วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ท้องนี้น้ำหนักเยอะไปมั้ย!

การกังวลกับความสวยความงาม ไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะในหมู่ผู้หญิงสาวเท่านั้น คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ก็มีความกังวลใจกับเรื่องนี้ไม่น้อยเหมือนกัน โดยปัญหาส่วนใหญ่ก็คือมีความกังวลในเรื่องรูปร่างของตัวเองที่เคยเป็นสิ่ง ดึงดูดหรือมัดใจสามี มีอันจะต้องเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์

นอก จากนี้ก็มีคุณแม่อีกส่วนหนึ่งที่จะมีความกังวลต่อสุขภาพของลูกในครรภ์ ไม่แน่ใจว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากหรือน้อยจะมีผลต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างไร คุณแม่มักจะถามคุณหมออยู่เสมอว่าน้ำหนักขึ้นขนาดนี้ดีไหม มากหรือน้อยไปหรือเปล่า จะกิน อาหารประเภทนี้ได้ไหม ควรงดอาหารประเภทนี้หรือเปล่า เป็นคำถามร้อยแปดพันประการ ที่ต้องการคำตอบ

วันนี้ผมขอตอบคำถามจิปาถะเรื่องน้ำหนักตัวแม่ตั้งครรภ์หน่อยนะครับ

ไตรมาสแรก : น้ำหนักยังไม่เพิ่ม แต่อาจลดได้

เมื่อ คุณแม่คนหนึ่งตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายเพื่อเตรียมพร้อมที่จะช่วยบริบาลลูกน้อย ให้อยู่ในครรภ์ได้โดยปกติสุข ขณะเดียวกันลูกน้อยในครรภ์ก็จะมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากเซลล์เพียงเซลล์เดียว ก็จะมีการแบ่งตัวต่อไปจนเป็นตัวเด็ก การเจริญเติบโตของลูกนั้น แน่นอนจะต้องอาศัยสารอาหารต่างๆ ซึ่งลูกในครรภ์ยังไม่สามารถที่จะรับประทานอาหารได้เอง จะต้องได้จากแม่โดยผ่านรกและ สายสะดือ ดังนั้นรกและสายสะดือจึงเปรียบเสมือนเส้นทางลำเลียงอาหารและอากาศมาสู่ลูก การที่ลูกจะได้รับอาหารที่ดีและถูกต้อง จึงขึ้นอยู่กับสุขลักษณะในการรับประทานอาหารของคุณ แม่นั่นเอง

ถ้าดู ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ จะพบว่าคุณแม่มักมีอาการเบื่ออาหารหรือแพ้ท้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่พบปกติในคุณแม่ท้องอ่อนๆ คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการแพ้ท้องมาก บางคนก็มีอาการน้อย บ่อยครั้งที่คุณแม่มักจะตั้งคำถามว่าท้องก่อนลูกเป็นผู้หญิงไม่ค่อยมี อาการแพ้เลย ท้องนี้มีอาการแพ้มากลูกในท้องจะเป็นผู้ชายหรือเปล่า คำตอบก็คือคงไม่เกี่ยวข้องกัน เนื่องจากเชื่อว่าอาการแพ้น่าจะมีส่วนสัมพันธ์กับฮอร์โมนบางตัวที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนที่ว่านี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเพศเด็กเลย

อย่างไรก็ ตามผลของการเบื่ออาหารหรือแพ้ท้องก็อาจจะทำให้น้ำหนักของคุณแม่ไม่เพิ่ม ขึ้น ซ้ำร้ายในคุณแม่บางคนก็อาจจะลดลงได้ ทั้งๆ ที่ปกติน้ำหนักของคุณแม่ควรจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการที่เด็กตัว โตขึ้น

หมอขอแนะนำว่าในช่วงของการตั้งครรภ์ อ่อนๆ ที่คุณแม่มักจะมีอาการเบื่ออาหารหรือแพ้ท้องนี้ ควรจะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ไข่ และอาหารในกลุ่มผักและผลไม้ซึ่งจะอุดมไปด้วยวิตามิน และรับประทานอาหารในกลุ่มพลังงานบ้าง ได้แก่อาหารพวกคาร์โบไฮเดรท เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น กับอาหารพวกไขมัน เช่น น้ำมันสัตว์ น้ำมันพืช เป็นต้น แต่ ปริมาณอาหารในกลุ่มพลังงานไม่ควรจะมากนัก เพราะจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วมาก และ การรับประทานอาหารในช่วงอายุครรภ์นี้ก็ควรจะรับประทานครั้งละน้อยๆ แต่ให้บ่อยครั้งจะทำให้อาการแพ้ท้องของคุณแม่ลดลงได้บ้าง

สำหรับคุณ แม่ที่มีน้ำหนักคงที่หรือน้ำหนักลดในช่วงนี้ ก็ยังไม่ถึงกับต้องตกใจมาก เพราะน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ จะเป็นน้ำหนักของคุณแม่ที่เปลี่ยนแปลงเองเสียส่วนใหญ่ ผลที่จะเกิดขึ้นต่อลูกมีน้อยมาก แต่มีข้อแม้นะครับว่าอาหารการกินของคุณแม่จะต้องมีประโยชน์ อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น และปริมาณอาหารจะต้องเพียงพอในระดับหนึ่ง เนื่องจากลูกน้อยในวัยนี้ตัวยังเล็กมากจึงยังไม่ต้องการอาหารในปริมาณมากนัก แต่คุณค่าอาหารจะเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าเพราะจะทำให้การเจริญเติบโตของลูกน้อย ในครรภ์เป็นไปอย่างเหมาะสมและปกติ

ไตรมาสที่ 2-3 : เบรกไม่อยู่ระวังน้ำหนักพุ่งพรวด


ใน ช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว ทั้งนี้เป็นเพราะปัจจัยหลักๆ 3 ประการดังต่อไปนี้ครับ

* ประการแรก ในช่วงอายุครรภ์นี้คุณแม่มักจะหายจากอาการแพ้แล้ว ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น

* ประการ ที่สองคือ ลูกในครรภ์เริ่มโตเร็วขึ้นซึ่งแตกต่างกับในช่วงสามเดือนแรกที่การเจริญเติบ โตของลูกค่อนข้างช้า เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกกำลังสร้างอวัยวะต่างๆ ในขณะที่ช่วงหลังนี้จะเป็นช่วงที่เซลล์มีการโตขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่าในช่วงกลางและช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ลูกจะมีขนาดตัวที่โต เร็วมาก

* ประการ สุดท้าย เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายของคุณแม่เองที่มีการเตรียมตัว เพื่อให้พร้อมที่จะประคับประคองการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ เช่น การเตรียมอาหารให้แก่ลูกโดยการสะสมไขมันในร่างกาย การเพิ่มปริมาณเลือดในร่างกายเพื่อไปเลี้ยงมดลูก หรือการขยายขนาดของเต้านมเพื่อเตรียมที่จะให้นมลูกหลังคลอด เป็นต้น

ดัง นั้นจะเห็นได้ว่า หลังจากการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกผ่านพ้นไปแล้ว อัตราการเพิ่มของน้ำหนักตัวแม่จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวของคุณแม่จะเป็นเรื่อง อุปนิสัยในการกินเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ เนื่องจากกลไกการเตรียมคุณแม่ในธรรมชาติดังกล่าวจะเกิดกับคุณแม่ทุกคนถ้าคุณ แม่นั้นไม่มีความผิดปกติอะไร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดซึ่งอาจจะเคยเกิดขึ้นกับคุณแม่บางคนก็คือ ในช่วงหน้าทุเรียนหรือมะม่วง มักจะพบว่าเมื่อคุณแม่มาฝากครรภ์น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มผิดสังเกต เช่น เพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มที่ค่อนข้างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทุเรียนหรือมะม่วงสุกจะเป็น ผลไม้ที่หวาน มีปริมาณน้ำตาลมากเกินกว่าที่ร่างกายคุณแม่ต้องการใช้ ร่างกายคุณแม่ ก็จะเปลี่ยนพลังงานในรูปน้ำตาลที่เหลือเหล่านั้นให้เป็นรูปไขมันและเก็บ สะสมในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งนั่นล่ะครับคือเหตุของความอ้วนในขณะตั้งครรภ์


 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=296
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น