วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แขนขาเติบใหญ่ตั้งแต่ในครรภ์

พัฒนาแขนขา

สัปดาห์ที่ 1-12 : เริ่มมีปุ่มแขน ขา
สัปดาห์ที่ 8
ช่วง ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ลูกจะสร้างอวัยวะต่างๆ ครบถ้วนแล้วค่ะ ช่วงนี้ลูกจะมีน้ำหนักเพียงครึ่งออนซ์ ประมาณ 14 กรัม (1 ออนซ์ เท่ากับ 28.35 กรัม ) ตัวยาว 2.5 นิ้ว ส่วนศีรษะใหญ่กว่าลำตัวมาก จะเริ่มเห็นปุ่มแขนและขา ตั้งแต่ 8 สัปดาห์ ส่วนแขนจะพัฒนาไปก่อนขาเสมอค่ะ แม้แต่ช่วงที่คลอดแล้ว ลูกก็จะฝึกใช้แขนและมือได้ก่อนขาเสมอ
สัปดาห์ที่ 9
จะเริ่มเห็นนิ้วมือและส่วนอุ้งมือ
สัปดาห์ที่ 11
นิ้วมือจะเริ่มมีเล็บ
ปลายสัปดาห์ 12
เห็นแขนขา และมือเท้าชัดเจนขึ้น

สัปดาห์ที่ 13-40 : แขน ขา พัฒนาอย่างรวดเร็ว
ใน ช่วงไตรมาสที่ 2 -3 ของการตั้งครรภ์ แขน ขา และลำตัวจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ศีรษะจะตั้งตรงขึ้น เห็นส่วนลำคอชัดเจน แนวกระดูกสันหลังเริ่มตั้งตรงและยืดออก
สัปดาห์ที่13
เริ่มเห็นข้อมือและข้อเท้า ทั้งนิ้วมือและเท้าจะเห็นแยกจากกันได้ชัดเจน
สัปดาห์ที่ 16-18
เริ่ม กำหมัดและดูดนิ้วได้ และการทำงานของกล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัวจะถูกกำกับจากสมอง เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ดิ้นหนีแสงและเสียง และจะพัฒนาไปเต็มขั้นที่จะประสานกับการแสดงสีหน้า ร้องไห้ เมื่ออายุครรภ์ 27 สัปดาห์ และจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่อครบกำหนดคลอด
สัปดาห์ที่ 22
หลัง สัปดาห์ที่ 22 กล้ามเนื้อแขน ขา และลำตัวจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วสัปดาห์ต่อสัปดาห์เลยทีเดียวค่ะ คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกเริ่มดิ้น และดิ้นแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอก ไม่ว่าแสงหรือเสียง หรือแม้แต่อารมณ์ทุกข์สุขของคุณแม่ค่ะ
สัปดาห์ที่ 23
ศีรษะและลำตัวจะเริ่มได้สัดส่วนที่สมดุลตั้งแต่สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ 27
ตั้งแต่ สัปดาห์นี้เป็นต้นไป คุณแม่สามารถสื่อสารกับลูกได้แล้ว เพราะลูกจะเริ่มดิ้น แล้วคุณแม่ควรหมั่นสังเกตการดิ้นของลูกได้ เพราะหากลูกดิ้นน้อยผิดสังเกต ก็อาจจะมีความผิดปกติของระบบประสาท แขนขา หรือมีอุบัติเหตุทางสายสะดือ เช่น พันคอลูก เป็นต้น ซึ่งหากลูกไม่ดิ้นตามเวลาที่เคยดิ้น หรือดิ้นน้อยลงผิดสังเกต ควรปรึกษาคุณหมอเพราะจะมีวิธีที่ตรวจสอบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร หรืออาจจะเป็นเพราะลูกมีวงจรการนอนที่นานขึ้น จึงทำให้เหมือนลูกดิ้นน้อยลงได้ค่ะ
สัปดาห์ที่ 30-39
ศีรษะ และลำตัวจะได้สัดส่วนเท่ากับเด็กแรกเกิด และเป็นช่วงที่มือจะพัฒนาสมบูรณ์เต็มที่ เริ่มมีเล็บที่นิ้วมือชัดเจน และจะงอกมาถึงปลายนิ้วเมื่อสัปดาห์ที่ 34 ส่วนเล็บเท้าจะงอกมาถึงปลายนิ้วเท้าในช่วงสัปดาห์ที่ 39 ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลดูอายุครรภ์ของลูกได้ เมื่อถึงเวลาคลอดค่ะ

พัฒนาการผิวหนัง
แล้วเมื่อแขนและขาค่อยๆ ยาวขึ้น สิ่งที่เกี่ยวข้องกันคือผิวหนังค่ะ เพราะต้องยืดขยายพร้อมรับการพัฒนาแขน ขา และลำตัว
สัปดาห์ที่ 20 ขึ้นไป
ผิวจะ ยังใสเห็นเส้นเลือดและดูแดง จากนั้นจะเริ่มมีไขมันบุใต้ชั้นของผิวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีต่อมไขมันขับสารที่ดูคล้ายเนยขาวเรียกว่า vernix caseosa ปกคลุมผิวทั่วร่างกาย เพื่อปกป้องไม่ให้ผิวเปื่อยจากการแช่อยู่ในน้ำคร่ำเป็นเวลานานๆ
ช่วงสัปดาห์ที่ 33 ขึ้นไป
ผิวจะ มีรอยย่นเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของผิวที่เกิดจากการขยายขนาดของลำ ตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 33 สัปดาห์เป็นต้นไป ซึ่งกว่าครึ่งของน้ำหนักแรกคลอดจะเกิดขึ้นในช่วง 33-38 สัปดาห์
สัปดาห์ที่ 38
สุด ท้ายในช่วงสัปดาห์ที่ 38 ขนอ่อน (lanugo hair) และไขที่เคลือบบนตัวลูก (vernix caseosa ) จะเริ่มหมดไป เพราะชั้นไขมันที่บุอยู่ชั้นใต้ผิวหนังของลูกจะมีความสมบูรณ์เต็มที่ และช่วยให้เด็กสามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายได้เมื่อคลอดออกมาค่ะ ดังนั้นเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจึงต้องอยู่ในตู้ปรับอุณภูมิ เพราะชั้นไขมันใต้ผิวหนังยังไม่สมบูรณ์นั่นเองค่ะ

 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=25304
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น