วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการ 9 เดือนในครรภ์ ... ระบบทางเดินหายใจของลูกน้อย

สัปดาห์ที่ 2 หลอด ลมและปอดถือเป็นอวัยวะชุดแรก ที่ลูกสร้างขึ้นตั้งแต่ในระยะตัวอ่อน หลังการปฏิสนธิ ในขณะที่คุณแม่ยังไม่ขาดประจำเดือน เซลล์ของตัวอ่อนจะถูกแบ่งเป็น 3 ชั้น อย่างที่เคยเล่าให้ฟังแล้วในตอนที่ผ่านมา หลอดลมและปอดจะเจริญมาจากเซลล์ชั้นในสุด พร้อมกับระบบทางเดินอาหาร

สัปดาห์ที่ 5
เป็น ช่วงเวลาที่ถ้าหากนับที่จุดเริ่มต้นคือ เมื่อตัวอ่อนมีอายุได้เพียง 5 สัปดาห์ หรือคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 7 สัปดาห์ (นับจากวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย) ปอดจะถูกสร้างขึ้น พร้อมกับ หัวใจ ตา จมูก ลำไส้ ไส้ติ่ง สมอง และไขสันหลังค่ะ

สัปดาห์ที่ 17-28 ขณะ ที่อวัยวะในระบบอื่นๆ พัฒนาและเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสมองและหัวใจ แต่ปอดจะเป็นอวัยวะที่พัฒนาช้าที่สุด ลูกจะเริ่มหายใจออกเพื่อให้ปอดได้คายน้ำคร่ำออกเมื่ออายุครรภ์ 17 สัปดาห์ จากนั้นจะค่อยๆ พัฒนาจนถึงสัปดาห์ที่ 28 ปอดจึงจะเริ่มมีการแตกกิ่งก้านและสาขาออกจากขั้วปอดทั้งสองข้าง ไปถึงปลายทางของเนื้อปอด ดังนั้นเด็กที่คลอดภายหลังอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ จึงมีโอกาสอยู่รอดได้สูงมากค่ะ

สัปดาห์ที่ 31-34
อวัยวะภายในของลูกเกือบทุกระบบจะถูกสร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ยกเว้นปอดนะคะ แต่ลูกก็จะเริ่มฝึกกล้ามเนื้อหายใจให้แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้หายใจและร้องได้อย่างเต็มที่หลังคลอด

สัปดาห์ที่ 35-36
ปอดลูกจะสมบูรณ์เต็มที่ และมีโอกาสใช้เครื่องช่วยหายใจน้อยลงอย่างมากหากต้องคลอดในช่วงนี้นะคะ



ปอดพัฒนาช้าสัมพันธ์กับแม่เป็นเบาหวานหากมีคำถามว่า ส่วนไหนของปอดที่เจริญไปได้ช้า จากการศึกษาพบว่าปอดจะ ผลิตน้ำหล่อลื่นที่มีอยู่ระหว่างตัวปอดกับช่องอกซึ่งเป็นที่บรรจุปอดทั้งสอง ข้าง ที่เรียกว่า lung surfactant ได้ไม่เพียงพอ จนกว่าจะถึงอายุครรภ์ได้ 35-36 สัปดาห์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เป็นเบาหวาน จะมีผลให้การผลิตน้ำหล่อลื่นนี้อย่างสมบูรณ์ได้ล่าช้ากว่าปกติ เพราะฉะนั้นลูกที่คลอดจากคุณแม่ที่เป็นเบาหวานหากควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ลูกที่คลอดก็อาจจะมีปัญหาการหายใจทั้งๆ ที่อายุครรภ์ใกล้กำหนดคลอดมากแล้วนะคะ

น้ำ หล่อลื่นปอดนี้ เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นในลูกสูบของรถยนต์ หากมีไม่เพียงพอก็จะเป็นเหตุให้ลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้นลงอย่างฝืดๆ ปอดที่มีน้ำหล่อลื่นปอดไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถขยายและหดตัวลงตามจังหวะการหายใจเข้าและออกได้เต็มที่ จึงทำให้ต้องหายใจให้เร็วขึ้นเพื่อให้ปอดได้แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างสมดุลเพียงพอ แต่ถ้าหายใจเร็วเต็มที่ในสภาพปอดฝืดๆ เช่นนี้การแลกเปลี่ยนก๊าซดังกล่าวยังเสียสมดุล ลูกก็จะตัวเขียวและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ นั่นเองค่ะ

คุณหมอสามารถตรวจหาระดับน้ำหล่อลื่นปอดนี้ได้ว่าเพียงพอ หรือไม่ ด้วยการเจาะดูดนำคร่ำออกมาทดสอบ หรือส่งตรวจหาระดับสารหล่อลื่นได้ค่ะ คุณหมอจะตรวจหาในบางกรณีของภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ และต้องการตรวจสอบว่าลูกจะหายใจเองได้หรือไม่หากตัดสินใจให้คุณแม่คลอด

ดูแลก่อนคลอดก่อนกำหนด ในการดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ในปัจจุบัน เราพบปัญหาเด็กคลอดกำหนดมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่อย่างที่กล่าวมา ที่พบได้บ่อยได้แก่ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะรกเกาะต่ำที่มีการตกเลือด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดนานๆ อีกสาเหตุหนึ่งที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ครรภ์แฝด ไม่ว่าแฝดสองหรือมากกว่าจากการทำเด็กหลอดแก้ว โดยเฉพาะที่ทำเกินความจำเป็นตามค่านิยมทั้งที่มีอันตรายสูง ก็เป็นเหตุให้เด็กแฝดที่มักคลอดก่อนกำหนดโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพิ่มจำนวนมากขึ้นด้วย


สำคัญคือ
คุณหมอสูติมักจะตัดสินใจให้เด็กคลอดก่อนกำหนดเร็วขึ้น ในกรณีที่คุณแม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เพราะการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อรอลูกให้ใกล้กำหนดคลอดมากขึ้น บางครั้งก็เป็นความเสี่ยงสูงต่อทั้งคุณแม่และลูกที่น่าจะเลี่ยงได้หากให้คลอดก่อนกำหนด เพราะปัจจุบันมีเครื่องมือกู้ชีพสำหรับเด็กคลอดกำหนด ที่มีน้ำหนักตัวน้อยมากๆ เช่น 500 กรัมให้รอดได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายเป็นเลข 6 หลักขึ้นไป ความเสียหายที่ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกันคือ ความทุกข์ของคนที่เป็นพ่อแม่ ที่ต้องเห็นลูกอยู่ในสภาพที่น่าเวทนา เพราะมีอุปกรณ์อยู่ในทุกรูหรือทุกทวารที่จะสอดเข้าไปได้ โดยเฉพาะเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งจะอยู่นานที่สุดด้วยเหตุผลอย่างที่เล่าให้ฟังมาแล้ว และหากลูกรอด กลับไปสู่อ้อมอกของคุณพ่อและแม่ในที่สุด ประสบการณ์บาดเจ็บที่ลูกได้รับในช่วงที่อยู่กับเครื่องมือกู้ชีพอยู่นานๆ ก็มีรายงานว่ามีผลต่อการพัฒนาด้านบุคลิกภาพ และการเรียนรู้ของลูกในเวลาต่อมาไม่มากก็น้อยค่ะ

ดังนั้นคุณแม่จึงควรเห็นความสำคัญของการฝากครรภ์อย่าง สม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่พบได้บ่อยและรุนแรง และอาจจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ท่านใดก็ได้ ก็จะช่วยลดโอกาสที่ลูกจะคลอดก่อน กำหนดได้ด้วยวิธีที่ได้ผลที่สุด ราคาถูกที่สุด แต่อาจจะทำยากที่สุดถ้าไม่เห็นความสำคัญ หรือประมาทว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้ว ลูกที่คลอดก่อนกำหนดก็จะได้รับผลอย่างที่เล่าให้ฟังทั้งที่ป้องกันได้ จริงไหมคะ


 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=25947
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น