวลาไอ จาม จะมีปัสสาวะเล็ดออกมา ก่อให้เกิดความรำคาญน่าดูซึ่งภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน นอกจากมดลูกจะเหี่ยวและฝ่อลงแล้ว เอ็นต่างๆ ที่ยึดมดลูกไว้ก็จะหย่อนยานลงบ้าง รวมทั้งขณะตั้งครรภ์มดลูกมีการขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เอ็นที่ยึดมดลูกมีการยืดขยาย ดังนั้นถ้าตั้งครรภ์และคลอดลูกบ่อยๆ เอ็นก็จะหย่อนยานได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

การรักษา หากเอ็นหย่อนไม่มากคุณหมอจะผ่าตัดเฉพาะช่องคลอด ที่เรียกว่าผ่ารีแพร์ แต่ถ้าหย่อนมากๆ จนไม่สามารถซ่อมแซมได้ อาจต้องตัดทิ้งไปเลยค่ะ

มะเร็ง พบ ได้ทั้งที่ตัวมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก แต่พบไม่บ่อยนัก ส่วนมะเร็งที่ปากมดลูกซึ่งพบบ่อยกว่า มะเร็งต่างๆ เหล่านี้จะสามารถแพร่กระจาย และทำลายอวัยวะใกล้เคียง หรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายทางกระแสเลือดและระบบท่อน้ำเหลือง


 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=11862
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ท้องแฝด : พลังงานคูณสอง

คุณแม่ตั้งครรภ์ลองมาอ่านดูค่ะ
แฝดไม่เหมือน
มนุษย์ เรานั้น ธรรมชาติสร้างมาให้มีลูกกันทีละคน เนื่องจากจะมีไข่ตกเพียงเดือนละ 1 ใบเท่านั้น ขวาบ้าง ซ้ายบ้างสลับกันไป แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่นๆ ที่ออกลูกกันทีเป็นครอก หากคนเราคลอดกันทีละเป็นครอก ก็คงวุ่นวายน่าดูเหมือนกัน แค่คนเดียวก็เลี้ยงกันไม่ค่อยจะไหวแล้ว
บาง ครั้ง ไข่คนเราสามัคคีกันตกพร้อมๆ กันทีเดียว 2-3 ใบได้ ถ้าในรอบนั้นมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็จะทำให้เกิดเป็นท้องแฝด แฝดประเภทนี้เราเรียกกันว่า "แฝดไม่เหมือน" เพราะเกิดจากไข่ 2 ชุด ตัวอสุจิ 2 ชุด อาจจะมีโครโมโซมแตกต่างกันบ้าง อาจจะเป็นเพศเดียวกันหรือคนละเพศก็ได้ แม้ว่าจะมีโครโมโซมแตกต่างกัน ก็มักจะมีหน้าตาไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากมีพ่อแม่คนเดียวกัน

แต่ ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกันนะครับ เช่น ฝรั่งสาวนางหนึ่งท้องแฝดก็ดีใจกันยกใหญ่ ตรวจครรภ์ ตรวจอุลตร้าซาวน์ด ก็ดูปกติดีทุกอย่าง พอถึงเวลาคลอด...เบ่งคนแรกออกมาก็เป็นลูกชายผิวขาว ตัวแดง น่ารัก พอคนน้องกลับกลายเป็นผิวดำเมี่ยงแบบนิโกร เป็นที่ตกใจกันยกใหญ่ หมอทำคลอดต้องรีบเอามาให้ดูว่า...นี่ลูกของยูจริงๆ นะ คนแรกเป็นผิวขาว คนที่สองเป็นผิวดำ ตอนหลังถึงได้รู้ความจริงว่า ฝรั่งนางนี้ไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายสองคน คนหนึ่งผิวขาว อีกคนผิวดำ ในเวลาไล่เลี่ยกัน และบังเอิญมีไข่ตกพร้อมๆ กัน 2 ใบพอดี ก็เลยกลายเป็นไข่ 2 ชุด ตัวอสุจิ 2 ชุด แต่อยู่ในท้องเดียวกัน

แฝด ไม่เหมือนหรือไข่คนละใบนั้น มักจะมีประวัติพ่อแม่ตั้งท้องแฝดมาก่อน โดยเฉพาะยิ่งฝ่ายแม่ ยิ่งมีผลเกี่ยวเนื่องมาก คุณแม่ที่ตัวใหญ่มีโอกาสตั้งท้องแฝดมากกว่าคุณแม่ตัวเล็กๆ เพราะธรรมชาติคงรู้ครับว่า ตัวเล็กนิดเดียวคงแบกท้องแฝดไม่ไหว คุณแม่อายุมากมักจะเกิดท้องแฝดได้ง่ายกว่าคุณแม่อายุน้อย เนื่องจากระบบฮอร์โมนอาจแปรปรวนได้ง่ายเมื่ออายุมาก จึงทำให้ไข่ตกครั้งละหลายใบได้บ่อยๆ แต่ที่เราเห็นสาวๆ ตั้งท้องแฝดบ่อยกว่า เพราะสาวๆ ทำการบ้านบ่อยกว่านั่นเอง

แฝดเพราะเทคโนโลยี
เดี๋ยว นี้วิทยาการก้าวหน้าขึ้นมาก สามารถทำให้ผู้หญิงที่มีลูกยากมีลูกได้มากขึ้น ซึ่งมักจะต้องกินยา ฉีดยา เพื่อกระตุ้นให้รังไข่ทำงานมากขึ้น มีไข่ตกพร้อมกันทีเดียวหลายๆ ใบได้บ่อยๆ ก็เลยเป็นผลพลอยได้ ไหนๆ ก็มีลูกยากแล้ว พอมีก็ติดแฝดซะเลย โดยเฉลี่ยพบว่าการตั้งท้องที่เกิดจากการกระตุ้นไข่ ผสมเทียม จะเกิดท้องแฝดได้ประมาณ 10-40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

แฝดเหมือน
แฝด อีกชนิดหนึ่งก็คือ แฝดไข่ใบเดียวกัน หรือแฝดเหมือน เด็กจะมีโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ หน้าตาเหมือนกัน อาจจะมีไฝฝ้าต่างกันบ้างนิดๆ หน่อยๆ พอเป็นที่สังเกต แฝดแบบนี้เกิดจากไข่เพียงใบเดียว ตัวอสุจิตัวเดียว หลังเกิดการปฏิสนธิแล้วก็เริ่มมีการแบ่งตัวเติบโตกลายเป็นตัวอ่อน แต่ถ้าระหว่างการแบ่งตัวมีการหลุดแยกจากกันเป็นสองส่วน แล้วแบ่งตัวต่อไปเติบโตเป็นตัวอ่อนสองตัว ก็จะกลายเป็นแฝดเหมือน

แฝดสยาม
โดย ปกติแล้วถ้าเซลล์ของตัวอ่อนแยกขาดจากกันในช่วง 3-8 วัน หลังการปฏิสนธิ ก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนัก แต่หากแยกตัวจากกันในช่วงเกิน 8 วันไปแล้ว มักจะแยกจากกันได้ไม่เด็ดขาด จะกลายเป็นแฝดที่มีตัวติดกัน หรือที่เรารู้จักกันว่า "แฝดสยาม" นั่นเอง อาจจะมีหัวติดกัน ท้องติดกัน หลังติดกัน ก้นติดกันก็ได้ แต่ที่พบได้บ่อยๆ ก็คือ มีส่วนหน้าอกติดกัน...ต้องมาผ่าตัดแยกร่าง หากอวัยวะภายในแยกจากกันได้เด็ดขาดก็สบายหน่อย แต่ถ้าอวัยวะภายในต่างๆ ใช้ร่วมกัน ตอนผ่าตัดแยกอาจจะต้องผ่าแบ่งอวัยวะข้างในด้วย แต่ถ้าอวัยวะข้างในไม่สามารถแยกได้ ก็อาจจำเป็นต้องเสียสละคนใดคนหนึ่งไป เพื่อให้อีกคนมีชีวิตรอด อย่างไรก็ตาม แฝดติดกันแบบนี้พบได้น้อยมากเพียงแค่ 1 ใน 60,000 เท่านั้น

 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=26306
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

เป็นไปได้ไหม อยากได้ลูกแฝด

โดยปกติแล้วโอกาสที่จะมีลูกแฝดตาม ธรรมชาติใช่ว่าจะมีกันได้ง่ายๆ เรียกว่า 1 ในร้อยทีเดียว มักจะเป็นกรรมพันธุ์ ซึ่งทางฝ่ายคุณแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสมากกว่าทางคุณพ่อ และคุณแม่อีกล่ะค่ะที่มีบทบาทสำคัญ ถ้าคุณแม่เป็นคนสมบูรณ์แข็งแรง ในแต่ละรอบเดือนตกไข่มากกว่า

1 ฟอง จึงจะมีสิทธิ์มีลูกแฝด
แต่ เดี๋ยวนี้มีแฝดประเภทที่ไม่ได้เกิดตามธรรมชาติรวมอยู่ด้วย จำนวนแฝดที่รอดชีวิตก็มากขึ้น ตั้งแต่แฝดสอง แฝดสาม แฝดสี่..จนถึงแฝดเจ็ด อันเป็นผลพวงจากเทคนิคการรักษาผู้มีลูกยาก ซึ่งมีการให้ฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ ทำให้ไข่ตกคราวละหลายฟองและได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิพร้อมๆกัน อย่างในกรณีของแฝดเจ็ดที่รัฐไอโอวา สหรัฐอเมริกา ก็เป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการได้รับฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ เนื่องจากแม่มีประสบการณ์ตั้งครรภ์ยากเมื่อมีลูกคนแรก คุณหมอที่ดูแลพยายามจะให้แม่แฝดเจ็ดทำแท้งทารกบางคนเพื่อให้ที่เหลือรอด ชีวิต แต่เธอและสามีไม่ยอมเพราะเป็นคนเคร่งศาสนา ในที่สุดเธอก็ให้กำเนิดแฝดเจ็ด เป็นลูกสาว 3 ลูกชาย 4 ภายใต้การดูแลของคณะแพทย์อย่างใกล้ชิด ทารกทั้งเจ็ดรอดชีวิต แต่ละคนมีน้ำหนัก 1-1.5 กก.


คุณ แม่ที่ได้ฟังข่าวนี้แล้วคิดจะให้หมอให้ฮอร์โมนเพราะอยากมีลูกแฝดบ้าง หมอไม่ทำให้ค่ะ เพราะการตั้งครรภ์แฝดทางการแพทย์ถือว่าผิดปกติ ยิ่งจำนวนแฝดมากเท่าไร อัตราเสี่ยงต่อชีวิตลูกยิ่งมากขึ้นเท่านั้น โอกาสคลอดก่อนกำหนดมีสูง ในช่วงตั้งครรภ์แม่เองก็ลำบาก ตั้งแต่ท้องที่โตเอาโตเอาจนคุณแม่อึดอัด หายใจไม่ทั่วท้อง ปวดหลัง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสุดท้ายแทบลุกไม่ขึ้น บางรายต้องเข้าไปนอนในโรงพยาบาลก่อนกำหนดคลอดเป็นเวลานาน รวมทั้งอาจมีอาการแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น ครรภ์เป็นพิษ โลหิตจาง รกเกาะต่ำ มีน้ำคร่ำมาก ทารกแต่ละคนมีน้ำหนักน้อย ยิ่งแฝดจำนวนมากเท่าไร น้ำหนัก
ของทารกยิ่งถูกเฉลี่ยให้น้อยลง


ถึง ตอนคลอดก็อันตรายอีก โดยเฉพาะแฝดน้องอาจจะขาดออกซิเจนถ้าคลอดช้า มีเรื่องเล่า(จริงหรือเปล่าไม่รู้)ว่าคุณหมอทำคลอดให้คุณแม่คนหนึ่ง เสร็จแล้วจัดแจงเย็บแผลฝีเย็บ ไม่ทันไรคุณแม่ร้องเจ็บท้องอีก ปรากฏว่ายังมีเด็กอีกคนในท้อง หมอต้องเลาะที่เย็บไว้ทำคลอดแฝดน้อง ในบางรายหมอจึงพิจารณาให้ผ่าตัดคลอดซึ่งจะทำให้การคลอดดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทารกไม่เสี่ยงต่อการขาดออกซิเจน


เรื่อง ความหนักหนาสาหัสในการเลี้ยงดูลูกแฝดไม่ต้องพูดถึง ลูกอ่อนคนเดียวยังทำเอาคุณแม่ตาโหลมานักต่อนักแล้ว สรุปแล้วทั้งการจะตั้งท้องแฝด เลี้ยงลูกแฝดถือว่าเป็นความสามารถส่วนบุคคลก็แล้วกันค่ะ(ไม่ควรคิดลอกเลียน แบบ)


สำหรับคุณแม่ที่ไม่ เคยคิดว่าตัวเองจะมีลูกแฝด แต่ถ้าท้อง 3-4 เดือนแล้วถูกทักว่าท้องใหญ่จัง ควรไปให้คุณหมอทำอัลตร้าซาวนด์ดู หากมีครรภ์แฝด พยายามพักผ่อนให้มากๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น ไปให้หมอตรวจครรภ์สม่ำเสมอ และควรหาคนช่วยเลี้ยงลูกแต่เนิ่นๆค่ะ



แฝดเหมือน
ใน บรรดาท้องแฝดตามธรรมชาติ มีโอกาสจะได้แฝดเหมือนมากกว่าแฝดไม่เหมือนเกิดจากการผสมของไข่ใบเดียวกับ อสุจิตัวเดียว แต่บังเอิญแบ่งตัวออกเป็นสอง แฝดเหมือนจะมีเพศเดียวกัน รูปร่างหน้าตาเหมือนกันทุกอย่างแม้แต่ลายมือลายเท้า มีกรุ๊ปเลือดเดียวกัน


แฝดไม่เหมือน มัก เกิดจากคุณแม่อายุมาก คุณแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรง มีการตกไข่ครั้งละมากกว่า 1 ฟอง ทำให้เกิดการผสมของไข่กับอสุจิมากกว่า 1 คู่พร้อมๆกัน แฝดไม่เหมือนอาจจะเป็นคนละเพศ รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน

 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=23226
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

เทคโนโลยีช่วยมีลูก..ความสุขที่ต้องเสี่ยง !

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีลูกยากต้องมีสิทธิ์รู้และเลือก...

เลือกวิธี
เนื่อง จากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยคนมีลูกนั้นมีอยู่หลายวิธี แน่นอนว่าการจะเลือกวิธีใดย่อมขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแม่และพ่อเป็นหลัก และแต่ละวิธีก็ให้เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องลองใช้หลายวิธี บางคนใช้วิธีเดียวครั้งเดียวก็สำเร็จ โดยทั้งหมดนี้ทั้งตัวพ่อแม่ต้องมีสิทธ์รู้ทุกแง่มุมและร่วมพิจารณาเลือกไป พร้อมกับแพทย์ค่ะ
วิธี
1. การฉีดเชื้อหรือการผสมเทียม (Intra Uterine Insemination หรือ IUI) คือการเอาเชื้ออสุจิของฝ่ายชายมาคัดเชื้อที่มีคุณภาพโดยเลือกตัวที่วิ่งเร็ว แข็งแรง และรูปร่างดี ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ไข่ตก โดยแพทย์จะใช้ฮอร์โมนจากภายนอกช่วยฉีดเข้าไปหรืออาจมีการอัลตราซาวนด์ด้วย แล้วลองดูว่าการทำลักษณะนี้แล้วได้ผลหรือไม่ โดยปกติแล้วการผสมเทียมจะทำไม่เกิน 3 ครั้ง ถ้าเกิน 3 ครั้งแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ก็ต้องเปลี่ยนวิธีไปทำกิฟต์ ซึ่งความสำเร็จแต่ละครั้งประมาณ 15-20%
วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิไม่แข็งแรงหรือมีปริมาณน้อย
ฝ่าย หญิง ไม่มีมูกที่ปากมดลูก หรือมูกเหนียวข้น และไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้เพียงพอต่อการผลิตไข่ที่สมบูรณ์ได้ ซึ่งอาจต้องใช้ฮอร์โมนเพิ่มและกระตุ้นการตกไข่


2. การทำกิฟท์ ( Gamete IntraFollopain Transfer หรือ GIF) คือการเก็บเซลล์สืบพันธุ์ทั้งไข่และอสุจิมาผสมกัน จากนั้นจึงใส่กลับเข้าสู่ท่อนำไข่ทันที โดยให้อสุจิและไข่ปฏิสนธิกันเองตามธรรมชาติ โอกาสตั้งครรภ์ประมาณ 30-40%
วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิอ่อนแอไม่มากนัก
ฝ่าย หญิง มีท่อนำไข่ที่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง และมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และมีพังผืดมาก และอาจใช้สำหรับคู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยาก


3. การทำซิฟท์ ( Zygote IntraFollopain Transfer หรือ ZIFT) ต่างจากการทำกิฟท์ตรงที่เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิ นอกร่างกายก่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนในระยะ Zygote ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ โอกาสตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 20-30%
วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิน้อยกว่าปกติ
ฝ่าย หญิง ที่ท่อนำไข่ไม่ตัน แต่ทำงานไม่ปกติ มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และมีพังผืดมาก รวมถึงในคู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยากด้วย


4. การทำเด็กหลอดแก้ว (InVitro Fertilization and Embryo Transfer หรือ IVF& ET) คือการเอาไข่ 10-20 ใบออกมาผสมกับอสุจิในจานหรือในหลอดแก้ว พอผสมกันแล้วเราจะรู้เลยว่าจะมีการปฏิสนธิหรือไม่ แล้วก็ต้องเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน แล้วจึงใส่กลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง ซึ่งวิธีนี้มีโอกาสในการสูงสุดคือ 30-50%
วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิที่ไม่แข็งแรง
ฝ่ายหญิง มีท่อนำไข่อุดตันทั้ง 2 ข้าง และ มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน


5. การทำอิ๊คซี่ (IntraCytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI) เป็นการต่อยอดจากเด็กหลอดแก้ว โดยเอาเข็มที่มีเชื้อสเปิร์มอยู่หนึ่งตัวเจาะเข้าไปในไข่ เป็นการช่วยตัวเชื้อสเปิร์มที่ไม่แข็งแรง และไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ วิธีนี้ให้โอกาสตั้งครรภ์ 25-30%
วิธีนี้ใช้ในกรณี ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิผิดปกติอย่างมาก
ฝ่ายหญิง มีรังไข่ผิดปกติ ไม่มีการตกไข่ และไข่กับอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันเองได้


6.บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) เป็นขั้นตอนเลี้ยงตัวอ่อนก่อนจะใส่กลับเข้าไปในมดลูก โดยจะเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน ซึ่งวันที่ 3 ของการเลี้ยงจะเป็นระยะของการแตกเซลล์ วันที่ 5 จะเป็นระยะบลาสโตซิสท์ ซึ่งตัวอ่อนที่โตมาถึงระยะบลาสโตซิสท์จะมีคุณภาพดีระดับหนึ่ง ส่วนมากในการทำเด็กหลอดแก้วจะมีการปฏิสนธิ ขึ้นอยู่กับว่าจะได้ไข่จากแม่มากี่ฟอง ถ้าภายในร่างกายแม่มีผังผืด มีช็อกโกแลตซีส หรือถ้าอายุมากโอกาสมีไข่ก็จะน้อย และการปฏิสนธิก็อาจจะไม่ติดทุกฟอง เช่นได้ 10 ฟอง อาจจะติดแค่ 7 ฟองหรือ 5 ฟองหรือ 3 ฟอง คือถ้ามีโรคและอายุเยอะก็อาจเหลือไข่น้องลง
จาก นั้นต้องตรวจความผิดปกติของโครโมโซม หรือที่เรียกว่า Preimplantation Genetic Diagnosis (P.G.D.) ซึ่งทำใน 2 กรณี คือ1.เพื่อตรวจคัดกรองโรคที่พบได้บ่อยๆ 2.ตรวจดูว่าในโครโมโซมนั้น มีโรคทางพันธุกรรมที่มีคนในครอบครัวเป็นอยู่แล้วหรือเปล่า เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคนี้กับลูกในท้อง
แต่ โดยส่วนมากจะตรวจแบบคัดกรองหรือสกรีนนิ่งแบบที่ 1 มากกว่า คือตรวจโครโมโซมประมาณ 5 ตัว เพื่อคัดกรองโรคที่เจออยู่บ่อยๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม การตรวจ P.G.D. เหมือนกับเป็นการเจาะน้ำคร่ำในแม่ที่ท้องธรรมชาติ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่ถ้าไม่ทำก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพราะแม่อายุเยอะมีโอกาสที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม ถ้าไม่ตรวจคัดกรอง ก็มีความเสี่ยงสูงที่ลูกอาจจะเป็นโรคนี้ได้ 

คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=27527
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/