วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พิชิตความเครียด

ความเครียดของแม่
ความ เครียดที่แม่ตั้งครรภ์ต้องเผชิญนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสรีระ ระดับฮอร์โมนในร่างกาย สภาพอารมณ์ จิตใจ ตลอดช่วงตั้งครรภ์ รวมถึงเป็นประสบการณ์ใหม่ในชีวิตอย่างหนึ่ง วิถีชีวิตประจำวันก็เปลี่ยนไปด้วย รวมถึงเครียดจากเรื่องอื่นๆ ซึ่ง สภาวะกายและใจแม่ที่ไม่เป็นปกติในขณะตั้งครรภ์ยิ่งทำให้เครียดมากขึ้นด้วย

อย่าปล่อยให้เครียดคุกคาม
หาก แม่เครียดมากระหว่างตั้งครรภ์ พบว่ามีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ บั่นทอนสุขภาพจิตของคุณแม่เอง แล้วส่งผลไปถึงระบบต่างๆ ภายในร่างกาย พลอยทำให้การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ไม่ดีเท่าที่ควร อาจทำให้ทารกมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรืออาจคลอดก่อนกำหนดก็ได้ รู้อย่างนี้แล้วคุณแม่ทั้งหลายพยายามไม่เครียดจะดีที่สุด

* 3 เดือนแรก..รถไฟเหาะตีลังกา

คุณ แม่จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายค่อนข้างจะชัดเจน เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เต้านมคัดตึง ฯลฯ ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มักมีอารมณ์แปรปรวน ขึ้นๆ ลงๆ เหมือนนั่งรถไฟเหาะตีลังกา..เป็นได้ตั้งแต่ดีใจ มีความสุขมากมาย หรือแม้กระทั่งเกิดอาการซึมเศร้า โดยไม่มีเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น

ผลที่ ตามมาก็คือ คนรอบข้างโดยเฉพาะสามี อาจไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงนี้เห็นคุณมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เลยถอยห่าง (เผื่อจะอารมณ์ดีขึ้น) หรือไม่ใส่ใจ ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งต้องการความรักความเอาใจใส่มากเป็นพิเศษอยู่แล้ว เกิดน้อยใจหรือเศร้ามาก ขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าตัวเองไม่อยู่ในสภาพที่สามีจะรัก สนใจ คุณแม่บางรายตื่นเต้นที่จะเปลี่ยนบทบาทเป็นแม่จนเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ เช่น จะแท้งไหม หรืออาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

* 3-6 เดือน เข้าที่เข้าทาง
 ช่วง นี้คุณแม่ส่วนใหญ่ อาการแพ้ท้องจะหายไปแล้ว ความกังวลเรื่องการแท้งลูกก็ลดลง มักจะอารมณ์ดีขึ้น ไม่ค่อยเครียด หรือหงุดหงิด เริ่มใส่ชุดคลุมท้องสวยๆ คุยกับคนในครอบครัวและเพื่อนๆ ถึงเรื่องการตั้งครรภ์และลูก หันมาสนใจการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่นเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้น ทำให้คุณแม่ตื่นเต้น ดีใจ และรู้สึกจริงจังว่าลูกในท้องนั้นเป็นชีวิตอีกชีวิตหนึ่ง

* 3 เดือนสุดท้าย..มาอีกแล้ว
เป็น ช่วงที่คุณแม่รู้สึกภูมิใจปนกับความกังวล เนื่องจากใกล้ถึงเวลาคลอดเข้ามาทุกที คุณแม่จะรู้สึกอึดอัด เพราะท้องโตมากขึ้น จะลุกจะนั่งจะนอนไม่สะดวกสบาย และต้องการความช่วยเหลือมากขึ้น แม่บางคนอาจรู้สึกว่านี่เป็นสิทธิพิเศษของคนท้องที่จะมีคนคอยช่วยเหลือ

แต่ บางคนอาจจะรู้สึกแย่และหงุดหงิดที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่สามารถไปไหนมาไหนอย่างสะดวกเหมือนก่อน ส่องกระจกทีไรก็มองเห็นตัวเองน่าเกลียดพาลนึกไปว่าสามีคงรู้สึกเช่นนั้นด้วย แถมยังกังวลเรื่องคลอด.. จะคลอดเองได้ไหม ลูกจะ ออกมาสมบูรณ์ไหม..กังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกที่จะเกิดมา..โดยเฉพาะแม่ที่ เพิ่งมีลูกคนแรก

ช่วงนี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้าง โดยเฉพาะจากสามี ความกังวลในเรื่องการเจ็บท้อง การคลอด และการที่จะต้องเปลี่ยนสถานะเป็นแม่ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเดือนสุดท้ายก่อนคลอด เราจะพบว่าแม่ทุกคนมีโอกาสที่จะเผชิญหน้ากับความเครียดได้ง่ายมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะเกิดความเครียดเหมือนกันหมดทุกคนนะครับ หากคุณแม่และคนรอบข้างเข้าใจที่มาที่ไปของความเครียดดังกล่าว จะมีส่วนช่วยป้องกันและลดความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี

พิชิตความเครียดให้ราบคาบ
ก่อน อื่น ควรทำความเข้าใจก่อนว่าความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใน ช่วงตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ และทัศนคติของคุณแม่ต่อการตั้งครรภ์ก็เป็นปัจจัยสำคัญ หลายครั้งที่คนเรามักจะกังวลในเรื่องที่แทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย แต่ จะห้ามไม่ให้คิดเลยก็คงไม่ได้ อย่างน้อย หากคุณแม่พยายามคิดในด้านที่ดีไว้ก่อน มั่นใจว่าคุณแม่จะผ่านการตั้งครรภ์และการคลอดไปได้โดยไม่มีปัญหา ก็จะช่วยให้สามารถจัดการกับความเครียดได้               

การจะ จัดการกับความเครียดให้ได้ผลนั้น คุณแม่ต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจกับตัวเองก่อนว่า สาเหตุของเครียดที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร ทำได้ไม่ยากเลยครับ
1. เขียนสิ่งที่ทำให้คุณแม่เครียดหรือกังวลลงในกระดาษสักแผ่น
2. เรียงลำดับความสำคัญและความรุนแรงของสาเหตุดังกล่าว โดยดูว่าจะมีผลต่อคุณแม่มากน้อยแค่ไหน ในระยะสั้นหรือระยะยาวอย่างไร
3. ใช้เวลาสักนิด ไตร่ตรองแต่ละหัวข้อที่คุณแม่เขียน พิจารณาดูว่าอะไรบ้างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงมันอย่างไร หรือต้องการความช่วยเหลืออย่างไรในการเปลี่ยนแปลงนั้น รวมทั้งพิจารณาด้วยว่า อะไรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งคุณแม่คงต้องยอมรับและไม่ต้องเก็บไปกังวลให้มาก
4. นำสิ่งที่คุณแม่เขียนลงในกระดาษและสิ่งที่คุณแม่คิดนั้น ไปปรึกษากับใครสักคนที่เชื่อใจ อาจเป็นคนในครอบครัว สามี เพื่อน หรือหมอที่ฝากท้อง แม้จะไม่ได้รับคำตอบทั้งหมด แต่อย่างน้อยการได้พูดคุยและระบายความกังวลต่างๆ ออกไปบ้าง จะช่วยลดความเครียดลงได้บ้าง ไม่มากก็น้อย หรืออาจลองคิดกลับกันว่าถ้ามีคนมาปรึกษาในเรื่องนี้จะให้คำแนะนำเขาอย่างไร


 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=6928
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น