วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แม่ท้องกับน้องน้อยในครรภ์

3 เดือนแรก
แม่ท้อง - น้ำหนักตัวไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เพราะแพ้ท้อง มีอาการตั้งแต่ช่วงที่ประจำเดือนขาดไปได้ 2 สัปดาห์เรื่อยมาตลอดช่วง 3 เดือนนี้
น้องน้อย - หัวใจเริ่มเต้นเมื่ออายุครรภ์ 6 สัปดาห์ เริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 8-9 สัปดาห์ แต่กว่าคุณแม่จะรู้สึกได้ก็เมื่อ 18 สัปดาห์ครึ่ง

เดือนที่ 4
แม่ท้อง - หน้าท้องเริ่มขยายใหญ่ มีเส้นดำที่กึ่งกลางท้อง หัวนมคล้ำและเส้นเลือดดำที่บริเวณเต้านมเห็นชัดขึ้น ช่วงปลายของเดือนจะรู้สึกว่าลูกดิ้น
น้องน้อย - สัดส่วน รูปร่างเริ่มเหมือนทารกมากขึ้น กระดูกค่อยๆ แข็งแรง อาจมองเห็นอวัยวะเพศได้ชัดเจนในบางคน ได้ยินเสียงพูดของพ่อแม่

เดือนที่ 5
แม่ท้อง - หายใจไม่ค่อยอิ่มเพราะน้ำหนักท้องที่ต้องแบกมากขึ้น เอวขยาย ท้องลาย แสบหน้าอกเพราะน้ำย่อยจากกระเพาะไหลย้อนขึ้นมา
น้องน้อย - ระบบประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เริ่มได้ยินเสียง ลำตัวเริ่มมีขนอ่อน มีผม คิ้ว และไขเกาะตามตัว แยกรสขมกับหวานได้

เดือนที่ 6
แม่ท้อง - น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละ 1/2 กิโลกรัม จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเริ่มเปลี่ยน ทำให้ปวดชายโครง ปวดหลัง เสียดท้องน้อยหากเปลี่ยนอิริยาบถทันที
น้องน้อย - ขนาดลำตัวเริ่มได้สัดส่วนกับศีรษะ ดิ้นแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่ได้ยินเสียงพ่อแม่หรือเพลงที่คุ้นเคย ถุงลมในปอดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รูจมูกเริ่มเปิด เริ่มฝึกการหายใจ


เดือนที่ 7
แม่ท้อง - ท้องขยายใหญ่จนอุ้ยอ้าย อึดอัดไม่ว่าจะลุก ยืน เดิน นั่ง นอน ปวดปัสสาวะบ่อย ขี้ร้อน เหนื่อยง่าย บวมตามมือ หน้าข้อเท้า หลังเท้า
น้องน้อย - อวัยวะต่างๆ ครบสมบูรณ์ น้ำหนัก 1,000 กรัม ยาว 35 ซม. สัดส่วนร่างกายเท่ากับทารกครบกำหนด เริ่มลืมตาฝึกการมอง หายใจเป็นจังหวะมากขึ้น

เดือนที่ 8
แม่ท้อง - ปวดหน่วงเชิงกรานเวลาเดินหรือเปลี่ยนท่า ท้องตึงเพราะมดลูกซ้อมหดรัดตัว
น้องน้อย - น้ำหนักประมาณ 1,500 กรัม ยาวประมาณ 40 ซม.ตาเริ่มกระพริบถี่ และเพ่งมองจุดสนใจ อวัยวะต่างๆ พัฒนาเกือบเต็มที่เหลือแต่ปอดที่ต้องรออีก 1 เดือน เริ่มกลับศีรษะลงเตรียมคลอด

เดือนที่ 9
แม่ท้อง - น้ำหนักเพิ่มไม่มากหรือไม่เพิ่มเลย มดลูกหดรัดตัวแรงและบ่อยขึ้น มีตกขาวและน้ำนมน้ำเหลืองออกมามากขึ้น
น้องน้อย - อวัยวะทุกส่วนสมบูรณ์เต็มที่ ตัวอ้วนกลมเต็มโพรงมดลูก น้ำหนักประมาณ 3,000 กรัม ความยาวประมาณ 50 ซม.

ดูแลแม่ท้องพร้อมน้องน้อยในครรภ์
การ ใส่ใจดูแลสุขภาพของแม่ท้องในช่วงนี้ หมายถึงความก้าวหน้าของการตั้งครรภ์ พัฒนาการที่ดีของลูกในท้อง รวมไปถึงสุขภาพที่ดีของคุณและลูกนับตั้งแต่ช่วงนี้ไปจนถึงหลังคลอด และเพื่อให้การท้องของคุณดำเนินไปอย่างมีพัฒนาการที่ดี คุณควรใส่ใจดูแลตัวเองในเรื่องหลักๆ เหล่านี้ค่ะ

ใส่ใจกับการฝากครรภ์ เมื่อคุณรู้หรือสงสัยว่าจะได้ขึ้นแท่นเป็นแม่กับเขาแล้ว ควรรีบไปฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ เพราะคุณจะได้รับการตรวจร่างกายและคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ได้ติดตามการเจริญเติบโตและความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกในท้อง เพื่อการดูแลที่ถูกต้อง และให้ลูกคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง คุณควรไปตามนัดทุกครั้ง เคร่งครัดในข้อแนะนำของคุณหมอและควรบันทึกการฝากครรภ์ของตัวเองไว้ด้วย เพื่อเตือนความจำและดูความเปลี่ยนแปลงและความผิดปกติด้วยตัวเองในเบื้องต้น ค่ะ

บำรุงด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เพราะลูกในท้องต้องการอาหารในการสร้างอวัยวะต่างๆ และแม่ต้องใช้อาหารเพื่อการทำงานของระบบในร่างกายที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น นอกจากต้องเป็นอาหารมีประโยชน์และหลากหลายแล้ว ควรเน้นอาหารประเภทโปรตีนให้มากค่ะเพราะเป็นสารอาหารสำคัญที่ลูกต้องนำไปใช้ ในการสร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ นอกเหนือจากนี้แล้วควรเน้นหรือลดอาหารประเภทใดต้องพลิกไปดูที่เรื่อง อาหารสมบูรณ์...หัวใจของสุขภาพ

ระวังเรื่องน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่เหมาะสมของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ ตลอดช่วง 9 เดือนนี้ควรขึ้นในระหว่าง 10-12 กิโลกรัม โดยในช่วง 3 เดือนแรกจะเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัม และช่วง 6 เดือนหลังอาจขึ้นเดือนละ 2 กิโลกรัม  

 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=24877
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น