วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตรวจหาความผิดปกติของสมองลูก

ปกติก่อนจะตรวจร่างกายทารกในครรภ์ จำเป็นต้องตรวจภาวะแวดล้อมรอบตัวทารกทั่วไปก่อนครับ โดย ดูจำนวนทารกในครรภ์ การเต้นของหัวใจ ตำแหน่ง ท่าทาง ปริมาณน้ำคร่ำรอบตัวทารก นอกจากนี้ยังต้องตรวจดูตำแหน่งและเกรดของทารก (ความแก่ของรก) ดูบริเวณมดลูกว่ามีเนื้องอกและความผิดปกติอื่นบริเวณปีกมดลูกร่วมด้วยหรือ ไม่

ซึ่ง ความผิดปกติทางโครงสร้างของทารกอาจเป็นผลมาจากพันธุกรรม สภาพแวดล้อมและอื่นๆ โดยร้อยละ 50 จะไม่ทราบสาเหตุ เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่างในการวินิจฉัยโดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกของการตั้ง ครรภ์ เช่น ช่วง 8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์จะมีการยื่นของลำไส้ทารกเข้าไปในสายสะดือจนเกิดเป็น ก้อนขึ้นมา แล้วจะกลับเข้าไปในช่องท้องของทารกเมื่ออายุครรภ์ 11 สัปดาห์ อันอาจทำให้คิดว่าเป็นลำไส้ที่ยื่นผิดปกติได้ แต่จริงๆ เป็นลักษณะที่พบได้ปกติครับ

ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะตรวจหา ความผิดปกติทางโครงสร้างของทารกตั้งแต่ในไตรมาสแรก แต่ตอนนี้สูติแพทย์ทั่วไปยังคงยึดถือการตรวจในช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นมาตรฐาน โดยใช้การอัลตราซาวนด์ในการวินิจฉัย ดังนั้นไม่ว่าจะตรวจอัลตราซาวนด์ในช่วงใดของอายุครรภ์ก็ตาม จะไม่สามารถวินิจฉัยความผิดปกติทุกอย่างของทารกในครรภ์ได้ครับ

ส่วน ความผิดปกติที่พบบ่อยนั้น ผมขอเริ่มจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ศีรษะของทารกนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการใช้กำหนดอายุครรภ์ คุณหมอต้องวัดความกว้างของศีรษะของทารก ซึ่งเรียกว่า Biparietal diameter เป็นมาตรฐานในการคำนวณอายุครรภ์ ความผิดปกติแต่กำเนิดในระบบประสาทส่วนกลางที่พบก็เช่น

ทารกหัวบาตร (Hydrocephalus) เป็นภาวะที่มีปริมาณน้ำในช่องสมอง (Cerebrospinal fluid = CSF) เพิ่มมากผิดปกติ อะไรก็ตามที่ทำให้มีการสร้าง CSF เพิ่มขึ้น จะทำให้มีการดูดซึมกลับของ CSF ช้าลง หรือมีอะไรไปขวางทางไหลเดินของ CSF ก็จะทำให้เกิดเด็กหัวบาตรขึ้นในที่สุด

คุณหมอจะวัดความกว้างของช่อง Ventricle ในสมอง ซึ่งปกติมีความกว้างประมาณ 7.6 ? 0.6 มม. ตลอดอายุครรภ์ตั้งแต่ 15-40 สัปดาห์ หากมากกว่า 15 มม. ถือว่าผิดปกติครับ

มีช่องว่างในสมอง ที่เรียกว่า Holoprocencephaly ก็เป็นความผิดปกติที่มักพบร่วมกับการที่ทารกมีตาเดียว (Single orbit) มีปากแหว่งตรงกลาง มีช่องจมูกช่องเดียว และอาจพบก้อนเนื้อยื่นเหนือระดับตาด้วย

ในบางรายจะไม่พบกะโหลก (anencephaly) และมีลักษณะตาที่คล้ายกบ เรียกว่า Frog eye appearance ลักษณะอื่นที่พบด้วย ได้แก่ ครรภ์แฝดน้ำ เกิดจากมีการผลิตน้ำคร่ำมากขึ้นร่วมกับการที่ทารกในครรภ์กลืนน้ำคร่ำได้ไม่ ปกติ โดยภาวะที่ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะนี้สามารถตรวจหาได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์

นอกจากนี้หากคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วมีการติดเชื้อในครรภ์เกิด ขึ้น โดยเฉพาะการติดเชื้อ กลุ่ม Virus ได้แก่ toxoplasma หัดเยอรมัน cytomegalovirus เริม ซึ่งสามารถผ่านรกทำให้ทารกติดเชื้อได้ ส่งผลให้มีการติดเชื้อในสมองทารก ทำให้ศีรษะทารกเล็ก เนื้อสมองฝ่อ ช่องสมองที่มีน้ำใหญ่ขึ้น นอกจากนี้จะเห็นจุดขาวๆ ในเนื้อสมอง ซึ่งเกิดจากการสะสมของแคลเซียม และอาจตรวจพบตับ ม้ามโต ในกรณีของการติดเชื้อ cytomegalovirus ด้วย

กรณีมีการอุดตันของหลอด เลือดแดง หลอดเลือดดำ หรือการอุดตันของเส้นเลือดในสมองทารกข้างใดข้างหนึ่ง จะทำให้เกิดการฝ่อตัวของเนื้อสมองในข้างเดียวกัน โครงสร้างภายในสมองก็จะโย้ไปด้านที่ฝ่อได้

ในบางรายมีการอุดตันของ หลอดเลือดแดงของทารกทำให้เกิดการทำลายของเนื้อสมอง เมื่ออัลตราซาวนด์คุณหมอจะเห็นของเหลวเต็มกะโหลกศีรษะ โดยไม่เห็นเนื้อสมองเลย 



คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=12009
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น