วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อย่าให้ มดลูก ป่วย

คุณแม่ตั้งครรภ์ลองอ่านดูค่ะ

มดลูกของผู้หญิงเราจะโตขึ้นตามวัยค่ะ แต่ไม่ได้โตขึ้นเรื่อยๆ นะคะ เพราะเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็จะหยุดโต และมีขนาดประมาณ 1x2x3 นิ้ว (ขนาดประมาณลูกแพร์)มดลูกเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ มีเอ็นยึดไว้ให้ติดอยู่ในช่องท้องบริเวณอุ้งเชิงกราน
- ด้านหน้าของมดลูกติดกับกระเพาะปัสสาวะ
- ด้านหลังอยู่ใกล้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย โดยมีปากมดลูกหรือคอมดลูกยื่นเข้าไปในช่องคลอด
- ด้านนอกมีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อ มีการหดรัดตัวได้ ช่วงเวลาที่มีประจำเดือนแล้วรู้สึกปวด เนื่องจากมีการหดรัดตัว เกร็งตัว ของกล้ามเนื้อมดลูกค่ะ
- ส่วนด้านในที่เรียกกันว่าโพรงมดลูกนั้น ที่จริงไม่ได้เป็นโพรงนะคะ แต่จะมีเยื่อบุแนบชิดกันอยู่ภายใน

หาก จะพูดถึงหน้าที่โดยตรงของมดลูก มีเพียงหน้าที่เดียวคือสำหรับเลี้ยงลูก เมื่อตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวและเจริญเติบโตเป็นทารก มดลูกก็จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุครรภ์ของคุณแม่ค่ะ

ความเปลี่ยนแปลงของมดลูก
ความ จริงแล้วมดลูกไม่ได้มีกลไกอะไรในการทำงาน แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีฮอร์โมนมากระตุ้น เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ต่อมใต้สมองจะกระตุ้นรังไข่ ทำให้มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มมากขึ้น จนเยื่อบุที่อยู่ข้างในโพรงมดลูกหนาตัวมากขึ้น เมื่อครบรอบก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน หมุนเวียนเป็นรอบๆ ไป

การ เปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งคือวัยก่อนหมดประจำเดือน เพาะไม่มีฮอร์โมนมากระตุ้นอีกต่อไป มดลูกจะเหี่ยวและฝ่อลงไป แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเท่านั้นค่ะ

การ ตั้งครรภ์ คือ การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งของมดลูก เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มดลูกจะยืดขยายจากเดิมได้เป็นพันเท่าทีเดียวค่ะ คุณแม่อาจสงสัยว่า เมื่อมดลูกขยายเต็มที่แล้วขณะตั้งครรภ์ หลังคลอดมดลูกจะกลับมามีขนาดเท่าเดิมหรือไม่ คุณหมอบอกว่าจะกลับมามีขนาดเท่าเดิมค่ะ

เมื่อมดลูกป่วย
โอกาส ในการเกิดโรคต่างๆ ในมดลูกพบได้พอสมควรค่ะ โรคที่พบได้ เช่น เนื้องอก เนื่องจากตัวมดลูกเป็นกล้ามเนื้อ ก็อาจจะมีเนื้องอกขึ้นมาได้ เช่น เนื้องอกที่โตอยู่ในโพรงมดลูก อยู่ในเนื้อมดลูก โตออกมาข้างนอก หรือตัวมดลูกอาจโตขึ้นมาทั้งหมดก็ได้ค่ะ เรียกรวมๆ ว่า เนื้องอกของมดลูกซึ่งพบได้บ่อยกว่าโรคอื่นๆ ค่ะ สาเหตุนั้นยังไม่ทราบว่าเกิดเพราะเหตุใด และผู้ป่วยก็จะไม่ทราบว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ โรคนี้อาจแสดงอาการหรือไม่ก็ได้ อาการที่พบได้บ่อยก็คือ การมีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ บางรายเลือดออกมากจนซีดก็มี นอกจากนั้นอาจมีอาการจากการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยได้ เป็นต้น แต่หลายรายก็ไม่มีอาการใดๆ นอกจากมาตรวจแล้วจึงพบว่าเป็นโรค ส่วนการรักษาก็ต้องผ่าตัดค่ะ

เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ภาย ในโพรงมดลูกซึ่งมีเยื่อบุอยู่ก็สามารถเกิดโรคได้ค่ะ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ เพราะได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนนานเกินไป ยิ่งหนามากเลือดก็ยิ่งออกมาก แต่สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาหรือการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคค่ะ

กระบังลมหย่อน เกิด จากการที่เอ็นที่ยึดตัวมดลูกและกล้ามเนื้อเชิงกรานที่ยึดรั้งตัวมดลูก ยืดยานออก ทำให้เกิดสภาวะที่มดลูกเลื่อนต่ำลงมาจากต่ำแหน่งเดิม ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เวลาไอ จาม จะมีปัสสาวะเล็ดออกมา ก่อให้เกิดความรำคาญน่าดูซึ่งภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน นอกจากมดลูกจะเหี่ยวและฝ่อลงแล้ว เอ็นต่างๆ ที่ยึดมดลูกไว้ก็จะหย่อนยานลงบ้าง รวมทั้งขณะตั้งครรภ์มดลูกมีการขยายใหญ่ขึ้น ทำให้เอ็นที่ยึดมดลูกมีการยืดขยาย ดังนั้นถ้าตั้งครรภ์และคลอดลูกบ่อยๆ เอ็นก็จะหย่อนยานได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

การรักษา หากเอ็นหย่อนไม่มากคุณหมอจะผ่าตัดเฉพาะช่องคลอด ที่เรียกว่าผ่ารีแพร์ แต่ถ้าหย่อนมากๆ จนไม่สามารถซ่อมแซมได้ อาจต้องตัดทิ้งไปเลยค่ะ

มะเร็ง พบ ได้ทั้งที่ตัวมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก แต่พบไม่บ่อยนัก ส่วนมะเร็งที่ปากมดลูกซึ่งพบบ่อยกว่า มะเร็งต่างๆ เหล่านี้จะสามารถแพร่กระจาย และทำลายอวัยวะใกล้เคียง หรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายทางกระแสเลือดและระบบท่อน้ำเหลือง


 คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=11862
ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น