วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตรวจหัวใจลูก และระบบอาหาร

ข้อบ่งชี้ของการตรวจหัวใจทารกด้วยอัลตร้าซาวนด์ (fetal echocardiography)

ทางมารดา ได้แก่ มารดาที่เป็นเบาหวาน เป็น SLE ได้รับ teratogen (สารก่อมะเร็ง) เช่น lithium carbonate alcohol และ anti convulsant ติดเชื้อไวรัสบางอย่าง เช่น หัดเยอรมัน มีภาวะแฝดน้ำ มีหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด เป็นต้น



ทารก ได้แก่ มีความผิดปกติ ใน level 1 scan มีความผิดปกติของอวัยวะในระบบอื่นที่ไม่ใช่ระบบหัวใ มีความผิดปกติของโครโมโซมของมารดาในครรภ์ ทารกในครรภ์มีการเต้นผิดปกติของหัวใจ บวมน้ำ เจริญเติบโตช้า เป็นต้น

ครอบครัว คือ มีประวัติโรคหัวใจแต่กำเนิดในครอบครัว มีประวัติในครอบครัวเป็น Noonan หรือ Marfan syndrome
 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรทราบไว้ว่า การตรวจหัวใจทารกในครรภ์ ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถบอกความผิดปกติของหัวใจทารกแรกคลอดได้หมด ซึ่งภาวะบางอย่างที่พบได้บ่อยหลังคลอด เช่น รูรั่วระหว่างหัวใจส่วนบนและส่วนล่างซ้ายและขวา จะไม่สามารถบอกได้ คุณแม่จึงควรเข้าใจถึงโอกาสของความผิดพลาดที่อาจเกิดจากการตรวจหัวใจพิการ ของทารกในครรภ์ไว้ด้วยครับ

ระบบต่อไป คือระบบทางเดินอาหาร สิ่งที่ตรวจพบบ่อยที่สุด คือการอุดตันทางเดินอาหารของทารกในครรภ์ โดย มักจะอุดตันที่ลำไส้เล็กส่วนต้น อัลตราซาวนด์จะแสดงให้เห็น กระเพาะอาหารของทารกโป่งพอง ต่อเนื่องกับการโป่งขยายของลำไส้เล็กส่วนต้น ลักษณะที่พบร่วมบ่อยคือภาวะแฝดน้ำ มักวินิจฉัยภาวะดังกล่าวได้หลังจาก 24 สัปดาห์ แต่อาจพบได้เร็วถึง 19 สัปดาห์

หากตรวจพบความผิดปกติดังกล่าว คุณหมอจะตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วย เช่น ความผิดปกติของหัวใจ โครงกระดูก ทางเดินปัสสาวะและตรวจหาความผิดปกติทางโครโมโซม เนื่องจากจะพบร่วมกับความผิดปกติของโครโมโซม ได้ถึงหนึ่งในสาม

บาง ครั้งการอุดตันอาจทำให้เกิดการแตกรั่วของผนังลำไส้ เกิดน้ำคั่งในช่องท้อง เกิดการอักเสบที่เยื่อบุช่องท้อง และมีขี้เทาในท้อง ภาพอัลตราซาวนด์จะเห็นเป็นผนังหนาร่วมกับการมีหินปูนสะสมเป็นหย่อมๆ


 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=12126
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น