วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เดือนที่ 3 จากตัวอ่อนเป็นทารก

เข้าเดือนที่3 ลูกไม่ใช่ตัวอ่อนอีกต่อไป เพราะอวัยวะต่างๆของลูกเป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบแล้ว และจะยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ

พัฒนาการของทารก
ตั้งแต่ อายุ 9 สัปดาห์ ถือว่าตัวอ่อนเป็นทารกในครรภ์ จะไม่เรียกว่าตัวอ่อนอีกต่อไป ส่วนศีรษะยังคงมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆของร่างกาย ความยาวของทารกจะเท่ากับหนึ่งในสามของความยาวทารกเมื่อครบกำหนดคลอด ระบบการมองเห็นพัฒนาเต็มที่ยกเว้นเปลือกตามที่ยังไม่สมบูรณ์และยังคงปิดอยู่ ใบหน้าก็มีการพัฒนาจนสมบูรณ์ ลำตัวเริ่มยืดตรงขึ้นและมีเนื้อเยื่อกระดูกและซี่โครงเกิดขึ้น นิ้วมือและนิ้วเท้าเริ่มมีเล็บและ เริ่มมีเส้นผมเกิดขึ้นด้วย

อวัยวะ สืบพันธุ์ภายนอกเริ่มเห็นได้ชัดเจน ซึ่งสามารถเห็นได้จากการตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ระบบไหลเวียนของโลหิตยังคงพัฒนาต่อไป ระยะนี้หัวใจจะเต้นเร็วประมาณ 120-160 ครั้งต่อนาที ทารกจะสามารถกลืนน้ำคร่ำและขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะ

การสร้างเม็ดเลือดแดง
การ สร้างเม็ดเลือดแดงโดยโยร์คแซค(Yolk Sac)จะสิ้นสุดลงในสัปดาห์ที่12 ของอายุทารก และถูกทดแทนโดยไขกระดูก ตับ และม้ามซึ่งจะรับหน้าที่แทนในการสร้างเม็ดเลือดแดงดังกล่าวเพื่อให้ทารก พร้อมสำหรับการออกมาสู่โลกภายนอกเมื่อถึงเวลา โดยไม่ต้องพึ่งพารกซึ่งทำหน้าที่ให้อาหาร ออกซิเจน และนำของเสียออกจากร่างกายของทารกตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์

ระบบสนับสนุนการตั้งครรภ์
รก จะเป็นอวัยวะที่เจริญอย่างรวดเร็วและทำหน้าที่ให้อาหาร ออกซิเจน และนำของเสียออกจากทารกในครรภ์ สายสะดือจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างรกกับทารกในครรภ์ ภายในสายสะดือจะประกอบด้วย เส้นเลือด 3 เส้นด้วยกัน เป็นเส้นเลือดดำ 1 เส้นขนาดใหญ่นำอาหารและออกซิเจนให้ทารก ส่วนเส้นเลือดแดงขนาดเล็กมี 2 เส้นทำหน้าที่นำของเสียออกจากร่างกายทารก เส้นเลือดทั้งสามเส้นถูกห่อหุ้มอยู่ในท่อที่มีสารลักษณะคล้ายเยลลี่ซึ่งทำ หน้าทีป้องกันไม่ให้เส้นเลือดพับงอหรือตีบตัน

ลักษณะของทารกเมื่อมีอายุ 12 สัปดาห์
*มือและเท้า นิ้วมือและนิ้วเท้าจะเจริญจนมีลักษณะสมบูรณ์
*รูปร่างลักษณะทั่วไปจะดูเหมือนมนุษย์แล้ว จะสังเกตเห็นคาง หน้าผาก และดั้งจมูกได้แล้ว
*หนัง ตาเริ่มมีการพัฒนารอบดวงตาที่จัดตั้งเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ทารกจะสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกได้แล้ว เช่น การกระทบกระเทือนผ่านหน้าท้องของมารดา เป็นต้น การเคลื่อนไหวจะมีลักษณะเป็นแบบกระตุก งอแขนขา หรือคล้ายกับสะอึก

ระยะนี้ขากรรไกรก็จะมีตุ่มของฟันแท้ทั้ง 32 ซี่ครบถ้วนแล้วเช่นกัน
ความยาวของทารกในระยะนี้ นับจากศีรษะถึงก้นจะเท่ากับ 9 เซ็นติเมตรโดยประมาณ และหนักประมาณ 48 กรัม

คุณแม่ตั้งครรภ์ระยะนี้
*แพ้ท้อง ช่วงนี้อาการแพ้ท้องจะเริ่มทุเลาลง ความรู้สึกโดยทั่วไปจะดีขึ้น
*น้ำหนักตัว จะเริ่มเพิ่มขึ้นจากการที่ทารกและส่วนสนับสนุนทารกมีการเจริญอย่างรวดเร็ว
*ฮอร์โมน จากการที่ระดับฮอร์โมนเริ่มเข้าที่เข้าทาง ทำให้อารมณ์ที่เคยวูบวาบและรู้สึก ไม่ค่อยดีเริ่มจะดีขึ้นด้วยเช่นกัน
*ความ สูงของยอดมดลูก ช่วงระยะเวลาดังกล่าว มดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนโตพ้นอุ้งเชิงกราน ทำให้ สามารถคลำพบได้เหนือหัวเหน่า ระยะนี้ความวิตกเกี่ยวกับการตั้งครรภ์จะเริ่มลดลง เพราะโอกาสเสี่ยงของการ แท้งจะลดลงไปมาก สภาพจิตใจของตัวคุณแม่จะผ่อนคลายขึ้นมาก
*ระบบ ไหลเวียนของโลหิต หัวใจจะสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้นจนเกือบถึงจุดสูงสุด และจะสูงไปตลอดระยะเวลา ของการตั้งครรภ์ ความดันโลหิตจะลดลงเนื่องจากมีการขยายตัวของหลอดเลือดแดงและ หลอดเลือดดำ จะสังเกตได้ว่ามือและเท้าจะอุ่นกว่าปกติ

 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=19262
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น