วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ท้อง!..เวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง

หมดจากช่วงสาวรุ่นมาร่างกายก็ไม่ค่อยได้ ผจญกับความเปลี่ยนแปลง สักเท่าไหร่ แต่พอมีใครมาอยู่ในท้องนี่สิอะไรชักไม่เหมือนเดิมซะแล้ว ไปดูหน่อยค่ะว่าใน 9 เดือน (40 สัปดาห์) นี้มีอะไรในตัวที่เปลี่ยนไปบ้าง

4 สัปดาห์ (นับจากวันปฏิสนธิหรือ 6 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์)
ช่วง นี้เต้านมคัดตึงเหมือนตอนใกล้จะเป็นประจำเดือน จะสังเกตเห็นเส้นเลือด ดำเป็นริ้วสีเขียวๆ ตรงผิวเนื้อแถวเต้านม ปวดปัสสาวะบ่อยเพราะมดลูกขยายตัวไปกดทับ กระเพาะปัสสาวะ เลยต้องเรียกหาห้องน้ำกันถี่หน่อยโดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก และจะ กลับมามีภาวะนี้อีกครั้งตอนช่วงใกล้คลอด

8 สัปดาห์
คลื่น ไส้ อาเจียน เพลียเหมือนจะเป็นลม ยิ่งช่วงตื่นนอนใหม่ๆ ด้วยแล้วแทบไม่ อยากลุกจากที่นอนเลยล่ะ จะเป็นอยู่จนถึงปลายเดือนที่ 3 ก็จะหายไป แต่บางคนก็ตั้งหน้า ตั้งตาแพ้ไปจนเดือนที่ 4 ที่ 5
ส่วน หน้าอกหน้าใจและฐานของหัวนมขยายใหญ่ขึ้น จะมัวใช้ บราตัวจิ๋วอย่างเคยไม่ได้แล้ว ต้องหาสำหรับแม่ท้องมาใส่และเลือกขนาดที่เกี่ยวตะขออันใน สุดได้พอดีจะได้ใช้ไปตลอดช่วงการท้องค่ะ

12 สัปดาห์
น้ำหนัก ตัวจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่บางคนน้ำหนักจะลดลงเพราะอาการแพ้ท้อง ปลายแขนขาจะบวมและรู้สึกเหมือนอุ่นขึ้นเล็กน้อยเพราะหลอดเลือดขยายตัว

16 สัปดาห์
น้ำหนัก ยังเพิ่มขึ้นไม่มาก หัวนมเริ่มดำคล้ำและรู้สึกเจ็บถ้าถูกสัมผัส ริ้วสีเขียวที่ เต้านมจะชัดขึ้น มีเส้นดำจากสะดือถึงหัวหน่าวมาทักทายที่หน้าท้อง

20 สัปดาห์
มอง ดูชักจะเริ่มอ้วนขึ้นนิดๆ เอวเริ่มหาย ได้เวลาเปลี่ยนเสื้อผ้าลอตใหม่ที่ ใส่สบายตัวไม่อึดอัด บางคนมีอาการขี้ร้อน เหงื่อออกง่ายจนอาจทำให้เกิดผื่นตามขาหนีบ ข้อพับ รักแร้ แทนที่จะเกาให้เสี่ยงกับผื่นผิวหนังติดเชื้อก็หันมาเลือกเสื้อผ้าที่ทำจาก ผ้าฝ้าย หรือเส้นใยธรรมชาติ อาบน้ำบ่อยๆ และซับตัวให้แห้งโดยเฉพาะจุดอับชื้นจะดีกว่าค่ะ

24 สัปดาห์
อาจ รู้สึกแสบร้อนตั้งแต่บริเวณลิ้นปี่มาถึงลำคอ เพราะท้องขยายขนาดขึ้นไป เบียดกระเพาะอาหาร ดันให้น้ำย่อยขึ้นมาบ่อยๆ วิธีรับมือคือไม่ควรนอนราบแต่นอนให้ศีรษะ และลำตัวสูงกว่าเท้าเล็กน้อย และหลีกเลี่ยงของทอดมันๆ อาหารรสเผ็ด พยายามงดมื้อ ดึกๆ และถ้ามีอาการนี้ช่วงกลางดึกนมสักแก้วช่วยได้ค่ะ

28 สัปดาห์
ช่วง 3 เดือนต่อจากนี้น้ำหนักจะขึ้นมาสัปดาห์ละประมาณ 1/2 กก. ทีนี้ล่ะ อาการปวดหลังจะเริ่มถามหา ช่วงนี้เก้าอี้หรือเตียงที่นุ่มเกินไปถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง นั่ง หลังตรง จะลงนั่งหรือหยิบของให้งอเข่านั่งลงก่อน ไม่ยกของหนักและใส่รองเท้าส้นเตี้ย แล้วถ้าเริ่มรู้สึกอึดอัดเวลานอน ลองนอนตะแคงเหมือนนอนกอดหมอนข้างดูสิคะ

32 สัปดาห์
ใกล้ คลอดอย่างนี้มดลูกจะซ้อมการหดรัดตัวเพื่อเตรียมคลอด เลยรู้สึกเจ็บท้อง เตือนอยู่เป็นระยะๆ สังเกตได้ว่ามดลูกจะนูนแข็งขึ้นเป็นครั้งคราวนานไม่เกิน 30 วินาที รู้สึกปวดหน่วงที่เชิงกรานอยู่บ่อยๆ เวลาเดินจะจุกเสียดเจ็บชายโครงเพราะมดลูกขยาย ตัวไปดันที่ยอดอก สะดือจะตื้นขึ้นเส้นดำกลางลำตัวจะเข้มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

38 สัปดาห์
เริ่ม มีอาการหลังแอ่นเพราะน้ำหนักท้องมากขึ้น จะนอนท่าไหนก็ไม่สบายตัว หลับยากขึ้น อย่างนี้ต้องอาศัยงีบหลับช่วงสั้นๆ ค่ะ และถ้าจะให้สบายก็หาหมอนหนุนเท้าให้สูง กว่าลำตัวอีกนิดพอจะช่วยให้สบายตัวได้บ้าง 40 สัปดาห์ โค้งสุดท้ายก่อนคลอดนี้เตรียมตัวเตรียมใจ ลืมความเครียดปล่อยความกังวล รอรับรอยยิ้มของเจ้าตัวน้อยที่กำลังจะเกิดมาดีกว่าค่ะ รู้อย่างนี้แล้วก็ปรับตัว ปรับใจเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างหน้าชื่นตาบานได้แล้วนะคะ

 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=26581
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น