วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คัดกรองเด็กดาวน์

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรศึกษาไว้
เหตุใดต้องตรวจคัดกรอง

ประเทศ ที่เจริญแล้วมักมีความพยายามลดปริมาณเด็กดาวน์ที่เกิดในประเทศ เพื่อลดภาระของประเทศและสังคมโดยรวม จึงมีความพยายามที่จะหามาตรการวินิจฉัยเด็กในครรภ์ให้ได้ก่อนคลอด เพื่อพิจารณายุติการตั้งครรภ์กรณีที่ทราบได้เร็วก่อนที่ทารกจะอยู่รอด หรือทราบเพื่อเตรียมตัวดูแลลูกเมื่อหลังคลอด แต่ถึงอย่างไรนั้นปัจจุบันยังไม่มีวิธีการแก้ไขภาวะเด็กดาวน์
ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ครับ 
วิธีการตรวจกรองเด็กดาวน์

การ ตรวจกรอง (Screening) เป็นเพียงการประเมินความเสี่ยงให้เฉพาะเจาะจงกับคุณแม่แต่ละคนครับ ซึ่งจะมีความจำเพาะกว่าการใช้ตัวเลขความเสี่ยงเฉลี่ยของอายุเป็นตัวแทนความ เสี่ยงเฉลี่ยของตัวเอง เช่น คุณแม่คนหนึ่งอายุ 30 ปี โดยเฉลี่ยความเสี่ยงที่คุณแม่คนนี้จะให้กำเนิดเด็กดาวน์อยู่ที่ประมาณ 1:900 (ดูตามตารางความเสี่ยงครับ) ซึ่งนี่คือความเสี่ยงเฉลี่ยของคุณแม่ที่อายุ 30 ปีจำนวนมาก แต่ว่าคุณแม่ที่อายุ 30 ปีแต่ละคนอาจมีความเสี่ยงมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้

การตรวจกรองโดย การเจาะเลือดแม่เป็นการปรับความเสี่ยงให้เป็นความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละคนครับ เช่นคุณแม่ที่อายุ 30 ปีท่านนี้ (ความเสี่ยงเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 1:900) แต่เมื่อตรวจกรองเลือดแล้ว ความเสี่ยงอาจเปลี่ยนเป็น 1:2000 ซึ่งอาจทำให้คุณแม่สบายใจขึ้น หรืออาจถูกเปลี่ยนเป็น 1:100 หลังจากตรวจแล้ว ซึ่งความเสี่ยงนี้เทียบเท่ากับความเสี่ยงของคุณแม่ที่มีอายุเท่ากับ 40 ปี ในกรณีหลังคุณแม่ท่านนี้จะได้รับคำแนะนำให้ตรวจน้ำคร่ำเพราะถือว่ามีความ เสี่ยงสูง แต่จะยังไม่ได้รับวินิจฉัยว่ามีทารกดาวน์ครับ

วิธีการ ตรวจโดยทั่วไปเป็นการตรวจสารชีวเคมี 3 ตัว ได้แก่ Alpha fetoprotein (AFP) , Unconjugated estriol (uE3) , Human chorionic gonadotropin ( hCG) ซึ่งมักเรียกว่า Triple test หรือ Triple screening (บางสถาบันอาจตรวจสารชีวเคมี 2 ตัวหรือ 4 ตัว ซึ่งก็เรียกว่า Double test หรือ Quadruple test ตามลำดับครับ ซึ่งจะให้ความไวในการตรวจจับเด็กดาวน์ต่างกันบ้างเล็กน้อย)

ช่วง เวลาที่เหมาะสมกับการตรวจน้ำคร่ำคือเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ16-20 สัปดาห์ โดยผลจะทราบหลังการตรวจ 1 สัปดาห์ การตรวจวิธีนี้มีความไวในการตรวจกรองเด็กดาวน์ประมาณร้อยละ 60-65 หมายความว่าหากมีแม่ที่อุ้มเด็กดาวน์100 คน ตรวจ Triple screening แล้ว ผลจะบอกว่ามีความเสี่ยงสูงและควรไปตรวจน้ำคร่ำต่อไปจำนวน 60-65 ราย ซึ่งในกลุ่มนี้จะทำให้ทราบว่ามีเด็กดาวน์ในที่สุด จะเห็นได้ว่าTriple screening จะไม่สามารถตรวจจับเด็กดาวน์ได้อีกร้อยละ 35-40 นอกจากนี้ ตัว test นี้ยังให้ผลบวกลวงร้อยละ 5 กล่าวคือ หากนำ test นี้ไปตรวจในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เด็กปกติ100 ราย test นี้จะบอกว่ามีความเสี่ยงต่ำเพียง 95 ราย และจะบอกว่ามีความเสี่ยงสูง 5 ราย ซึ่งใน 5 รายนี้ จะถูกแนะนำให้ไปตรวจน้ำคร่ำในที่สุด

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการนำวิธีการตรวจกรองในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์มาใช้โดยตรวจ hCG และ PAPP-A ( Pregnancy associated plasma protein-A) ทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10-13.6 สัปดาห์ วิธีนี้มีข้อดีกว่าวิธีเดิมอยู่บ้างตรงที่สามารถนำข้อมูลของการตรวจเลือดไป ใช้แปรผลร่วมกับการตรวจความหนาของหนังคอทารกในครรภ์โดยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มความไวในการตรวจกรองเป็นร้อยละ 90-95 โดยมีผลบวกลวงร้อยละ 5 เช่นเดิมครับ แต่เนื่องจากวิธีนี้ยังเป็นวิธีที่ใหม่อยู่ จึงยังไม่ได้แนะนำให้ใช้กันแพร่หลายอย่างวิธีดั้งเดิมครับ  


 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=12449
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น