วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โรคที่ถูกกำหนดตั้งแต่ในครรภ์

แม่ตั้งครรภ์ควรรู้
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงที่นำ ไปสู่ความไวต่อการเกิดโรคได้ บางคนสันนิษฐานว่าเด็กที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำจะมีไตขนาดเล็ก ทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี จึงมีโอกาสเป็นโรคความดันสูงและเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าปกติ ในขณะที่บางคนสงสัยว่าอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งมีหน้าที่เกี่ยว ข้องกับความดันและความเครียด

มะเร็งเต้านม เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับฟีตอลโปรแกรมมิ่ง ดอกเตอร์มิเชลจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดพบว่า ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 2.5 กก. มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพียงครึ่งหนึ่งของพวกที่มีน้ำหนักแรกคลอดประมาณ 4 กก. เขาอธิบายว่าน้ำหนักแรกคลอดที่สูงแสดงว่ามดลูกมีขนาดใหญ่ และมีปริมาณฮอร์โมน และเอ็นไซม์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต เช่น อินซูลิน เล็ปติน และเอสโตรเจน เป็นต้น สูงกว่าปกติ ปัจจัยเหล่านี้ไม่เพียงทำให้ทารกโตเท่านั้น ยังอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เต้านมในทางที่ไวต่อการเป็นโรคมะเร็ง อีกด้วย

โคเลสเตอรอล นักวิทยาศาสตร์พบว่าทารกที่มีความยาวรอบท้องสั้นจะมีโอกาสมีระดับโคเลสเตอร อลสูงเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าการที่แม่ได้รับอาหารไม่เพียงพอส่งผลให้ทารกได้รับอาหาร ไม่เพียงพอด้วย ร่างกายของเด็กจึงปรับตัว โดยลดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะในช่องท้อง เพื่อเก็บเลือดไว้เลี้ยงสมองซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด ส่งผลให้อวัยวะในช่องท้องรวมถึงตับซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการกำจัดโคเลสเตอร อลพัฒนาไม่เต็มที่ ประสิทธิภาพการกำจัดโคเลสเตอรอลจึงไม่ดีเท่าที่ควร

ภาวะอ้วนเกินไป พบว่าในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์แม่ไม่ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ เด็กเมื่อโตขึ้นจะมีโอกาสอ้วนเกินไปได้ อาจเกิดจากภาวะขาดแคลนอาหารทำให้ร่างกายทารกปรับตัวเองให้อยู่ในภาวะประหยัด พลังงาน พลังงานทุกแคลอรีจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ หรืออาจเป็นไปได้ว่าภาวะขาดแคลนอาหารทำให้ศูนย์การควบคุมความหิวของเด็กถูก กำหนดให้กินทุกอย่างที่ขวางหน้า เมื่อโตขึ้นจึงเป็นคนอ้วนง่ายเพราะร่างกายมีอัตราการเผาผลาญพลังงานต่ำ หรือเป็นคนกินเก่ง

เบาหวาน เด็กที่เกิดมาผอมจะมีโอกาสเป็นเบาหวานเมื่อเป็นผู้ใหญ่ การได้อาหารที่ไม่เพียงพอทำให้ทารกในครรภ์ปรับตัวให้อยู่ในสภาพประหยัด พลังงาน รวมถึงการลดการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อร่างกายจะได้ใช้น้ำตาลกลูโคสได้เต็มที่ เมื่อโตขึ้นจึงมีน้ำตาลในเลือดสูงได้ง่าย

สมอง ความสมมาตรคือตัวทำนายไอคิวของเด็กเมื่อโตขึ้น พบว่าทารกที่สมมาตรด้านซ้ายและขวาเหมือนกันจะฉลาดกว่าพวกที่ไม่สมมาตร นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าขณะอยู่ในครรภ์ปัจจัยบางอย่างทำให้อวัยวะของทารก พัฒนาไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดความไม่สมมาตร ปัจจัยเดียวกันนี้อาจมีผลกระทบต่อการพัฒนาของระบบประสาท ความคิด ความจำ และการรับรู้



คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=1244
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น