วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กลไกในร่างกายของตัวอ่อน

ารเติบโตของทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 10 หรือสัปดาห์ที่ 12ของการตั้งครรภ์ ซึ่งยอดของมดลูกเริ่มคลำได้ที่เหนือกระดูกหัวหน่าว ความยาวของทารกจากศีรษะถึงก้น (Crown-rump length) จะยาวประมาณ 6-7 ซม. เริ่มมีการ สร้างเนื้อกระดูก (ossification) การพัฒนาของนิ้วมือและเท้า ผิวหนัง เล็บและเส้นขน อวัยวะเพศภายนอกเริ่มแยกได้ว่าเป็นเพศชายหรือหญิง ระยะนี้เองที่ทารกเริ่มมีการเคลื่อนไหวและเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้อีกก็ คือ...น้ำคร่ำ

น้ำคร่ำจะปราศจากสี แต่ค่อนข้างขุ่นเมื่อครรภ์ใกล้ ครบกำหนด เนื่องจากเซลล์ผิวหนังที่หลุดออกมา ไขและขนอ่อนมีมากขึ้น น้ำคร่ำมีความถ่วงจำเพาะ 1.008 แหล่งที่ผลิตน้ำคร่ำนั้นแตกต่างกันตามอายุครรภ์ครับ


ในระยะไตรมาสแรกหรือช่วง 12 สัปดาห์แรก น้ำคร่ำเกิดจากการซึมผ่านของเหลวในเลือดของคุณแม่

ในไตรมาสที่สอง เกิดจากการซึมผ่านของน้ำ ส่วนนอกเซลล์ของ
ทารก ผ่านผิวหนังออกมา

หลังจากอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ น้ำคร่ำจะมาจากปัสสาวะของ
ทารก และส่วนน้อยมาจากของเหลวจากปอดของทารก และของเหลวที่ซึมออกจากรก

ปริมาณของน้ำคร่ำจะเปลี่ยนแปลงตามอายุครรภ์ครับ ปริมาณน้ำคร่ำเพิ่ม 10 มล. ต่อสัปดาห์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ และเพิ่มสูงถึง 60 มล. ต่อสัปดาห์ เมื่ออายุครรภ์ 21 สัปดาห์

สำหรับคุณแม่ที่ต้องเจาะน้ำคร่ำจะอยู่ในช่วงอายุครรภ์ระหว่าง 16 ถึง 20 สัปดาห์นั้น โดยปกติข้อบ่งชี้มักจะอยู่ในกลุ่มที่คุณแม่อายุเกิน 35 ปี และกลุ่มที่มีข้อบ่งชี้อื่นๆ เช่น กลุ่มที่มีประวัติเคยคลอดทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติ

สูติแพทย์จะเจาะน้ำคร่ำปริมาณ 20 มล. เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่อตรวจโครโมโซมว่ามีคู่ไหนที่ผิดปกติ หลังจากอายุครรภ์ 21 สัปดาห์ การเพิ่มของน้ำคร่ำจะเริ่มลดลง จนมีปริมาณคงที่ที่อายุครรภ์ 33 สัปดาห์ ปริมาณของน้ำคร่ำจะเพิ่มจาก 50 มล. ที่ 12 สัปดาห์ เป็น 400 มล. ที่ 20 สัปดาห์และเพิ่มเป็น 1,000 มล. เมื่อครบกำหนด


น้ำคร่ำทำหน้าที่ป้องกัน
ทารกจากแรงกระแทกภายนอก และทำให้ทารกมีพื้นที่ในการเจริญเติบโตและเคลื่อนไหว น้ำคร่ำช่วยรักษาอุณหภูมิให้คงที่ ในน้ำคร่ำมีสารอาหารเพียงเล็กน้อย และน้ำคร่ำมีโปรตีนหลายชนิด ซึ่งเชื่อว่ามีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของทารก เพราะว่าน้ำคร่ำมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาของปอดและลำไส้ ทารกที่มีน้ำคร่ำน้อยมักเกิดปัญหาปอดไม่พัฒนาเลือด

ระบบไหลเวียนเลือดของ
ทารกในครรภ์ จะมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากทารกแรกเกิด ที่สายสะดือของทารกจะ มีเส้นเลือดแดง 2 เส้น โดยนำเลือดดำไหลเข้าไปฟอกในรก ส่วนเลือดแดงซึ่งมีออกซิเจนสูงจะไหลจากรก ผ่านเส้นเลือดซึ่งมีเพียงเส้นเดียวเข้าสู่ร่างกายทารก

เลือดที่มีออกซิเจนสูง จะไหลเข้าที่หัวใจด้านบนห้องขวา แล้วไหลเข้าที่หัวใจด้านบนห้องซ้าย เพื่อไปหล่อเลี้ยงหัวใจและสมองของทารก


เลือดที่มีออกซิเจนต่ำ จะไหลเข้าสู่หัวใจด้านบนห้องขวา และไหลผ่านลิ้นหัวใจเข้าสู่ห้องหัวใจห้องล่างด้านขวา
ส่วนการสร้างเม็ดเลือดจะเริ่มปรากฏใน yolk sac (ของเหลวที่ทำหน้าที่ส่งอาหาร) จากนั้นเปลี่ยนมาที่ตับและไขกระดูกในที่สุด การสร้างเม็ดเลือดแดงควบคุมโดยสารต้นกำเนิดเม็ดเลือดแดง (erythropoietin) ของทารกซึ่งสร้างจากตับในช่วงแรก และเปลี่ยนมาเป็นที่ไตในช่วงหลัง


ระดับของเม็ดเลือดแดงจะเพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์จาก 12 กรัม/ดล. ที่ 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์เป็น 18 กรัม/ดล. ปริมาณของเลือด
ทารกเมื่อครรภ์ครบกำหนดมีประมาณ 78 มล. ต่อน้ำหนักทารก 1 กก. และปริมาณของเลือดในรกมีประมาณ 45 มล. ต่อน้ำหนักทารก 1 กก.

เม็ดเลือดแดงของ
ทารกสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้มากกว่าผู้ใหญ่ เพื่อให้สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายได้ดีนั่นเองครับ

อาหารของตัวอ่อน
เนื่องจากไข่มนุษย์มีไข่แดงปริมาณน้อย ตัวอ่อนในช่วงแรกของการตั้งครรภ์จึงต้องอาศัยอาหารจากคุณแม่ครับ


ในช่วงสัปดาห์แรกหลังการปฏิสนธิ ตัวอ่อนได้อาหารจากของเหลวในชั้นเยื่อบุโพรงมดลูก


ในสัปดาห์ที่ 2 หลังการปฏิสนธิ ตัวอ่อนได้อาหารจากคุณแม่โดยการซึมผ่านของเลือด ผ่านช่องว่างระหว่างชั้นเยื่อบุโพรงมดลูก


ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 3 หลังการปฏิสนธิ ระบบไหลเวียนเลือดทำงาน ตัวอ่อนจึงได้รับอาหารจากการแลกเปลี่ยนกับเลือดคุณแม่ผ่านรก


คุณ แม่จะใช้ตับ กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อไขมัน เก็บสะสมอาหารไว้ในร่างกาย โดยการควบคุมของอินซูลิน (insulin) กลูโคสจะเปลี่ยนเป็นสารที่เรียกว่าไกลโคเจน (glycogen) สะสมไว้ในตับและกล้ามเนื้อ กรดอะมิโน (โปรตีน) บางส่วนจะเก็บสะสมเป็นโปรตีน และไขมันส่วนเกินจะถูกเก็บสะสมไว้


กลูโคสเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต และให้พลังงานแก่ลูกน้อยในครรภ์ การแลกเปลี่ยนกลูโคสในรกใช้กลไก โดยมีตัวช่วยส่งผ่านกลูโคสในรกที่เรียกว่า glucose transport protein เป็นตัวช่วยส่งผ่านกลูโคสเข้าสู่ลูกน้อย การที่
ทารกบางรายมีขนาดใหญ่กว่าปกติ (fetal macrosomia) เช่นที่พบในทารกที่มารดาเป็นเบาหวาน เชื่อว่าเกิดจากภาวะฮอร์โมนอินซูลินในเลือดสูงครับ



คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=11422
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น