วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ลูก...ผู้รับผลความเครียดในครอบครัว

ความเครียดในแม่ขณะตั้งครรภ์ส่งผลร้ายต่อเด็กเมื่อเขาคลอดออกมา

มี ตัวอย่างรายหนึ่งทั้งพ่อและแม่ก็มาปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาในตัวลูกชาย ซึ่งเรียนอยู่ในโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่ง เด็กคนนี้ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องสติปัญญาแต่อย่างใด สิ่งที่ผิดปกตินั่นคืออารมณ์และความเครียด เด็กคนนี้ซึ่งผมขอเรียกว่า 'ตุ้ม' มักมีอาการใจสั่น กระวน กระวายใจ เหงื่อกาฬแตก มือและเท้าเย็นอยู่บ่อยๆ หากเป็นขณะที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ ก็จะนั่งเรียนต่อไปไม่ได้ ต้องออกเดินไปเดินมาสักพัก จึงจะดีขึ้น แต่หากเขามีอาการขณะทำกิจกรรมอย่างอื่นนอกบ้าน ทั้งพ่อและแม่ก็จะต้องรีบหอบหิ้วเจ้าตุ้มขึ้นรถกลับบ้านทันที

อาการกระวนกระวายที่ตุ้มใช้คำว่า"อยู่ไม่นิ่ง" อาจคล้ายกับอาการสมาธิสั้น(Hyperactive) แต่แปลกที่ว่า อาการต่างๆไม่ได้เป็นอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ไม่มีอาการก็ดูเหมือนเด็กปกติธรรมดานี่เอง และที่สำคัญ ไม่ค่อยตอบสนองกับยาที่ใช้รักษาเสียด้วย

สอบถามจากตัวของคุณแม่ก็ ได้ความเพิ่มเติมว่า ระหว่างตั้งครรภ์อยู่นั้น เธอมีความเครียดมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งกับครอบครัวของสามี จนต้องแยกมาอยู่ต่างหาก ทั้งความเครียด ความโกรธ ทำให้เธอนอนไม่หลับ กระวนกระวายใจตลอดเวลา

ยัง โชคดีอยู่บ้างที่ภายหลังครอบครัวนี้ก็สามารถกลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง แต่นั่นก็ทำให้เด็กที่คลอดออกมามีอาการคล้ายคลึงกับคุณแม่ที่ยากจะรักษา ในทางการแพทย์เราอธิบายได้ว่า ขณะมีความเครียดนั้น ร่างกายจะตอบสนอง โดยการทำงานที่เพิ่มขึ้นของ ระบบประสาทซิมพาเตติก ซึ่งสังเกตได้จากอาการใจเต้นแรง มือเย็นเท้าเย็น ความดันขึ้นสูง ร่วมกับการเพิ่มของสเตียรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ภาวะเช่นนี้ หากเป็นอยู่ชั่วคราวแล้วหายไป (ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่คนเราจะมีความทุกข์ใจบ้างเป็นธรรมดา) ก็จะไม่ส่งผลอะไรนัก แต่หากเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือเป็นเวลานานๆ จะทำให้เด็กในครรภ์ตกอยู่ในสภาพของความเครียดด้วย

ความเครียดของ เด็กมีทั้งจิตใจที่สื่อสารถึงกัน และทางกาย ซึ่งหมายถึงการทำงานที่ปกติของสรีระร่างกาย ทั้งหมดนี้ทำให้เด็กตื่นตัวเหมือนถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา ระดับความทนทาน (threshold) ต่อความเครียด ก็จะมีน้อยกว่าเด็กทั่วไป เปรียบได้ง่ายๆ เหมือนกับแก้วน้ำที่มีอยู่ค่อนแก้ว เมื่อเติมน้ำลงไปอีกเพียงเล็กน้อย ก็ล้นออกมาเลอะเทอะในรายเช่นนี้ การย้อนเวลากลับไปแก้ไขนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เราจึงต้องปรับเปลี่ยนปัจจุบันว่าสมควรทำอย่างไรกันดี การให้ยารักษานั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ผมขอไม่พูดถึงรายละเอียด แต่จะเล่าถึงการฝึกสอนที่พ่อกับแม่ช่วยกันปลุกปล้ำลูกของเขา 


 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=7116
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น