วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ชิคุนกุนยา โรคนี้แม่ท้องต้องระวัง

แม่ท้องกับชิคุนกุนยา
จาก การศึกษาการติดเชื้อในแม่ 160 คน พบว่าแม่ 3 ใน 9 คนที่อายุครรภ์ต่ำกว่า 22 สัปดาห์ แท้งบุตร ซึ่งอาจเป็นผลจากไวรัสหรือไม่ใช่ก็ได้
สำหรับ แม่ที่มีการติดเชื้อโดยไม่มีไข้สูงในช่วงการคลอด (ซึ่งแสดงถึงจำนวนไวรัสมีจำนวนน้อย ) จำนวน 118 คนจาก 160 คน พบว่าทารกที่คลอดมามีอาการปกติดี ไม่มีไข้
ส่วน แม่ที่มีไข้สูงในช่วงการคลอด (ซึ่งหมายถึง มีจำนวนไวรัสมาก) จำนวน 33 คน พบว่า 16 คน หรือ 48.5 % ทารกที่คลอดออกมาจะมีไข้ และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคชิคุนกุนยาตั้งแต่กำเนิด (neonaltal Chikungunya) ส่วนอาการของแม่ท้องที่เป็นโรคนี้จะเหมือนกับคนทั่วไปค่ะ
ใน ประเทศไทย แพทย์จังหวัดตรังได้ผ่าตัดทำคลอดให้กับผู้ติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา เนื่องจากเกรงว่าจะมีการส่งผ่านเชื้อระหว่างแม่สู่ทารก เมื่อผ่าตัดทำคลอดนำทารกออกมาได้โดยปลอดภัยแล้ว กลับพบว่าทารกก็ติดไวรัสนี้ด้วย ซึ่งทารกที่ติดเชื้อไม่สามารถหายใจและดูดนมเองได้ แพทย์ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด สันนิษฐานกันว่า ไวรัสชิคุนกุนยาสามารถส่งผ่านจากแม่สู่ลูกได้ เช่นเดียวกับการศึกษาในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามยังต้องมีการเก็บข้อมูลและพิสูจน์ข้อสันนิษฐานนี้ต่อไป
แม่ ท้องที่ป่วยเป็นโรคนี้ ก็ดูแลและรักษาตามอาการที่เป็นเหมือนคนทั่วไปค่ะ ถ้าเป็นไข้ก็กินยาลดไข้ กินอาหารไม่ได้คงต้องให้น้ำเกลือ ที่สำคัญคือ ต้องพักผ่อนมากๆ เมื่อร่างกายแข็งแรง ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น ก็จะหายเป็นปกติได้เองค่ะ
การ ป้องกันอาจดีกว่าค่ะ แม่ท้องควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ควรทายากันยุงที่ทำจากธรรมชาติกันยุงกัด และไม่ลืมกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยค่ะ

รู้จักชิคุนกุนยามากขึ้นอีกนิด
โรค ชิคุนกุนยาเกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ที่มียุงลาย (Aedes aegypti, Ae.albopictus ) เป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายกับไข้เลือดออก แต่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนมีภาวะช็อกค่ะ
สำหรับ การติดต่อนั้น เกิดได้เมื่อยุงลายตัวเมียกัด และดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง เชื้อไวรัสจะกระจายเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากนั้นเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายของ ยุง เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่น ก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนๆ นั้นเกิดอาการของโรคได้ค่ะ โดยทั่วไปโรคนี้มีระยะฟักตัว 1-12 วัน แต่ส่วนมากประมาณ 2-3 วัน สำหรับระยะติดต่ออยู่ในช่วงที่มีไข้สูงคือ ประมาณวันที่ 2-4 ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมากค่ะ
การวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยาทำได้ 3 วิธี ดังนี้ค่ะ
1.การแยกเชื้อไวรัส โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยมาตรวจหาเชื้อ ใช้เวลา 1-2 สัปดาห์
2.RT-PCR เป็นการเพิ่มจำนวนยีนของไวรัส โดยจะใช้เวลาการตรวจ 1-2 วัน
3.การ ทดสอบทางระบบภูมิคุ้มกัน (Serology Diagnosis) ต้องใช้เลือดจำนวนมาก และใช้วิธี ELISA เพื่อตรวจหาระดับ Antibody ต่อเชื้อชิคุนกุนยา ใช้เวลา 2-3 วัน

สังเกตอาการ สัญญาณบอกโรค
สำหรับ อาการของโรคชิคุนกุนยานั้น ผู้ที่เป็นโรคจะมีไข้สูงเฉียบพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย อาจมีอาการคัน ตาแดง ร่วมด้วยอาการที่เด่นชัดมากคือ อาการปวดตามข้อ ข้ออักเสบส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ ได้แก่ ข้อมือ ข้อเท้า ซึ่งอาการปวดข้อนี้อาจพบได้หลายข้อและเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (Migratory Polyarthritis) ในผู้ป่วยบางรายอาการอาจรุนแรงมากจนขยับข้อไม่ได้
อาการ ปวดข้อนี้จะหายไปในช่วง 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นซ้ำอีกใน 2-3 สัปดาห์ มีบางรายแต่ไม่มากที่อาการปวดข้ออาจอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปีค่ะ

 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=27643
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น