วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เบาหวานกับแม่ตั้งครรภ์

เบาหวานเป็นโรคที่กิดได้ ไม่เว้นแม้แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ถ้าได้รับการตรวจและดูแลรักษาตั้งแต่เนินๆ ก็จะช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย

เบาหวานเกิดจาก..
ความ ผิดปกติเรื้อรังของคาร์โบไฮเดรต เมตาบอลิซึมที่เกิดจากการขาดอินซูลิน ลักษณะทางคลินิกของเบาหวานมีความแตกต่างกันได้มากนับตั้งแต่ไม่มีอาการใดๆ จนถึงระดับรุนแรงขั้นอันตรายถึงชีวิต เป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมที่พบได้บ่อยในระหว่างการตั้งครรภ์
ใน อดีตสูติแพทย์จะพบผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์น้อยมาก เนื่องจาก ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะมีอัตราตายสูง และมักมีบุตรยาก จนกระทั่งได้ค้นพบ insulin และนำมาใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวานอย่างแพร่หลาย ทำให้อัตราการตายของมารดาลดลงจากร้อยละ 45 เหลือร้อยละ 2 แต่ต้องมีการดูแลร่วมกันเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วย พยาบาล นักโภชนาการ สูติแพทย์ อายุรแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเบาหวาน ทำให้สามารถลดอัตราทุพพลภาพในทารกได้อย่างมีนัยสำคัญ และในปัจจุบันอัตราตายทารกปริกำเนิดก็ลดลง

การตั้งครรภ์ : เบาหวาน
การ ตั้งครรภ์ของคุณแม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เป็นเบาหวานได้นะ ครับ ดังนั้นคุณแม่ที่มีแนวโน้มจะเป็นเบาหวานหรือคุณแม่ที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว จะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือปรากฏอาการของเบาหวานมากขึ้น มีผลมาจากฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์ ซึ่งผลนี้จะเห็นมากขึ้นตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น
ผู้ ป่วยเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีความผิดปกติของคาร์โบไฮเดรตทุกระดับความรุนแรงซึ่งอาจจะเพิ่ง เกิดขึ้น หรือเพิ่งตรวจพบครั้งแรกในระหว่างการตั้งครรภ์ ทุกคนมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจติดตามต่อไปในระยะหลังคลอด เพราะพบว่าครึ่งหนึ่งของ gestational diabetes mellitus (GDM) จะกลายเป็น overt DM ภายใน 20 ปี และกลุ่ม pregestational diabetes mellitus หมายถึงผู้ป่วยที่รู้ว่าเป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์
เบา หวานนับเป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมที่พบบ่อยในระหว่างการตั้งครรภ์ ในปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นทั่วโลก และส่วนหนึ่งก็พบในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ทำให้อุบัติการณ์ของภาวะเบาหวานแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์สูงขึ้น เช่นในอเมริกาพบร้อยละ 3-5 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดทีเดียว
Gestational diabetes mellitus หมายถึงผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของคาร์โบไฮเดรต เมตาบอลิซึม ทุกระดับความรุนแรงที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือเพิ่งตรวจพบในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งผู้ป่วยอาจเป็นเบาหวานมาก่อนหน้านี้ แต่ผู้ป่วยและแพทย์ผู้ดูแลไม่ทราบมาก่อน เราจะพบอุบัติการณ์ของการเกิด GDM ในสหรัฐอเมริกกประมาณร้อยละ 2-3 ของหญิงตั้งครรภ์เดี่ยว และเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีครรภ์แฝดครับ

แม่กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
กลุ่ม คุณแม่ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง ได้แก่ คุณแม่อ้วน ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ เคยคลอดทารกตัวโต เคยคลอดทารกเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ เคยคลอดทารกพิการโดยไม่ทราบสาเหตุ มีประวัติเบาหวานในครอบครัว ตั้งครรภ์แฝดน้ำ ประวัติทารกคนก่อนมีน้ำตาลต่ำแรกคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีความดันโลหิตสูงเรื้อรัง พบภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ คุณแม่อายุมากกว่า 30 ปี
ใน คุณแม่ที่มีประวัติ GDM ในครรภ์ก่อน ผู้ป่วยที่อ้วนมาก มีประวัติเคยคลอดทารกตัวโตหรือตายตอนคลอด มีประวัติเบาหวานในครอบครัว หรือกำลังได้รับการรักษาด้วย Steroid สมควรได้รับการคัดกรองเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ถ้าผลปกติแนะนำให้ตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์ครับ
ใน ผู้ป่วยเบาหวานจะมีการเพิ่มขึ้นของอัตราตายของทารกปริกำเนิดอย่างชัดเจนจาก การเพิ่มของอัตราการผ่าตัดคลอด อันตรายจากทารกตัวโต และการเพิ่มขึ้นของอัตราทุพลลภาพในทารกเนื่องจากการบาดเจ็บ ชอกช้ำจากการคลอด

การรักษา
การ รักษา GDM จึงต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการควบคุมด้วยอาหารและการฉีดอินซูลิน สำหรับการควบคุมด้วยอาหาร นักโภชนาการมีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาและแนะนำอาหารที่ควรรับประทานแก่ ผู้ป่วยโดยมีเป้าหมายเพื่อให้อาหารเพียงพอต่อมารดาและทารก และควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
อาหาร ที่แนะนำให้รับประทานจะประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55 โปรตีนร้อยละ 20 ไขมันร้อยละ 25 โดยแบ่งออกเป็น 3 มื้อหลักและ 3 มื้อเสริม เพื่อป้องกันการเพิ่มหรือลดของน้ำตาลมากเกินไป


 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=29135
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น