วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

Working Mom ฉลาดเลือกมื้อเที่ยง

เมนูที่เลือกมานี้เป็น Top 10 มื้อกลางวันของคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งรวบรวมจากความเห็นของคุณแม่ในเว็บบอร์ดของเราค่ะ
1. ก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น เย็นตาโฟ
+ กินก๋วยเตี๋ยวน้ำดีกว่ากินก๋วยเตี๋ยวแห้ง เพราะก๋วยเตี๋ยวแห้งมักจะคลุกน้ำมันปริมาณมากกว่า รวมไปถึงการเติมถั่วป่น ซึ่งนอกจากมีไขมันแล้วยังเสี่ยงต่อเชื้อราอัลฟาทอกซินด้วย
+ ลดซอสสีชมพูของเย็นตาโฟลงค่ะ เพราะซอสที่ใส่นี้เองที่อาจจะมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ด้วยกินมากไปไม่ดีต่อสุขภาพแม่ท้องค่ะ
+ หากกินชามเดียวยังไม่อิ่ม สั่งเป็นเกาเหลาเพื่อเน้นผักและเนื้อสัตว์ จะได้ไม่ต้องกินเส้นที่เป็นคาร์โบโฮเดรตเพิ่มอีก
+ ลดการปรุงรสก๋วยเตี๋ยวให้มีรสชาติจัดจ้านถูกปากแต่ระคายเคืองท้อง โดยเฉพาะน้ำตาลและน้ำปลางดไปเลยดีกว่า เพราะมีผลกับน้ำหนัก ความดันและไตได้
+ อย่ากินน้ำซุปมากนัก เพราะในน้ำซุปเป็นแหล่งรวมโซเดียม ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้


2. อาหารตามสั่ง ข้าวแกง
+ เลี่ยงกินข้าวที่ผัดคลุกเคล้าลงในกระทะ เช่น ข้าวผัดหรือข้าวกระเพราคลุก เพราะการผัดแบบนี้จะชุ่มไปด้วยน้ำมัน มีความเสี่ยงต่อการเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด
+ กำชับให้แม่ครัวผัดแบบแห้ง ใช้น้ำมันน้อย หรือทางที่ดีกินแบบราดข้าวจะดีกว่า
+ ข้าวราดแกง ให้แม่ค้าตักแห้งๆ เพื่อลดน้ำจากการผัดหรือน้ำแกงกระทิลง เพราะเป็นส่วนที่มีไขมันและน้ำตาลผสมอยู่มาก
+ เพิ่มโปรตีนด้วยการกินไข่ต้มแทนไข่ดาว หรือกินกับเกาเหลาที่มีลูกชิ้นและผักเสริม เพราะข้าวราดแกงหรืออาหารจานเดียว มักมีปริมาณผักและเนื้อสัตว์น้อยกว่าที่แม่ควรจะได้รับ


3. ราดหน้า
+ ลดปริมาณเส้นลง เพราะเส้นของราดหน้ามีส่วนประกอบของแป้งและใช้น้ำมันในการทำเส้น เรียกว่านอกจะได้รับแป้งแล้วยังได้น้ำมันมาด้วยค่ะ
+ ส่วนน้ำราดหน้า ก็มีแป้งเป็นส่วนประกอบ คุณแม่อาจจะเลือกราดน้ำเล็กน้อย และกินเฉพาะเนื้อสัตว์และผักมากกว่าเส้น
+ เลี่ยงเส้นราดหน้าประเภทบะหมี่หรือหมี่กรอบราดหน้า เพราะเป็นเส้นประเภททอด ของทอดกับแม่ท้องไม่ถูกกัน เพราะทำให้อ้วนได้ง่ายเชียว
+ เพิ่มผักในราดหน้าให้หลากหลายขึ้น


4. ส้มตำ ไก่ทอด ลาบหมู (เมนูอาหารอีสานยอดนิยม)
+ ส้มตำกินได้ แต่ลดรสชาติจัดจ้านลง ไม่ควรใส่ถั่วลิสง กุ้งแห้ง และเลี่ยงส้มตำปลาร้าหรือปูเค็มเพราะมีโซเดียมสูง ไม่เหมาะกับแม่ท้อง เพราะมีส่วนทำให้เกิดอาการบวมได้
+ ไก่ทอดหรือไก่ย่าง เลือกกินเฉพาะส่วนเนื้อ ลอกหนังไก่ออก เพราะบริเวณหนังไก่ย่างมีไขมันปริมาณมาก และไก่ทอดก็มีแป้งเยอะเช่นกันค่ะ ทางที่ดีควรลดน้ำจิ้มลง เพราะน้ำจิ้มนี่ล่ะค่ะเป็นแหล่งรวมน้ำตาลเลยทีเดียว
+ ลาบหมู คอหมูย่าง ส่วนใหญ่เพื่อความอร่อยแม่ค้ามักใช้หมูติดมันมาทำ ซึ่งจะทำให้คุณแม่ได้รับไขมันจากมันหมูที่ปนมาด้วย คุณแม่ควรบอกให้แม่ค้าเลือกใส่เฉพาะเนื้อหมูที่ไม่ติดมัน และทางที่ดีควรกินคู่กับผักสดจะดีกว่าค่ะ
Tips:
+ คุณแม่ควรกินคู่กับข้าวสวยมากกว่าข้าวเหนียว เพราะข้าวเหนียวมีความหนาแน่นกว่าข้าวสวย ด้วยปริมาณเท่ากันจะไดรับแป้งมากกว่าข้าวเหนียวหลายเท่า หากอยากกินคุณแม่ควรกินประมาณ 10 ก้อน (คำเล็กๆ) หรือไม่เกิน 1 กระติบเล็กค่ะ


5. สารพัดยำ
+ อย่าให้แม่ค้าปรุงเผ็ดมากเกินไป เพราะจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องอืด พานไม่สบายตัวได้
+ เลือกกินที่ปรุงสุกร้อนๆ หรือปรุงใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงจากพยาธิและเชื้อโรคต่างๆ
+ หากเป็นยำประเภทที่ใส่เส้น เช่น ยำวุ้นเส้น ยำเซี้ยงไฮ้ ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องกินคู่กับข้าวอีกเพราะมีคาร์โบไฮเดรตอยู่แล้ว


คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=22255

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

Fiber Lover

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้เรื่องนี้
เส้นใยอาหารเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์พืช ซึ่งอาจจะเปรียบได้รั้วหรือกำแพงของบ้าน โดยใยอาหารนี้เมื่อกินเข้าไปแล้วไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้ และไม่ให้พลังงานแต่อย่างใด แต่ก็มักมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของคุณๆ และเจ้าตัวเล็กมากมายเหลือเกิน

ไฟเบอร์ 2 สไตล์
ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นไฟเบอร์เหมือนกัน แต่เอาเข้าจริงเส้นใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา ก็ยังแบ่งเป็น 2 ชนิดแตกต่างกันค่ะ

ใยอาหารไม่ละลายน้ำ (Insoluble fiber)
ที่มีความสามารถในการอุ้มหรือดูดซึมน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณในกระเพาะอาหาร ทำให้เราอิ่มเร็วและอิ่มนาน และช่วยกระตุ้นลำไส้บีบตัวให้กากอาหารผ่านจากลำไส้เล็กไปสู่ลำไส้ใหญ่ได้เร็ว และยังดูดซับของเสียออกไปกับอุจจาระ
พบได้มากใน : รำข้าว ข้างซ้อมมือ ข้าวฟ่าง ข้าวโพด เมล็ดถั่วต่างๆ ผักและผลไม้บางชนิดที่แก่จัด

ใยอาหารละลายน้ำ (Soluble fiber)
มีลักษณะหนืด สามารถดูดซึมน้ำได้บ้าง แต่จะรวมตัวกับอาหารต่างๆ ในกระเพาะอาหาร เมื่อเข้าสู่ลำไส้จะทำให้ดูดซึมอาหารช้าลง อิ่มท้องนาน จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดได้ดี
พบได้มากใน : ผลไม้แทบทุกชนิดและธัญพืชที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต

เมนูมากไฟเบอร์ ... 3 ไตรมาส
1 - 3 months : อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียนในตอนเช้า อาหารเส้นใยสามารถช่วยได้ เพียงดื่มน้ำส้มคั้นสดๆ หรือน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ปั่นทั้งเนื้อลงไปด้วย กินคู่กับแครกเกอร์หรือขนมปังโฮลวีตกรอบไขมันต่ำ เพียงเท่านี้น้ำตาลจากผลไม้ที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวจากขนมปังก็สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ทันที ไม่ต้องผ่านการย่อย ส่วนแครกเกอร์เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน จะผ่านการย่อยและใช้เวลาในการดูดซึม ซึ่งจะไม่ทำให้ท้องว่างหรือร่างกายขาดน้ำตาลค่ะ

4-6 months : คุณแม่มักจะรู้สึกหิว และกินอาหารบ่อยขึ้นและมากขึ้น อาจดัดแปลงผักผลไม้และธัญพืชต่างๆ มาเป็นเมนู ซึ่งจะช่วยให้ยามท้องของคุณน้ำหนักไม่ขึ้นเกินพอดีไปด้วย

7-9 months : ช่วงใกล้คลอดคุณแม่จะรู้สึกอึดอัด เหนื่อยง่าย และมีอาการทางระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก ท้องอืด เนื่องจากเจ้าตัวน้อยตัวใหญ่ขึ้นจึงมากดทับลำไส้ใหญ่ทำให้ขับถ่ายไม่สะดวก จึงควรกินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง รวมทั้งน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของของเสียในร่างกาย

 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=20266
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

แม่ตั้งครรภ์กับการอาบน้ำ

เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จำนวนไม่น้อยเลยค่ะที่เคยได้ยินหรือแม้แต่ทำตามความเชื่อที่ว่า “ผู้หญิงท้องห้ามอาบน้ำตอนกลางคืนเพราะจะทำให้คลอดยาก” บางคนก็ทำตามเพราะขึ้นชื่อว่าความเชื่อมันคงต้องมีความจริงอยู่บ้าง แต่สำหรับบางคนโดยเฉพาะคุณแม่สมัยใหม่ด้วยแล้ว ถ้าจะให้เชื่อและทำตามแบบไม่มีเหตุผลก็คงยากใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเรามาทบทวนความเชื่อนี้ดูหน่อยดีกว่าคะว่าเพราะอะไรกันแน่
ความเชื่อเรื่องการอาบน้ำของคุณแม่ตั้งครรภ์มีอยู่แทบทุกภาค อย่างภาคอีสานห้ามอาบน้ำในตอนกลางคืนเพราะเชื่อว่าจะทำให้ถุงน้ำคร่ำหนา และเด็กจะคลอดยาก ส่วนภาคใต้เชื่อว่าจะได้แฝดน้ำ (ครรภ์ที่มีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้เด็กมีอาการพิการทางระบบประสาทได้) หรือเชื่อว่าจะทำให้คลอดลูกยาก ซึ่งในปัจจุบันนี้คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนก็ยังคงทำตามความเชื่อนี้อยู่เพราะไม่อยากให้ทารกได้รับอันตราย

เมื่อค้นความเป็นมาแล้ว ความเชื่อเรื่องการห้ามแม่ตั้งครรภ์ อาบน้ำในเวลากลางคืนเป็นความเชื่อที่ผิด ซึ่งต้องสืบสาวไปถึงสมัยก่อนที่ว่าบ้านเมืองเรายังไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ความมืดอาจจะทำให้แม่ตั้งครรภ์มองไม่เห็นทางพลาดตกบันได สะดุด ลื่นล้ม หรืออาจจะโดนสัตว์มีพิษอย่างงูหรือตะขาบกัดได้


ความเชื่อนี้จึงกลายเป็นอุบายทำให้แม่ตั้งครรภ์รีบน้ำก่อนพลบค่ำและอยู่แต่บนบ้านเพื่อให้ไม่ได้รับอันตรายนั่นเอง

แต่ในปัจจุบัน
ความเชื่อนี้ถูกลบล้างไปเยอะเนื่องจากมีผลการศึกษาแล้วว่าการอาบน้ำในตอนกลางคืนไม่ได้ทำให้คลอดลูกยากเหมือนอย่างที่คนโบราณว่าไว้ รวมไปถึงทุกบ้านมีไฟฟ้าทั่วถึง ห้องน้ำก็มักจะอยู่ชั้นเดียวกับตัวบ้าน ไม่ต้องลงบันไดไปอาบน้ำเหมือนสมัยก่อน พื้นห้องน้ำที่สามารถกันการลื่นล้มได้ รวมไปถึงอันตรายจากสัตว์พิษก็น้อยลง ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

แต่ถึงจะเข้าใจเหตุผลของอุบายใน
ความเชื่อนี้แล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ก็อย่าประมาทในการใช้ชีวิตนะคะ เพราะถึงแม้จะสามารถอาบน้ำในตอนกลางคืนได้ แต่ก็อย่าเผลออาบจนเพลิน หรือดึกดื่นจนไม่สบายเพราะเจ้าตัวน้อยในครรภ์จะไม่สบายตัวไปด้วยค่ะ

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=30655
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

สูตรเด็ด...บำรุงน้ำนม

นอกจากการคลอดลูกด้วยวิถีแห่งธรรมชาติแล้ว สิ่งที่คุรแม่ตั้งครรภ์ควรรู้การให้นมแม่แก่ลูกน้อยยังเป็น กระบวนการสำคัญและมีความหมายที่สุดอีกสิ่งหนึ่งที่คนเป็นแม่ไม่ควรพลาด แล้วรู้มั้ยล่ะ ว่าถ้าเลือกกินอาหารดีๆมีประโยชน์ถูกหลักแล้วล่ะก็ ช่วยเรียกน้ำนมแม่ได้ดีนักเชียว!
เพราะแม่ที่ให้นมลูกนั้น ร่างกายของคุณจำเป็นต้องการอาหารที่มีคุณค่าและ พลังงานอย่างมากไม่น้อยไปกว่าตอนตั้งครรภ์ คุณจึงต้องการกินอาหารที่ครบ 5 หมู่ กินให้ ครบทั้ง 3 มื้อ นอกจากนั้นยังควรมีอาหารว่างที่มีประโยชน์เพิ่มด้วย

และนอกจากอาหาร 5 หมู่ที่สำคัญโดยเฉพาะโปรตีนแล้วยังมีแร่ธาตุต่างๆอีกที่คุณ แม่ต้องการมากในช่วงให้นมลูก เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามิน รวมทั้ง น้ำที่แม่ ควรจะดื่มเยอะๆ เพราะช่วงเวลาที่ให้นมลูกร่างกายของคุณสูญเสียน้ำไปมากเหมือนกันค่ะ
เมนูบำรุงน้ำนม

แกงเลียงผักรวม : ตำกุ้งแห้งให้ละเอียด แยกพักไว้ ตำพริกไทยกับหอมแดงและกะปิ(1ช้อน ชา)เข้าด้วยกันตามด้วยกุ้งแห้งป่น ต้มน้ำให้เดือด ใส่เครื่องแกงลงไปคน ให้ละลาย ตามด้วยกุ้งสด และใส่ผัก(เห็ด ตำลึง ฟักทอง บวบ หัวปลี) ที่หั่นไว้ตามลงไป โดยเลือกใส่ผักที่สุกง่ายเป็นลำดับสุดท้าย ปรุงรสและโรยใบแมงลัก ก่อนยกขึ้น

น้ำขิง:
ใช้ขิงสดผ่าเป็นแว่นบางๆ 1 หยิบมือชงกับน้ำร้อนเดือดจัดๆปล่อยทิ้งไว้ ให้เย็น ผสมน้ำตาล 1-2 ช้อนชาดื่มบ่อยๆ

ไก่อบขิง: นำขิงแก่หั่นเป็นแผ่นบางๆทุบให้แหลก ต้มในน้ำเดือด(น้ำไม่ต้องเยอะ) จนน้ำเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม เติมน้ำมัน 2-3 ช้อนโต๊ะผัดต่อสักครู่ใส่ ไก่ลงไปคนให้เข้ากัน เติมเกลือแล้วปิดฝาทิ้งไว้ 20 นาทีรอให้น้ำงวด ยกขึ้น

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=17324
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ความเชื่อผิดเกี่ยวกับการตั้งครรภ์

ความเชื่อแต่โบร่ำโบราณ
เริ่มตั้งแต่พออยากจะมีลูกก็ต้องไปบนบานศาลกล่าวขอลูกกับหลวงพ่อหรือศาล เจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย พอกราบไหว้หลวงพ่อเสร็จก็คงสบายใจ รังไข่เลยทำงานดี ทำให้ ท้องสมใจ หลวงพ่อวัดนั้นก็เลยดังไม่รู้เรื่อง มีผู้คนไปกราบไหว้ขอลูกกันเป็นแถว ทั้งๆ ที่ตัวการที่ทำให้มีลูกสมใจก็คือสามีที่บ้านนั่นแหละครับ ไม่ใช่หลวงพ่อที่ไหนหรอก

บางรายเชื่อว่าถ้าได้ไปลอด
ท้องช้างแล้วจะมีลูกและอายุยืนยาวซะด้วย เกิดบังเอิญวันนั้นช้างตกมัน อารมณ์หงุดหงิด ก็เลยถูกช้างเหยียบแบนแต๊ดแต๋ อายุสั้นหมดโอกาสจะมีลูก แถมได้ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ มาดังเอาตอนตายนี่เอง

พอเริ่ม
ตั้งครรภ์คนโบราณก็ห้ามทำบาป เช่น ฆ่าสัตว์ ตกปลา และห้ามไปงานศพ เพราะกลัวจะทำให้จิตใจไม่สบาย เดี๋ยวลูกจะไม่แข็งแรง ตามต่างจังหวัดบางแห่ง พอเริ่มตั้งครรภ์ก็จะมีการทำพิธีผูกข้อมือด้วยด้ายหรือสายสิญจน์ โดยเชื่อว่าจะคุ้มครองลูกในท้องให้ปลอดภัย แคล้วคลาดจากภูติผีปีศาจและอันตรายทั้งปวง ปัจจุบันนี้ก็ยังพบได้พอสมควรที่ เวลามาคลอดมีสายสิญจน์หรือด้ายผูกข้อมือแม่มาด้วย
ความเชื่อเรื่องอาหารการกิน
เรื่องอาหารการกินสำหรับคนท้องก็มีความเชื่อแตกต่างกันไป บางแห่งห้ามกินเนื้อสัตว์และไข่ ถ้าคุณแม่เชื่ออย่างนี้ ลูกก็คงคลอดออกมาตัวเล็กนิดเดียว เพราะขาดโปรตีนซึ่งเป็นอาหารหลักที่ช่วยในการเจริญเติบโต บางคนก็เชื่อว่าถ้าอยากให้ลูกมีผิวขาวห้ามกินอาหารที่มีสีดำ เช่น เฉาก๊วย โอเลี้ยง เป็นต้น ผมเห็นแม่ค้าเฉาก๊วยในตลาดกินเฉาก๊วยทุกวัน ลูกก็ผิวขาวทุกคน ก็ทั้งพ่อและแม่เป็นคนจีนทั้งคู่ ยังไงๆ ลูกก็ต้องผิวขาวอยู่แล้ว แต่ถ้าพ่อแม่เป็นนิโกร ถึงจะดื่มนมสดทุกวันลูกก็ต้องผิวดำอยู่ดี สรุปก็คือจะดำหรือขาวอยู่ที่พันธุกรรมมากกว่าครับ

บางรายเชื่อว่าถ้าให้แม่ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนมากๆ จะทำให้ลูกมีผิวสวยและช่วยล้างไขตามตัวออกด้วย ความจริงไขตามตัวเด็กจะหลุดลอกออกไปเองเมื่อครบกำหนดคลอด แต่ถ้าเด็ก
คลอดก่อนกำหนดมากๆ จะมีไขขาวๆ ติดตามผิวหนังทั่วตัว เพราะไขยังไม่ทันหลุด ลอกก็คลอดซะก่อนแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำมะพร้าวสักหน่อย
ว่าด้วยสะดือ เพศ และเพศสัมพันธ์!

เรื่องเพศของลูกก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนอยากรู้ทั้งนั้น ในสมัยก่อนยังไม่มีเครื่องอัลตร้าซาวนด์ก็มีการทำนายเพศกันล่วงหน้าโดยการดูลักษณะของสะดือแม่ ถ้าสะดือหงายก็เป็นชาย สะดือคว่ำก็เป็นหญิง ปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อเรื่องนี้อยู่เยอะทีเดียวครับ ตอนลูกผมใกล้คลอด ผมยังพูดเล่นๆ กับภรรยาเลยว่าสงสัยลูกเราคงเป็นกระเทย เพราะสะดือของภรรยาแบนราบไม่คว่ำไม่หงาย ก็เลยกลายเป็นเพศกำกวม บอกไม่ได้ว่าจะเป็นเพศอะไร กันแน่

เรื่องเพศสัมพันธ์ก็เป็นอีกเรื่องที่สามีภรรยาจำนวนมากมีความเชื่อผิดๆ ว่าต้องงดเด็ดขาดหลังจาก
ตั้งครรภ์แล้ว เพราะอาจทำให้ลูกแท้งหรือพิการได้ ผลก็คือสามีแอบไปผ่อนคลายนอกบ้าน มีภรรยาน้อย หรือติดเอดส์มาก็ตอนภรรยาตั้งครรภ์นี่แหละ

ผมเจอคนไข้ที่มา
ฝากครรภ์หลายรายทีเดียวที่พอถามถึงสามีก็ได้รับคำตอบว่า พอตั้งครรภ์ได้ไม่นานสามีก็แยกทางกัน แล้วก็หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่แน่ใจว่าเพราะสาเหตุนี้หรือเปล่า...ที่จริงแล้ว การตั้งครรภ์ไม่ใช่ข้อห้ามสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ สามารถมีได้ตามปกติ เพียงแต่ควรปฏิบัติด้วยความนุ่มนวลและหลีกเลี่ยงการกดทับบริเวณมดลูกเท่านั้น

ท่าที่เหมาะสมที่ทางการแพทย์แนะนำก็คือสามีอยู่ด้านหลังภรรยา หรือภรรยาเป็นฝ่ายอยู่ด้านบน และควรงดในเดือนสุดท้ายก่อนคลอดเพราะภรรยาคงจะอึดอัดแน่น
ท้องมากแล้ว และเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด สำหรับในช่วงแรกถ้าภรรยามีอาการแพ้ท้องมาก ก็ควรงดเช่นกัน เพราะร่างกายกำลังอ่อนเพลียมากคงต้องการการพักผ่อนมากกว่า


ยาบำรุงทำให้อ้วน?

คุณแม่หลายรายเวลามาตรวจครรภ์ ผมถามว่ายาบำรุงหมดหรือยัง คำตอบที่ได้ก็คือยังเหลืออีกเยอะ แล้วก็เป็นอย่างนี้ทุกทีทั้งๆ ที่ผมก็ให้ยาไปนิดเดียว พอถามว่าทำไมถึงไม่กินยา ก็ได้รับคำตอบกลับมาว่ากลัวอ้วน เพราะเคยเห็นญาติที่มาฝากครรภ์กินยาบำรุงที่ หมอให้ไปแล้วอ้วนมาก ก็เลยเชื่อว่าคงจะอ้วนเพราะยาบำรุงแน่ๆ...

นี่ก็เป็นความเชื่อที่ผิดอีกเช่นกัน ยาบำรุงที่ได้รับตอน
ฝากครรภ์จะเป็นยาบำรุงจำพวกเหล็กและวิตามินที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ ช่วยทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงดีขึ้น เป็นผลดีต่อตัวคุณและทารกในครรภ์โดยตรง ไม่ได้ทำให้อ้วนแม้แต่น้อย แต่ที่เห็นอ้วนๆ กันนั้นเป็นผลมาจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายอมน้ำได้มากขึ้น เนื้อหนังจึงดูเต่งตึงกว่าปกติ นอกจากนี้คนท้องจะเจริญอาหาร ทำให้กินเก่ง กินบ่อย และนอนหลับง่ายขึ้น ก็เลยอ้วนได้ง่าย

เพราะฉะนั้นเวลามาฝากท้อง ยาบำรุงที่ได้รับมาต้องกินอย่างสม่ำเสมอนะครับ ถ้าไม่อยากอ้วนมากก็ใช้วิธีควบคุมอาหารเอาแล้วกัน

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=512
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

มื้อนี้มีดีที่แคลเซียม

คุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งหลายโปรดทราบ ถ้ารับประทานแคลเซียมในยามท้องไม่เพียงพอล่ะก็ อาจเกิดความผิดปกติกับกระดูกและฟันของคุณ รวมถึงเกิดอาการตะคริวกินได้บ่อยๆ ด้วยนะจ๊ะ พูดถึง แคลเซียม คุ้นหูกันดีอยู่แล้วค่ะ ว่าสารอาหารตัวนี้น่ะมีผลต่อกระดูกและฟันโดยตรง ไม่ว่าจะคนวัยไหนก็ต้องการสารอาหารตัวนี้ด้วยกันทั้งนั้น เพื่อใช้ในการช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง แต่จริงๆ แล้วสรรพคุณของเขายังไม่ได้หมดเพียงแค่นี้ แต่ว่าแคลเซียมนั้นยังช่วยต่อต้านโรคความดันโลหิตสูง อาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือน และมะเร็งลำไส้
สรรพคุณเยอะขนาดนี้ เรามาทำความรู้จักแคลเซียมกันแบบจริงๆ จังๆ ดีกว่าค่ะ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งท้องที่ต้องการแคลเซียมมากกว่าวัยไหนๆ เพราะมีเจ้าตัวน้อยอยู่ด้วยอีกคน

แคลเซียมสำคัญนะ
แคลเซียม ถือเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญม้ากมากค่ะ เพราะแคลเซียมทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในกระดูก ปกติร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เองนะคะ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับแคลเซียมอย่างพอเพียง

คุณๆ คงได้ยินจากโฆษณาบ่อยๆ อยู่แล้วว่านมและผลิตภัณฑ์จากนมมีแคลเซียมสูง บางยี่ห้อก็ปรุงแต่งผลิตภัณฑ์เพื่อการเสริมแคลเซียมไว้โดยตรงทีเดียว เพราะแคลเซียมนั้นนอกจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว แคลเซียม ยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบเหล่านี้ต้องอาศัย แคลเซียม ทั้งนั้นเลยนะคะ

ยิ่งตอนนี้แคลเซียมถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ เช่น ป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยให้ระบบประสาทคลายตัว ยังช่วยให้นอนหลับได้ง่าย และที่น่าจะถูกใจมากๆ ก็คือแคลเซียมช่วยชะลอความชราได้ด้วย เก๋กู้ดซะไม่มี

แม่ท้องกับแคลเซียม
เราพูดถึงแคลเซียมที่มีความสำคัญต่อคนทุกเพศทุกวัยไปแล้ว ทีนี้เรามาลงลึกในรายละเอียดสำหรับแม่ท้องกันหน่อยดีกว่าค่ะ ว่าแคลเซียมนั้นน่ะ เขาไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแม่ท้องอย่างไรบ้าง
คุณแม่ท้องทั้งหลายคะแคลเซียมนั้น นับได้ว่าเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณแม่ที่ตั้งท้องอยู่จำเป็นต้องได้รับ แคลเซียม มากกว่าคนธรรมดาทั่วไป เพราะเหตุว่ามีเจ้าตัวเล็กอยู่ในท้อง และแคลเซียมที่รับประทานเข้าไปนั้นจะไปช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์ และก็เป็นความจำเป็นอีกเช่นกันที่แม่ท้องจะต้องรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ เพียงพอในทีนี้คือทั้งคุณแม่และคุณลูกนะคะ มิเช่นนั้นจะมีความเสี่ยงสูงทีเดียวที่จะขาดแคลเซียมเพราะเมื่อขาดแคลเซียมแล้วจะเกิดอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย หรือเรียกแบบชาวบ้านคือ ตะคริวกินนั่นเอง โดยจะเป็นบริเวณน่องและจะเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก ทั้งนี้เป็นเพราะขาดแคลเซียมนั่นเอง มีการศึกษาเพิ่มเติมอีกด้วยค่ะว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นตระคริวมากถึงร้อยละ 26.8 และส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 25 สัปดาห์ และอาการดีขึ้นหากได้รับการเสริมแคลเซียม แม่ลออจึงขอสรุปว่าแคลเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นยิ่งต่อแม่ เพราะนอกจากจะช่วยให้พัฒนาการเติบโตของทารกในท้องครรภ์เป็นปกติแล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูกคุณแม่ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกระดูกหรือโรคกระดูกพรุน ในภายหลังได้ด้วยนะจ๊ะ

อาหารสร้างแคลเซียม
ไม่ใช่แค่ในนมหรอกนะคะที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เพราะถ้าเกิดว่ามีแต่ในนม คุณแม่ท้องบางคนรับประทานนมไม่ค่อยได้ก็แย่กันพอดี แม่ลออมีแหล่งอาหารอันอุดมไปด้วยแคลเซียมมาฝากกันค่ะ

นอกจากน้ำนมแล้วก็มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ไม่ว่าจะเป็น เนยแข็ง เนยเหลว ไอศกรีม ชีส

กระดูกหรือเปลือกของสัตว์ที่รับประทานได้ เช่น ปลากระป๋อง ปลาป่น ปลากรอบ กุ้งแห้ง กุ้งฝอยสด ปลาเล็กปลาน้อย
เนื้อสัตว์ก็ได้แก่อาหารจำพวก เนื้อปลาทั้งหลาย เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาชิชาโม ปลาแซลมอน ปลาคาวาซากิ

อาหารจำพวกผักที่มีแคลเซียมก็พวกผักใบเขียวต่างๆ อย่างเช่น คะน้า ผักกวางตุ้ง ใบหัวผักกาด ยอดสะเดา ยอดแค สาหร่ายทั้งหลาย มะขามฝักสด
และอาหารจำพวกเต้าหู้และถั่วต่างๆ
ยังไม่หมดค่ะ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ก็มีแคลเซียม แต่ว่ามีในระดับน้อยมากๆ ค่ะ

หลักในการรับประทานแคลเซียมให้ได้ครบนั้น มีข้อแม้สำหรับคุณแม่ท้องหน่อยนึงค่ะว่า ในแต่ละวัน ควรรับประทานอาหารหลายหมู่ หลายประเภท ไม่ควรรับประทานอาหารซ้ำซาก จะเป็นการป้องกันการขาดแคลเซียมได้ดีค่ะ

ถ้าแคลเซียม...ไม่พอ
ถ้าได้รับแคลเซียมไม่พอจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง อันนี้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะแม่ท้องนะคะที่ควรรู้ คนไม่ท้องก็สมควรจะต้องทราบเอาไว้เช่นกันจ้ะ
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นหากคุณได้รับแคลเซียมไม่พอ
- ประสาทไวเกินไป หงุดหงิดง่าย
- กระดูกทรุดโทรมลง ฟันผุง่าย ฟันจะมีคุณภาพต่ำ การเจริญเติบโตของกระดูกไม่ดี
- หัวใจอ่อนแอ หลอดเลือดไม่ปกติ
- เกิดภูมิแพ้ง่าย ปวดเอว
- เป็นโรคกระดูกบางในผู้ใหญ่ กระดูกอ่อนในเด็ก กระดูกหักง่าย
- เป็นตะคริว เป็นเหน็บ

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=30518
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

DHA ในนมแม่...ของดีที่ไม่ต้องเติม

 

DHA และ AA คืออะไร
DHA และ AA เป็นไขมันชนิดหนึ่งมีอยู่ในสารอาหารหลายอย่างที่เรากินกัน แต่แหล่งสำคัญและเป็นแหล่ง DHA ที่ดีที่สุดคือน้ำนมแม่  ดังนั้นคุรแม่ตั้งครรภ์ควรรู้

แหล่ง DHA และ AA ไขมันทั้งสองตัวนี้ได้จากการกินอาหารพวกไข่แดง ปลา สาหร่าย ฯลฯ และยังสามารถสังเคราะห์และสร้างได้จากไขมันพวก Linoleic acid และ Linolenic acid แต่ DHA และ AA ที่ร่างกายสร้างจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่ดีเท่าตัวที่เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นในทารกแรกเกิด การได้กินนมแม่จึงมีความแตกต่างจากเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ ซึ่งพบว่าเด็กที่กินนมแม่มีปริมาณ DHA และ AA หรือไขมันที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองและสายตา
ดังนั้นถ้าหากลูกกินนมแม่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องกิน DHA และ AA เพิ่ม เพราะทุกอย่างถูกปรับให้เพียงพอกับความต้องการของลูกอยู่แล้ว แต่ควรดูแลเรื่องอาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินดี และวิตามินบี 12 (ในนมแม่มังสวิรัติ)


เรื่องน่ารู้เพื่อน้ำนมคุณภาพ1. ภาวะสุขภาพหรือการกินอาหารของคุณแม่ เกือบจะไม่กระทบต่อคุณภาพและปริมาณน้ำนมเลย ถ้าคุณแม่ไม่ได้อยู่ในภาวะขาดอาหาร

2. แม่ที่น้ำหนักขึ้นน้อยหรือเกือบจะไม่ขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ มักมีปริมาณน้ำนมน้อยและปริมาณไขมันในน้ำนมน้อยกว่าแม่ที่มีน้ำหนักขึ้นตามปกติ คือประมาณ 10 กก. ตลอดการตั้งครรภ์ และในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ส่วนใหญ่จะมีการสะสมไขมันประมาณ 2-4 กิโลกรัม

3. ควรหลีกเลี่ยงการเสริมด้วยวิตามินเอ เพราะอาจมีภาวะที่มากเกินไปได้

4. ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่

5. ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ หมายถึงการดื่มน้ำที่ตอบสนองการกระหายน้ำ ไม่จำเป็นต้องดื่มมากเป็นพิเศษ

6. การควบคุมน้ำหนักหลังคลอดควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป และไม่ควรงดอาหาร แต่ควรปรับเปลี่ยนลักษณะอาหาร ลดน้ำตาล ไขมัน ออกกำลังกาย ไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักลดลง เกินกว่าสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม

7. การกินโดยเป็นนิสัย ไม่ใช่กินเพื่ออิ่มท้อง มักทำให้กินจุบกินจิบ และทำให้มีน้ำหนักสะสมมากขึ้นและยิ่งเป็นปัญหาเมื่อลูกหย่านม

8. ควรลดการกินอาหารประเภทไขมัน พวกที่เป็นมันแข็ง เช่น มันหมู และกินอาหารที่มีกากใยมากขึ้น
สิ่งสำคัญที่น้ำนมแม่มีให้แก่ลูกน้อยนอกเหนือจากสารอาหาร คือมีน้ำย่อยไขมัน น้ำย่อยน้ำตาล ที่ช่วยทำให้ลูกย่อยสลายไขมันและน้ำตาลได้ดี มีกากซึ่งเป็นประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารและการขับถ่าย มีภูมิคุ้มกันและเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถให้ลูกนำไปใช้ปกป้องและสร้างเสริมตัวเอง

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=11515
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

แม่ท้อง vs ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

ผลข้างเคียงต่อแม่ตั้งครรภ์
นอกจากนี้มีการรายงานผลข้างเคียงของการตั้งครรภ์ตามหลังการระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดยมีอัตราการเพิ่มของการแท้ง และการคลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอาการปอดอักเสบ ซึ่งหลายรายงาน รวมทั้งการศึกษาจากระบาดวิทยาก็บ่งชี้ว่า การตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อมารดาและทารก รวมทั้งผลข้างเคียงจากการคลอด คุณแม่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มักจะมีอาการของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เฉียบพลัน เช่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ อาการอื่นที่พบร่วม ได้แก่ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ เพลีย อาเจียน และท้องเสีย ซึ่งอาการป่วยจะเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว

ถ้าสงสัยว่าจะติดเชื้อ
ในสตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ต้องได้รับการตรวจเชื้อว่าเป็นหรือไม่ การรักษาควรทำให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องรอผล Lab เนื่องจากการให้ยาต้านไวรัสยิ่งเร็วยิ่งได้ผลดี (โดยเฉพาะในช่วง 2 วันแรก) การตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ต้องใช้เวลาหลายวัน แพทย์ผู้ทำการรักษา จึงควรให้การรักษาในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการไข้หวัดใหญ่ได้เลย โดยเชื้อตัวนี้ยังตอบสนองต่อ Zanamivir (Relenga) และ Oseltamivir (Tamiflu)

การใช้ยา
การตั้งครรภ์ไม่ใช่ข้อบ่งห้ามในการใช้ยา Oseltamivir หรือ Zanamivir ซึ่งยาเหล่านี้ก็ถูกแนะนำให้ใช้ในคนไข้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ผลข้างเคียงจากยาในคนไข้ตั้งครรภ์ไม่มีรายงานชัดเจน โดยการรักษาสำหรับคนตั้งครรภ์คือการใช้ยา Oseltamivir ซึ่งจะแนะนำให้ใช้ 5 วัน โดยไม่ต้องรอผลการตรวจเชื้อไวรัส ควรเริ่มยาทันทีที่มีอาการของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งผลที่ได้จะมีประโยชน์มากถ้าเริ่มใช้ยาภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการ
อย่างไรก็ตามแม้เวลามากกว่า 48 ชั่วโมง โดยเฉพาะกลุ่มคนไข้ที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สัมผัสอย่างใกล้ชิดกับคนที่สงสัย หรือมีการยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่นี้ อาจใช้ยา Oseltamivir วันละ 1 เม็ด เป็นเวลา 10 วัน
อาการไข้สูง ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงเป็น 2 เท่าของความผิดปกติของการเจริญเติบโตของระบบประสาทในทารก และอาจพบความพิการแต่กำเนิดบางอย่างได้
การให้ยาแก้ไข้รวมทั้งวิตามินที่มี folic acid จะช่วยได้ โดยอาการไข้จะทำให้มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น อาการชัก สมองผิดปกติ จนถึงทารกตายในครรภ์ โดยเกิดจากอาการไข้ ซึ่งสามารถใช้ยากลุ่ม Paracetamol ได้


คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=28137

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ภูมิแพ้ของแม่ตั้งครรภ์ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่มีปฏิกิริยาไวมากผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์รู้หรือไม่ว่า สามารถป้องกันไม่ให้อาการถูมิแพ้กำเริบได้ระหว่างตั้งครรภ์
อาการภูมิแพ้กับแม่ตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งอาจจะเป็นผลให้อาการของโรคภูมิแพ้แตกต่างไปจากก่อนตั้งครรภ์ จากการศึกษาในผู้ป่วยโรคหืด พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วย จะมีอาการทุเลาลงในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งมักพบในรายที่ควบคุมโรคได้ดีมาก่อนตั้งครรภ์ ส่วน 1 ใน 3 มีอาการเหมือนก่อนตั้งครรภ์ และอีก 1 ใน 3 มีอาการกำเริบมากขึ้น ซึ่งมักจะพบกับคุณแม่ที่ไม่ได้ควบคุมให้ดีก่อนการตั้งครรภ์
เพราะฉะนั้น การควบคุมโรคให้ดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ จะส่งผลดีถึงในช่วงตั้งครรภ์ด้วยค่ะ ส่วนช่วงอายุครรภ์ 24-36 สัปดาห์ ที่อาการมักจะกำเริบบ่อย รวมถึงระหว่างการคลอดที่คุณแม่มักกลัวว่าจะมีอาการหอบระหว่างคลอด พบว่ามีอาการกำเริบแค่ 1 ใน 10 เท่านั้น

ยาบรรเทาภูมิแพ้กับแม่ตั้งครรภ์
สำหรับยาที่ใช้กับแม่ตั้งครรภ์นั้น มีการออกกฎไว้อย่างเข้มงวด เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค และยังมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง หากยาใดมาพบภายหลังว่าให้โทษต่อร่างกายก็จะถูกสั่งเพิกถอนตำรับยา ห้ามจำหน่าย และด้วยการควบคุมอย่างเข้มงวดนี้เอง ทำให้คุณหมอมีความมั่นใจในการใช้ยามากกว่าการใช้อาหารเสริมหรือสมุนไพร ซึ่งไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มงวดเท่ายาค่ะ
ดังนั้น การจะใช้ยาใดๆ ในสตรีมีครรภ์ จึงต้องพิจารณาผลดี ผลเสีย ความเสี่ยงของยาก่อนเสมอ และจะใช้ก็ต่อเมื่อมีผลดีเหนือความเสี่ยง ในการสั่งยาให้สตรีมีครรภ์แพทย์จึงอาจต้องขอเปิดตำรา เพื่อดูว่ายาที่ต้องการสั่งให้ใช้นั้นจัดอยู่ในระดับความปลอดภัยระดับ A และ B หรือไม่

สำหรับยาพ่นสูดสำหรับโรคหืดนั้น ส่วนใหญ่สามารถใช้ได้ โดย Budesonide มีความปลอดภัยระดับ B คือเป็นยาที่มีความปลอดภัยจากการศึกษาในสัตว์ทดลองที่ตั้งครรภ์ แต่ไม่มีการศึกษาทดลองในมนุษย์ หรือเป็นยาที่มีผลต่อสัตว์ทดลอง แต่จากการศึกษาในมนุษย์ ไม่พบความผิดปกติของทารก ยาภูมิแพ้ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น Chlorpheniramine, Loratadine, Ceterizine, Budesonide และการจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับประวัติและผลการรักษาด้วยยานั้นตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ด้วยค่ะ ยาพ่นจมูกที่ใช้ในโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ โดยทั่วไปมักปลอดภัย ยกเว้นยาพ่นหรือยาหยดเพื่อแก้อาการคัดจมูกที่ไม่ควรใช้เกิน 7 วัน

ดูแลตัวเองให้ห่างไกลภูมิแพ้
สำหรับคุณแม่ Working Mom ที่ต้องทำงานในห้องแอร์ และต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ย่อมเสี่ยงต่อสารกระตุ้นที่จะทำให้อาการของโรคภูมิแพ้กำเริบได้ง่ายๆ หัวใจสำคัญของการรักษาโรคภูมิแพ้ คือ
- เลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ โดยเฉพาะสารที่คุณแม่แพ้ ซึ่งสามารถทราบได้แน่ชัดจากผลการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy Skin Test)
- หลีกเลี่ยงสารที่เป็นมลพิษต่อระบบทางเดินหายใจด้วย เช่น ควันบุหรี่ ควันธูป ควันท่อไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง สเปรย์ต่างๆ แต่หากแพ้ละอองเกสร หากเป็นฤดูที่มีละอองเกสรปลิวมากในอากาศ การอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศจะดีกว่าอยู่ภายนอก
- ใช้หน้ากากอนามัย เมื่อต้องอยู่ในที่อากาศไม่บริสุทธิ์ เช่น ริมถนน ที่มีฝุ่นละออง ที่มีฝูงชนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับสารก่อภูมิแพ้ มลพิษ และเชื้อโรค
- เลือกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสารก่อภูมิแพ้ต่ำ เช่น ดูแลเรื่องการป้องกันไรฝุ่น ไม่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้าน

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=30024
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

เตรียมพร้อมรับมือรูปร่างเปลี่ยน

ใดใดในโลกล้วนเปลี่ยนแปลง รวมถึงร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วยค่ะ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนที่สุด 3 ส่วนด้วยกันค่ะ คือ เต้านม ขนาดท้อง และน้ำหนัก เหล่านี้เปลี่ยนแปลงเพราะอะไร และจะรับมือกับการเปลี่ยนทางรูปร่างนี้อย่างไร
* * * * * * * * * *
เต้านมขยายใหญ่

ไตรมาสที่ 1 : ช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่จะรู้สึกคัดตึงที่เต้านม เพราะมีเลือดคั่งบริเวณเต้านม ซึ่งถ้าสังเกตจะเห็นว่ามีเส้นเลือดใต้ผิวหนังเป็นร่างแหสีเขียว ขณะที่ฐานหัวนมจะดำและเกิดตุ่มเล็กๆ โดยรอบเรียกว่า “ตุ่มมอนต์โกเมอรี” (Montgomery)
ไตรมาสที่2 : เต้านมเริ่มมีไขมันสะสม มีต่อมและท่อส่งน้ำนม และขนาดของเต้านมจะค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้น
ไตรมาสที่ 3 : ในช่วงนี้เต้านมจะขยายใหญ่มากกว่าในช่วงแรกค่ะ เพื่อนคุณแม่ดาด้าบางคนชื่นชอบหน้าอกหน้าใจตัวเองมาก เพราะเต้านมเต่งตึงและดูมีน้ำมีนวลมากกว่าที่เคยเป็นมา นั่นเพราะเต้านมเริ่มผลิตน้ำนมออกมาเพื่อเตรียมรับลูกน้อยที่กำลังจะคลอดนี้เองค่ะ

Prepare for your Shape
ตลอดการตั้งครรภ์ขนาดหน้าอกคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 ไซซ์ (คุณแม่บางคนอาจจะมากกว่านี้) คุณแม่อย่าลืมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของขนาดหน้าอกนะคะ

เลือกชุดชั้นในที่เหมาะ
+ ควรเริ่มเปลี่ยนชุดชั้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ประมาณสัปดาห์ 10-12 เป็นต้นไป เพราะเป็นช่วงที่เต้านมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว
+ เลือกโครงสร้างชุดชั้นในแบบรูปทรงกระเช้า เพื่อรองรับส่วนเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้น สายบ่ากว้างเพื่อกระจายน้ำหนักได้ดีกว่า สำหรับคุณแม่ที่หน้าอกใหญ่ ไม่ควรเลือกชุดชั้นในสายเล็กเพราะจะกดทับไหล่และทำให้ปวดหลัง
+ เลือกแบบที่มีตะขอหลังที่สามารถปรับได้หลายระดับ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ประหยัดกรณีที่คุณแม่อ้วนขึ้น
+ เมื่อทดลองสวมชุดชั้นในแล้วสามารถเก็บเต้านมได้หมด แนวเสื้อราบกับลำตัวพอดี ไม่ถูกดึงรั้งให้สูงขึ้นไป
+ หากซื้อชุดชั้นในช่วงไตรมาสที่ 3 คุณแม่อาจจะเลือกซื้อแบบที่เปิดฝาด้านหน้าเผื่อไว้ในช่วงหลังคลอดที่ต้องให้นมเลยก็ได้นะคะ

ดูแลเต้านม
หากรู้สึกคัดตึงที่เต้านมอย่าเกาหรือใช้มือกดเค้นที่เต้านมอย่างรุนแรงนะคะ เพราะจะทำให้เต้านมอักเสบ แต่ควรดูแลเต้านม ด้วยวิธีต่อไปนี้
+ ใช้น้ำอุ่นประคบเต้านมเพื่อช่วยบรรเทาอาการคัดตึง
+ หมั่นทาครีมที่เต้านม เพราะเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้นนั้น อาจจะทำให้ผิวบริเวณเต้านมแตกลาย
+ บริหารเต้านมเพื่อคงความกระชับ ด้วยการยืนหันหน้าเข้าหาผนัง ระยะห่าง 1 ช่วงแขนโดยมือทาบบนผนัง ขณะหายใจเข้าให้งอศอกกดลำตัวเข้าชิดผนัง จากนั้นหายใจออกแล้วยืดแขนจนสุดดันตัวเองออกจากผนัง คล้ายท่าซิตอัพแต่เป็นท่ายืน ทำประมาณ5-10ครั้ง จะช่วยกระชับกล้ามเนื้อบริเวณเต้านมได้
+ ส่วนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์หากรู้สึกตัดตึงเพราะเต้านมเริ่มผลิตน้ำนมแล้ว คุณแม่สามารถใช้นิ้วคลึงที่บริเวณลานนมเบาๆ เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันหัวนมบอดได้

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=28518
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

รับมือ...ผื่นหน้าร้อน

คุณแม่ตั้งครรภ์จะดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดจากผดผื่นที่มามาพร้อมกับหน้าร้อนปีนี้ เรามีวิธีรับมือมาฝาก

หน้าร้อนร้อนจัดขึ้นทุกปี ประเทศในเขตร้อนอย่างบ้านเราโดยเฉพาะใน 10 กว่าปีที่ผ่านมาที่ฤดูกาล 3 ฤดู แทบจะเปลี่ยนไปเป็นฤดูร้อน ร้อนมากและร้อนที่สุด ก็คงอยู่ในข่ายผลกระทบนี้อย่างแน่นอน

ผื่นหน้าร้อน (HEAT RASH หรือ PRICKLY HEAT) หรือที่บ้านเราเรียกว่า "ผด" นั่นเอง เกิดจากต่อมเหงื่ออุดตัน ขณะระบายความร้อนออกทางเหงื่อ ปลายท่อของต่อมเหงื่อจะบวมจากความร้อนชื้นจนเกิดการอุดตันและเกิดเป็นตุ่มแดงเล็กๆ ถ้าเป็นมากก็จะเป็นปื้นขนาดใหญ่ และมีตุ่มใสได้ มักเกิดบริเวณอับชื้น เช่น คอ หน้าอก ใต้ราวนมตรงขอบเสื้อยกทรง ข้อพับ บริเวณข้อศอก เข่า และขาหนีบ จะไม่ค่อยมีอาการคัน มักจะแสบระคายเคืองมากกว่าและมักจะหายไปได้เองภายใน 3-4 วัน


ผดผื่น VS คุณแม่
คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะขี้ร้อนมากกว่าคนทั่วไป และมีเหงื่อออกง่ายและมากกว่าปกติ สาเหตุเกิดจากการเผาผลาญในร่างกายเพิ่มขึ้นจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ร่วมกับการสันดาปพลังงานในการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์อย่างรวดเร็วตลอดเวลา จึงเกิดผดผื่นคันได้ง่ายอยู่แล้วในบริเวณต่างๆ ดังกล่าวทั้งที่อากาศไม่ได้ร้อนจัด คุณแม่ตั้งครรภ์จึงต้องเตรียมตัวในการรับมือกับการเกิดผื่นในหน้าร้อนนี้ไว้ เพราะถ้าอากาศร้อนจัดและร้อนเป็นเวลานานๆ ผดธรรมดาอาจกลายเป็นผดหนองรุนแรงได้


ขาดน้ำ...อันตราย
ผลของอากาศร้อนจัดต่อร่างกายที่อันตรายมากกว่า ผดผื่น ก็คือการเสียน้ำและเกลือโซเดียมไปกับเหงื่อในปริมาณมาก จนเกิดอาการบวมตามมือ ขา เท้า และข้อเท้า อาการตะคริวที่กล้ามเนื้อ แขนขา และหน้าท้อง และถ้ารุนแรงมากจะมีอาการอาเจียนอ่อนแรง ปวดศีรษะ กระสับกระส่ายและเป็นลมได้ ที่รุนแรงที่สุดซึ่งมักพบในนักกีฬากลางแจ้ง หรือผู้ที่เสียเหงื่อต่อเนื่องนานๆ แล้วดื่มน้ำเปล่าชดเชยทันทีในปริมาณมาก แต่ขาดเกลือโซเดียม จะเกิดอาการสมองบวม ชักและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ซึ่งฟังดูไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ออกนอกอาคารบ่อยหรือเดินทางบ่อย จึงควรที่จะระมัดระวังการเสียเหงื่อ ขาดน้ำและเกลือโซเดียมในช่วงหน้าร้อนนี้ไว้ให้ดี


8 เทคนิค...คุณแม่รับร้อน
สำหรับข้อแนะนำในการเตรียมตัวรับมือกับอากาศร้อนจัดก็มีดังนี้คือ
1. ดื่มน้ำรวมเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น น้ำผลไม้ นม ให้ได้ 8-10 แก้วต่อวัน
2. เลี่ยงแดดให้มากที่สุด กางร่มทุกครั้งเมื่อออกแดด โดยเฉพาะคุณแม่ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ และยาลดความดันโลหิตจะไวต่ออันตรายจากแสงแดดได้มากกว่าปกติ
3. เลือกเสื้อผ้าที่สวมสบาย บางเบา ซับเหงื่อ สีอ่อน แขนกุดหรือสั้น รวมถึงชุดชั้นในที่ไม่รัดตรึงราวนมและขาหนีบ รวมถึงขณะอยู่บ้านอาจเลี่ยงการสวมชุดชั้นใน
4. ก่อนออกจากบ้าน ทาครีมกันแดด ขนาด SPF 15 ก่อนล่วงหน้า 30 นาที ทาเฉพาะบริเวณที่จะถูกแดด และสวมแว่นตาดำเสมอ
5. หลีกเสี่ยงการใช้เมคอัพและครีมทาตัวที่เหนอะหนะ ล้างหน้าและอาบน้ำบ่อยๆ เพื่อให้ผิวได้หายใจ ต่อมเหงื่อจะไม่อุดตัน
6. ไม่ถูสบู่หรือฟอกบริเวณที่เป็นผื่น และเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นเพื่อไม่ให้ระคายเคืองเพิ่มมากขึ้น
7. ถ้าผมยาวควรจะรวบผมให้เกล้าขึ้นไปพ้นคอ ใบหน้า หรือตัดผมสั้นที่ดูแลได้ง่าย เพื่อที่จะสระผมได้ทุกวัน
8. งดเครื่องประดับที่ทำจากนิเกิล เช่น ตุ้มหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ เพราะพบว่ามีผู้แพ้นิเกิล(NICKEL RASH) มากถึงร้อยละ 40 ใน 5 ปีที่ผ่านมา และมักจะแพ้รุนแรงขึ้นในช่วงหน้าร้อน

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=20465
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

เป็นไปได้ไหม อยากได้ลูกแฝด

เดี๋ยวนี้คนมีลูกแฝดสามแฝดสี่มีให้ได้ยินบ่อยๆ เป็นไปได้ยังไง

สถิติโลกก็คือแฝดเจ็ด เป็นไปได้ยังไงนะ?

โดยปกติแล้วโอกาสที่จะมีลูกแฝดตามธรรมชาติใช่ว่าจะมีกันได้ง่ายๆ เรียกว่า 1 ในร้อยทีเดียว มักจะเป็นกรรมพันธุ์ ซึ่งทางฝ่ายคุณแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสมากกว่าทางคุณพ่อ และคุณแม่อีกล่ะค่ะที่มีบทบาทสำคัญ ถ้าคุณแม่เป็นคนสมบูรณ์แข็งแรง ในแต่ละรอบเดือนตกไข่มากกว่า

แฝดเหมือน
ในบรรดาท้องแฝดตามธรรมชาติ มีโอกาสจะได้แฝดเหมือนมากกว่าแฝดไม่เหมือนเกิดจากการผสมของไข่ใบเดียวกับอสุจิตัวเดียว แต่บังเอิญแบ่งตัวออกเป็นสอง แฝดเหมือนจะมีเพศเดียวกัน รูปร่างหน้าตาเหมือนกันทุกอย่างแม้แต่ลายมือลายเท้า มีกรุ๊ปเลือดเดียวกัน



แฝดไม่เหมือน มักเกิดจากคุณแม่อายุมาก คุณแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรง มีการตกไข่ครั้งละมากกว่า 1 ฟอง ทำให้เกิดการผสมของไข่กับอสุจิมากกว่า 1 คู่พร้อมๆกัน แฝดไม่เหมือนอาจจะเป็นคนละเพศ รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=23226

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ป้องกันเจ้าวายร้ายชื่อ...เชื้อรา

คุณผู้หญิงหลายคนอาจเคยมีอาการคันยุบยิบบริเวณจุดซ่อนเร้น บางคนอาจจะพบเจอกับอาการตกขาวผิดปกติด้วย นี่ถือเป็นสัญญาณของการเป็นเชื้อราในช่องคลอดค่ะ   คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรจะศึกษาไว้น่ะค่ะ
เหตุเกิดเพราะความไม่สมดุล
ในร่างกายเราจะมีทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียอยู่ ซึ่งโดยปกติเชื้อราและแบคทีเรียจะสมดุลกัน ทำให้เชื้อราสงบไม่เจริญเติบโต เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามที่ไปทำให้ความสมดุลของเชื้อรากับเชื้อแบคทีเรีย หรือสิ่งแวดล้อมในช่องคลอดเปลี่ยนแปลงไป อะไรก็ตามที่ทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดน้อยลงเชื้อราในช่องคลอดก็มักจะเจริญมากขึ้น

ดูแลตัวเองให้ห่างไกลเชื้อรา
เชื้อราในช่องคลอดไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็เป็นเรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับคุณผู้หญิง ที่นอกจากจะส่งผลถึงสุขภาพและอนามัยแล้ว ยังส่งผลต่อบุคลิกภาพที่คงจะไม่ดีแน่ๆ ถ้าคุณเกิดอาการคันในร่มผ้าในที่สาธารณะ ฉะนั้นป้องกันไว้ก่อนเป็นดีที่สุด ดังนั้นจึงมีวิธีการดูแลตัวเองเพื่อให้คุณปลอดจากอาการอันไม่พึงประสงค์ให้หงุดหงิดใจมาให้ค่ะ
1.ขจัดความอับชื้น
1.ขจัดความอับชื้น
2.ความสะอาดแต่พอดี 
3.ลดของหวาน
4.ระวังการกินยา

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=28198

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ช็อกโกแลตซีสต์...บุก

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้
ความผิดปกติของมดลูกกับผู้หญิง เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยๆ ช็อกโกแลตซีสต์...เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถพบได้ และอาจเป็นที่มาของอาการต่อไปนี้...

ช็อกโกแลตซีสต์ คืออะไร
ช็อกโกแลต ซีสต์ หมายถึง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือไปเกาะและเจริญอยู่นอกบริเวณภายในโพรงมดลูก เมื่อไปเกาะแล้วก็โตต่อไปได้ เริ่มจากจุดสีดำเล็กๆ หลังจากนั้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้นๆ รวมกันเป็นถุง ซึ่งข้างในเต็มไปด้วยเลือดค่ะ

กล้ามเนื้อมดลูกของผู้หญิงเรานั้นแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นในสุดประกอบด้วยเนื้อเยื่อบางๆ เรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามรอบประจำเดือน คือช่วงต้นของรอบประจำเดือน ในระหว่างที่มีการตกไข่ รังไข่จะมีการผลิตไข่รวมทั้งผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะมากระตุ้นทำให้เยื่อบุหนาตัวขึ้น

หลัง จากไข่ตกแล้ว คอปัสลูเตียมที่รังไข่จะผลิตโปรเจสเตอโรนมากระตุ้นให้เยื่อบุที่หนาตัวนี้ มีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ดังนั้นหากไม่มีการตั้งครรภ์เยื่อบุเหล่านี้ก็จะลอกออกมาเป็นประจำเดือน ซึ่งไม่ได้มีสีสดเหมือนเลือดที่ไหลออกมาเวลาเป็นแผล เนื่องจากเลือดประจำเดือนเป็นเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกที่ลอกออกมานั่นเอง ค่ะ

สาเหตุ...ช็อกโกแลตซีสต์
เมื่อ เยื่อบุลอกออกมาเป็นประจำเดือนก็จะไหลอยู่ในโพรงมดลูก โดยมดลูกจะบีบตัวให้ประจำเดือนไหลลงข้างล่างผ่านทางช่องคลอดออกมานอกร่างกาย แต่บางครั้งก็ไม่ได้เป็นไปตามปกติเช่นนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ โดยเชื่อว่ามี 4 สาเหตุคือ

1. เกิดจากการไหลย้อนกลับของเยื่อบุโพรงมดลูก คือบางจังหวะที่มดลูกบีบตัวแทนที่ประจำเดือนจะไหลลงข้างล่างอย่างเดียวก็ไหล ย้อนกลับออกทางปลายท่อนำไข่ และไปเกาะตามบริเวณต่างๆ ของช่องท้อง รวมทั้งยังอาจไปเกาะที่ผนังมดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ผนังลำไส้ หรืออาจไปเกาะที่กระเพาะปัสสาวะก็ได้ค่ะ

2. เกิดจากการไหลไปตามเส้นเลือดหรือหลอดน้ำเหลือง บางครั้งพบว่ามีเยื่อบุโพรงมดลูกไปเกาะอยู่ตามชายปอดซึ่งอยู่ไกลจากมดลูกมาก จึงเชื่อว่าอาจจะไหลไปตามเส้นเลือด แต่สาเหตุนี้มีคนเชื่อถือน้อยเพราะพบไม่บ่อยหรอกค่ะ

3. เกิด่จากความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยเชื่อว่าเกิดจากการเจริญเติบโตของเยื่อบุที่เกิดความผิดปกติขึ้นเอง เช่น เนื้อเยื่อที่จะแยกไปเป็นผิวหนังหรือส่วนต่างๆ โตผิดตำแหน่ง เป็นต้น

4. เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=12354

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

พ่อหรือแม่ (อายุมาก) เสี่ยงที่ใครกันแน่?

การที่ลูกน้อยเกิดมามีความผิดปกติ โดยเฉพาะเป็นโรคทางพันธุกรรมนั้นสาเหตุมาจากใคร พ่อหรือแม่? เราพาค้นหาคำตอบกัน…
        ปัญหาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุมากกังวลที่สุดก็คือ กลัวว่าลูกจะไม่แข็งแรง กลัวว่าลูกจะมีความผิดปกติทางพันธุกรรม กลัวจะมีลูกพิการหรือปัญญาอ่อน เพราะเป็นที่รู้กันทั่วๆ ไปในวงกว้าง แล้วว่า ถ้าคุณแม่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปมีโอกาสที่ลูกจะมีความพิการหรือปัญญาอ่อนสูงขึ้น ที่คุ้นเคยกันมากในบ้านเราก็คือกลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome)
ความจริงโรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมมีมากมายนับไม่ถ้วน แต่ที่ฮิตติดอันดับจนคนรู้จักกันมากที่สุดก็คือกลุ่มอาการดาวน์หรือที่เรียกกันว่าเด็กดาวน์นั่นแหละครับ แล้วก็บังเอิญอีกที่สาเหตุของโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากแม่ที่สูงอายุ พอคลอดลูก ออกมาผิดปกติก็โทษไปที่คุณแม่ข้างเดียว ไม่ยุติธรรมเลยใช่มั้ยครับ ตอนสร้างทั้งคุณพ่อและ คุณแม่ช่วยกันสร้าง สร้างออกมาแล้วชำรุดกลับโยนความผิดทั้งหมดไปให้คุณแม่ ส่วนคุณพ่อทำ ไม่รู้ไม่ชี้ แถมบางทียังช่วยรุมซ้ำเติมคุณแม่อีก

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=191
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/