วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

12สัปดาห์แรกลูกน้อยในครรภ์โตเร็วสุด

ช่วงสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์
ซึ่ง เป็นระยะที่สามารถคลำยอดมดลูกได้เหนือกระดูกหัวหน่าวแล้ว ความยาวของทารกจากศีรษะถึงก้น วัดด้วยการอัลตราซาวนด์เพื่อนำไปคำนวณอายุครรภ์ (crown-rump length) จะได้ประมาณ 6-7 เซนติเมตร


ใน ช่วงอายุครรภ์นี้จะเริ่มมีการสร้างเนื้อกระดูก (ossification) และการพัฒนาของนิ้วมือและนิ้วเท้า ผิวหนัง เล็บและเส้นขน อวัยวะเพศภายนอกเริ่มแยกได้ว่าเป็นชายหรือหญิง แต่ยังตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ไม่พบนะครับ

ระยะ นี้ทารกเริ่มมีการเคลื่อนไหวให้เห็นแต่คุณแม่จะไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นนะครับ จนกว่าอายุครรภ์จะครบ 18-20 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นท้องหลัง คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นเมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในมดลูกของคุณแม่ จะเห็นว่าหัวใจของลูกน้อยเริ่มมีการเต้น เริ่มเห็นตัวของลูก และคุณแม่จะเริ่มเห็นเจ้าตัวเล็กขยับตัวในการตรวจอัลตราซาวด์ เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 8-10 สัปดาห์ครับ
ดัง นั้น คุณแม่ต้องเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวของลูกมีตั้งแต่อายุครรภ์ 8-10 สัปดาห์แล้ว แต่คุณแม่ไม่รู้สึกเนื่องจากลูกยังเล็กมาก และมีการเคลื่อนไหวไม่มาก เพราะฉะนั้นช่วงอายุครรภ์ที่ต่ำกว่า 16-18 สัปดาห์นี้ คุณแม่จะไม่รู้ว่าลูกดิ้นอยู่แน่นอน จึงไม่ต้องกังวลใจหากไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นอยู่ก่อนอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ครับ

การทำงานของระบบประสาท ทารกเริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ หลังมีการงอกของอวัยวะและลำตัว และจะเริ่มมีตุ่มรับรสที่ลิ้นเมื่ออายุครรภ์ 7 สัปดาห์ โดยตุ่มรับรสจะเริ่มทำงานเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์

เมื่อ อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ ทารกเริ่มกลืนได้ และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น โดยการกลอกตา อ้าปาก และขยับมือ รวมทั้งสามารถกำมือได้เต็มที่เมื่ออายุครรภ์ 12-16 สัปดาห์

เมื่อ อายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ทารกเริ่มกลืนได้และลำไส้เล็กเริ่มเคลื่อนไหวพร้อมทั้งดูดซึมกลูโคสได้ ตับอ่อน (pancreas) สามารถสร้าง insulin ตั้งแต่อายุครรภ์ 9-10 สัปดาห์ และเริ่มตรวจพบ insulin ในเลือดทารกเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เชื่อว่าการเจริญเติบโตของทารกส่วนหนึ่งเป็นผลจากอาหารคุณแม่ที่แม่กิน และ insulin ของทารก

ไตของทารกจะมีการ พัฒนาเป็นระยะ ซึ่งจะเริ่มสร้างเมื่ออายุครรภ์ 9-12 สัปดาห์ ส่วนการเจริญเติบโตของระบบทางเดินหายใจซึ่งมีความสำคัญต่อการรอดชีวิตของ ทารกหลังจากคลอด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดและปอดยังเจริญไม่เต็มที่ จะเกิดภาวะที่เรียกว่า respiratory distress syndrome (ภาวะปอดยังเจริญไม่เต็มที่) อาจทำให้ทารกเสียชีวิตหลังคลอดได้ครับ

การ เจริญเติบโตของปอดจะเริ่มระหว่างอายุครรภ์ 5-17 สัปดาห์ จะมีการเจริญของหลอดลม กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจจะเริ่มทำงานเมื่ออายุครรภ์ 11 สัปดาห์ และเมื่อ 12 สัปดาห์ จะสามารถเคลื่อนไหวจนทำให้เกิดการไหลของน้ำคร่ำเข้าและออกจากปอดของลูกน้อย ในครรภ์

ต่อมไทรอยด์เริ่มสร้าง ฮอร์โมน เมื่ออายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกมีบทบาทในการพัฒนาอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมองของลูกน้อยในครรภ์ครับ

ระบบ ไหลเวียนโลหิตในรกเริ่มทำงานเมื่อทารกในครรภ์อายุตั้งแต่ 17 วัน โดยจะมีการไหลเวียนของโลหิตใน villi (หลอดเลือดที่เลี้ยงอยู่ในรก) ในกรณีที่ villi ไม่มีการสร้างเส้นเลือดเชื่อมต่อกับทารก จะเกิดการสะสมของเหลวใน villi และพองเป็นถุง (vesicles)
ถ้า หากมีความผิดปกติมากก็จะกลายเป็นครรภ์ไข่ปลาอุก (hydatidiform mole) คุณแม่บางคนอาจเคยได้ยินคำนี้ เช่น คุณหมอบอกว่าตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกไม่มีตัวเด็ก คุณหมอหมายถึงว่ามีความผิดปกติในการพัฒนาของรกและระบบไหลเวียนโลหิตใน villi ทำให้เกิดเป็นถุงเล็กๆ หรืออาจเป็นถุงใหญ่ๆ ดูคล้ายไข่ปลาอุก ที่เราเรียกว่า ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก อาจพบร่วมกับมีหรือไม่มีทารกก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีทารก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นมะเร็งได้ด้วยครับ

ดัง นั้นหากตรวจพบว่าเป็นการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คุณหมอก็จะแนะนำให้คุณแม่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ โดยการตรวจเลือดเพื่อหาระดับ hormone ที่เรียกว่า Beta hcg รวมทั้งการตรวจเลือดเพื่อดูค่าต่างๆ และเตรียมเลือดเพื่อให้เพียงพอเพื่อการทำการขูดไข่ปลาอุกในมดลูก เราจะพบว่ามีโอกาสเสียเลือดของคุณแม่ขณะดูดและขูดมดลูกได้สูงมาก และมีโอกาสเสี่ยงหากชิ้นเนื้อสงสัยว่าจะมีการกลายเป็นมะเร็ง ซึ่งอาจต้องตัดมดลูกหรือร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดร่วมไปด้วย

คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=11278
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น