วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ท้องแฝด : พลังงานคูณสอง

คุณแม่ตั้งครรภ์ลองมาอ่านดูค่ะ
แฝดไม่เหมือน
มนุษย์ เรานั้น ธรรมชาติสร้างมาให้มีลูกกันทีละคน เนื่องจากจะมีไข่ตกเพียงเดือนละ 1 ใบเท่านั้น ขวาบ้าง ซ้ายบ้างสลับกันไป แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่นๆ ที่ออกลูกกันทีเป็นครอก หากคนเราคลอดกันทีละเป็นครอก ก็คงวุ่นวายน่าดูเหมือนกัน แค่คนเดียวก็เลี้ยงกันไม่ค่อยจะไหวแล้ว
บาง ครั้ง ไข่คนเราสามัคคีกันตกพร้อมๆ กันทีเดียว 2-3 ใบได้ ถ้าในรอบนั้นมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็จะทำให้เกิดเป็นท้องแฝด แฝดประเภทนี้เราเรียกกันว่า "แฝดไม่เหมือน" เพราะเกิดจากไข่ 2 ชุด ตัวอสุจิ 2 ชุด อาจจะมีโครโมโซมแตกต่างกันบ้าง อาจจะเป็นเพศเดียวกันหรือคนละเพศก็ได้ แม้ว่าจะมีโครโมโซมแตกต่างกัน ก็มักจะมีหน้าตาไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากมีพ่อแม่คนเดียวกัน

แต่ ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกันนะครับ เช่น ฝรั่งสาวนางหนึ่งท้องแฝดก็ดีใจกันยกใหญ่ ตรวจครรภ์ ตรวจอุลตร้าซาวน์ด ก็ดูปกติดีทุกอย่าง พอถึงเวลาคลอด...เบ่งคนแรกออกมาก็เป็นลูกชายผิวขาว ตัวแดง น่ารัก พอคนน้องกลับกลายเป็นผิวดำเมี่ยงแบบนิโกร เป็นที่ตกใจกันยกใหญ่ หมอทำคลอดต้องรีบเอามาให้ดูว่า...นี่ลูกของยูจริงๆ นะ คนแรกเป็นผิวขาว คนที่สองเป็นผิวดำ ตอนหลังถึงได้รู้ความจริงว่า ฝรั่งนางนี้ไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายสองคน คนหนึ่งผิวขาว อีกคนผิวดำ ในเวลาไล่เลี่ยกัน และบังเอิญมีไข่ตกพร้อมๆ กัน 2 ใบพอดี ก็เลยกลายเป็นไข่ 2 ชุด ตัวอสุจิ 2 ชุด แต่อยู่ในท้องเดียวกัน

แฝด ไม่เหมือนหรือไข่คนละใบนั้น มักจะมีประวัติพ่อแม่ตั้งท้องแฝดมาก่อน โดยเฉพาะยิ่งฝ่ายแม่ ยิ่งมีผลเกี่ยวเนื่องมาก คุณแม่ที่ตัวใหญ่มีโอกาสตั้งท้องแฝดมากกว่าคุณแม่ตัวเล็กๆ เพราะธรรมชาติคงรู้ครับว่า ตัวเล็กนิดเดียวคงแบกท้องแฝดไม่ไหว คุณแม่อายุมากมักจะเกิดท้องแฝดได้ง่ายกว่าคุณแม่อายุน้อย เนื่องจากระบบฮอร์โมนอาจแปรปรวนได้ง่ายเมื่ออายุมาก จึงทำให้ไข่ตกครั้งละหลายใบได้บ่อยๆ แต่ที่เราเห็นสาวๆ ตั้งท้องแฝดบ่อยกว่า เพราะสาวๆ ทำการบ้านบ่อยกว่านั่นเอง

แฝดเพราะเทคโนโลยี
เดี๋ยว นี้วิทยาการก้าวหน้าขึ้นมาก สามารถทำให้ผู้หญิงที่มีลูกยากมีลูกได้มากขึ้น ซึ่งมักจะต้องกินยา ฉีดยา เพื่อกระตุ้นให้รังไข่ทำงานมากขึ้น มีไข่ตกพร้อมกันทีเดียวหลายๆ ใบได้บ่อยๆ ก็เลยเป็นผลพลอยได้ ไหนๆ ก็มีลูกยากแล้ว พอมีก็ติดแฝดซะเลย โดยเฉลี่ยพบว่าการตั้งท้องที่เกิดจากการกระตุ้นไข่ ผสมเทียม จะเกิดท้องแฝดได้ประมาณ 10-40 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

แฝดเหมือน
แฝด อีกชนิดหนึ่งก็คือ แฝดไข่ใบเดียวกัน หรือแฝดเหมือน เด็กจะมีโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ หน้าตาเหมือนกัน อาจจะมีไฝฝ้าต่างกันบ้างนิดๆ หน่อยๆ พอเป็นที่สังเกต แฝดแบบนี้เกิดจากไข่เพียงใบเดียว ตัวอสุจิตัวเดียว หลังเกิดการปฏิสนธิแล้วก็เริ่มมีการแบ่งตัวเติบโตกลายเป็นตัวอ่อน แต่ถ้าระหว่างการแบ่งตัวมีการหลุดแยกจากกันเป็นสองส่วน แล้วแบ่งตัวต่อไปเติบโตเป็นตัวอ่อนสองตัว ก็จะกลายเป็นแฝดเหมือน

แฝดสยาม
โดย ปกติแล้วถ้าเซลล์ของตัวอ่อนแยกขาดจากกันในช่วง 3-8 วัน หลังการปฏิสนธิ ก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนัก แต่หากแยกตัวจากกันในช่วงเกิน 8 วันไปแล้ว มักจะแยกจากกันได้ไม่เด็ดขาด จะกลายเป็นแฝดที่มีตัวติดกัน หรือที่เรารู้จักกันว่า "แฝดสยาม" นั่นเอง อาจจะมีหัวติดกัน ท้องติดกัน หลังติดกัน ก้นติดกันก็ได้ แต่ที่พบได้บ่อยๆ ก็คือ มีส่วนหน้าอกติดกัน...ต้องมาผ่าตัดแยกร่าง หากอวัยวะภายในแยกจากกันได้เด็ดขาดก็สบายหน่อย แต่ถ้าอวัยวะภายในต่างๆ ใช้ร่วมกัน ตอนผ่าตัดแยกอาจจะต้องผ่าแบ่งอวัยวะข้างในด้วย แต่ถ้าอวัยวะข้างในไม่สามารถแยกได้ ก็อาจจำเป็นต้องเสียสละคนใดคนหนึ่งไป เพื่อให้อีกคนมีชีวิตรอด อย่างไรก็ตาม แฝดติดกันแบบนี้พบได้น้อยมากเพียงแค่ 1 ใน 60,000 เท่านั้น

 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=26306
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น