วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

น้ำคร่ำ…เรื่องสำคัญของแม่และลูกน้อย

แม่...
 + ช่วยหล่อลื่นเวลาคลอด
+ สัญญาณเตือนถึงอาการผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น แม่อาจจะเป็นเบาหวาน หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ลูก…
 + เปรียบเหมือนแอร์แบ๊กคอยคุ้มกันลูก เพื่อช่วยลดแรงกระแทก
+ เป็นแหล่งอาหาร และระบายของเสีย
+ เป็นสถานที่ปรับอุณหภูมิ น้ำคร่ำจะ มีความอุ่น เพื่อปรับอุณหภูมิในร่างกายแม่ที่มีค่อนข้างสูงประมาณ 37 องศาเซลเซียส น้ำคร่ำมีหน้าปรับอุณหภูมิให้ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
+ สัญญาณเตือนว่าลูกอาจจะพิการหรือมีปัญหาที่ไต หรือปอด

เมื่อน้ำคร่ำผิดปกติ
น้ำคร่ำมากหรือตั้งครรภ์แฝดน้ำ : มีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่า 2-3 ลิตร (ในช่วงใกล้คลอด)
ผลกระทบกับแม่
+ ปวดหลัง … เพราะเมื่อถุงน้ำคร่ำมีขนาดใหญ่ มดลูกขยายขนาดทำให้ท้องใหญ่ขึ้น กระดูกสันหลังจึงรับน้ำหนักมากขึ้น
+ อึดอัด หายใจลำบาก ... เมื่อมดลูกขนาดใหญ่ เข้าไปดันกระบังลม ทำให้คุณแม่หายใจลำบาก ยิ่งหากน้ำคร่ำเพิ่มขึ้นรวดเร็วอาจจะทำให้คุณแม่หายใจไม่ออกได้
+ ขาบวม ... ขนาดมดลูกที่ใหญ่ขึ้นทำให้กดทับเส้นเลือด เมื่อเลือดไหลเวียนไม่สะดวกทำให้เท้าบวม ขาบวม รวมไปถึงอวัยวะเพศบวม

ผลกระทบกับลูก
กับลูกนั้นจะได้รับผลกระทบจากน้ำคร่ำมาก นั้นเกิดจากการที่ลูกมีความพิการจากโรคอยู่แล้ว คือ เด็กอาจจะมีความพิการ เช่น หลอดอาหารตีบ หรือมีเนื้องอกที่ใบหน้า เมื่อดูแล้วว่าอาการไม่รุนแรงมาก ก็จะไม่กระทบกับเด็กเท่าที่ควร แต่หากมีความพิการรุนแรง อาจจะต้องคลอดก่อนกำหนด เพราะมีความเสี่ยงที่เด็กจะเสียชีวิตได้

สาเหตุ : เกิดขึ้นทั้งจากแม่และลูก รวมไปถึงไม่ทราบสาเหตุ
แม่....เป็น โรคเบาหวาน เชื่อกันว่าเมื่อแม่มีน้ำตาลในเลือดสูงส่งผ่านไปยังลูก ด้วยระดับน้ำตาลในเลือดของลูกที่สูงขึ้น ทำให้ปัสสาวะบ่อย เป็นเหตุให้น้ำคร่ำเพิ่มขึ้น
ลูก.... มีความพิการ เช่น เนื้องอกที่หน้า หลอดอาหารตีบ ทำให้กลืนน้ำคร่ำไม่ได้ เมื่อน้ำคร่ำไม่สามารถระบายออกได้ จึงทำให้ล้นอยู่ในท้องแม่
วิธีรักษา : คุณหมอจะหาสาเหตุและรักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น เจาะหน้าท้องเพื่อระบายน้ำคร่ำออก หรือยุติการตั้งครรภ์หากสาเหตุนั้นเกิดจากทารกมีความพิการ และพิจารณาแล้วว่าเด็กคลอดแล้วไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้

น้ำคร่ำน้อย : ปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติคือมีประมาณ 200-300 cc. ในช่วงใกล้คลอด ซึ่งลักษณะน้ำคร่ำที่มีอยู่จะเป็นน้ำเหนียว ข้น
ผลกระทบกับแม่
+ ส่วนใหญ่จะไม่กระทบกับแม่ เรียกว่าแม่จะสบายตัวมากกว่าเพราะไม่อึดอัดจากขนาดมดลูกที่ขยาย
ผลกระทบกับลูก
+ เมื่อถุงน้ำคร่ำมีขนาดเท่าเดิม แต่ไม่สัมพันธ์กับร่างกายทารกที่ เจริญเติบโตขึ้นทุกวัน ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้แขนขาเด็กผิดรูป ศีรษะเบี้ยว และที่สำคัญปอดไม่ขยาย ปอดแฟบ จนไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งเสี่ยงที่ทารกจะเสียชีวิต
สาเหตุ : เกิดขึ้นทั้งจากแม่และลูก รวมไปถึงไม่ทราบสาเหตุ
แม่.... รกเสื่อมสภาพ จากการตั้งครรภ์ที่นานหลายเดือนเกินไป หรือแม่มีอาการความดันโลหิตสูง
ลูก.... นอกจากกรณีที่ไม่ทราบสาเหตุแล้ว ยังอาจจะเกิดจากการที่เด็กมีอาการผิดปกติ เช่น ไตพิการ ซึ่งอาจจะทำให้เสียชีวิตในครรภ์ได้
วิธีรักษา : กรณีที่ถุงน้ำคร่ำไม่แตก รั่ว หรือติดเชื้อ คุณหมอจะเติมเมื่อน้ำเกลือลงไปในน้ำคร่ำ โดยฉีดเข้าทางหน้าท้อง หรือหากเกิดจากลูกพิการคุณหมอจะความรุนแรงของความพิการและอายุครรภ์ของแม่ว่าสามารถคลอดได้หรือไม่

 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=22287
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น