วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Mommy Brain : สมองสร้างแม่

สมอง...จุดเริ่มต้นของความเป็นแม่
 เมื่อผู้หญิงเป็น"แม่" สมองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากตอนที่ยังไม่มีลูก นับตั้งแต่ช่วงเวลาที่เริ่มตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด และต่อเนื่องยาวนานไปตลอดการเลี้ยงดูเลยค่ะ
สมองกับฮอร์โมน
เมื่อ เริ่มตั้งครรภ์รังไข่และรกจะสร้างฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนเพิ่มมากขึ้น ต่อมใต้สมองจะสร้างฮอร์โมนออกซีโตซิน โปรแลคติน และเอนโดรฟินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนเหล่านี้ส่งผลระยะยาวต่อโครงสร้างและการ ทำงานของสมองหลายส่วน นั่นคือ
ช่วง ตั้งครรภ์ใหม่ๆ จะมีฮอร์โมน HCG หลั่งออกมาจากรก เพื่อให้รกเกาะติดกับมดลูกเพื่อป้องกันการแท้ง ฮอร์โมนตัวนี้ทำให้เกิดอาการแพ้ท้องด้วยค่ะ หลังจากนั้นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ และขึ้นสูงสุดในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน
การ เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนดังกล่าวมีผลต่อฮอร์โมนเลปติน ที่ควบคุมการกินอาหารของแม่ ฮอร์โมนตัวนี้จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สัมพันธ์กับการที่แม่กินอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อม อันเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นนั่นเอง
หลัง จากคลอดเจ้าตัวน้อย ฮอร์โมนต่างๆ ก็กลับสู่ภาวะปกติ โดยที่ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนซึ่งทำหน้าที่มาตลอด 9 เดือน ทำให้สมองส่วนเดนไดรท์แตกแขนงมากมาย สมองของแม่จึงแอคทีฟมากขึ้น
ส่วน ฮอร์โมนออกซีโตซิน และโพรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้มีน้ำนม จะเพิ่มมากช่วงหลังคลอดใหม่ๆ ไปจนถึง 6 เดือน แต่ถ้าแม่ยังให้นมลูกอยู่ ฮอร์โมน 2 ตัวนี้ก็จะยังคงมีไปเรื่อยๆ ที่สำคัญฮอร์โมนทั้ง 2 ยังช่วยให้ความรักและความผูกพันระหว่างแม่ลูกท่วมท้นขึ้น รวมถึงพฤติกรรมการเลี้ยงดูลูก พฤติกรรมความเป็นแม่ อันเป็นความรักแบบไม่มีเงื่อนไข
ดังนั้นการที่เจ้าตัวเล็กได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด จะช่วยในเรื่องความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างแม่กับลูกค่ะ
สำหรับ ฮอร์โมนโพรแลคติน พบได้ในสมองหลายส่วน ทำให้เกิดการแตกแขนงของเซลล์ประสาทในส่วนของไฮโปเทอรามัส ทำให้เกิดพฤติกรรมความเป็นแม่ด้วยนะคะ

สมองกับพฤติกรรมความเป็นแม่
พฤติกรรม ที่แสดงออกถึงความเป็นแม่นั้นถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่า Cingulate Cortex และ Medial Preoptic Area สมองส่วนนี้จะทำงานเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อแม่ตั้งครรภ์ เซลล์ประสาทที่อยู่ในบริเวณเหล่านี้จะมีขนาดใหญ่และแตกแขนงเพิ่มมากขึ้น เช่น ถ้าแม่เห็นลูกร้องไห้ สมองส่วนนี้จะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมความเป็นแม่ เช่น การเข้าไปปลอบโยน ดูแลให้ลูกหยุดร้องไห้
ยัง มีสมองอีกส่วนหนึ่งค่ะที่ทำให้แม่เกิดความรู้สึกอยากอยู่ใกล้ชิดลูก นั่นก็คือส่วนของ Nuecleus accumbend จะหลั่งโดปามีน (เกิดจากฮอร์โมนออกซีโตซิน และโพรแลคตินไปกระตุ้น) สารแห่งความสุขมากขึ้นกว่าก่อนมีลูก เป็นสมองส่วนที่ทำให้แม่รู้สึกมีความสุข และเกิดความพึงพอใจเมื่อได้อยู่ใกล้ชิดลูก เหมือนได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่ของชีวิตมากกว่ารางวัลใดๆ
หลัง คลอดลูกแล้วระดับของฮอร์โมน cortisol จะเพิ่มมากกว่าปกติเล็กน้อย ในภาวะปกติฮอร์โมน cortisol จะเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดความเครียด และหากระดับฮอร์โมน cortisol ในร่างกายสูงเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายทุกระบบค่ะ แต่ว่าในขณะตั้งครรภ์และคลอดลูกนั้นฮอร์โมนนี้จะส่งผลดีต่อแม่ เพราะทำให้แม่ตื่นตัวและมุ่งความสนใจความเอาใจใส่ไปที่ลูก ยอมอดหลับอดนอนเพื่อดูแลลูก คอยระวังสังเกตลูก จดจำเสียงและกลิ่นของลูก ที่สำคัญคือ ทำให้เกิดสายใยความผูกพันระหว่างแม่ลูกที่จะมีอยู่ตลอดไปด้วย

สมองกับความจำของแม่
ระหว่าง ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน และออกซีโตซินที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงาน ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ โดยทำให้ปลายประสาทแตกแขนงมากขึ้น มีจำนวน dendritic spine เพิ่มมากขึ้นและสร้างจุดเชื่อมต่อสัญญาณประสาทเพิ่มมากขึ้น จำนวนเซลล์พี่เลี้ยงก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ส่งผลให้แม่มีความจำดีขึ้น

สมองกับประสาทสัมผัสของแม่
แม่ ท้องและแม่หลังคลอดจะมีการรับความรู้สึก กลิ่น เสียง ภาพ ไวขึ้นกว่าก่อนท้องนะคะ ความเป็นแม่จะช่วยพัฒนาทักษะตรงนี้เพิ่มขึ้นมากๆ จึงรู้ว่าลูกรู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร คือสามารถใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูก

สมองกับการอ่านทิศทางของแม่
เป็น ที่รู้กันค่ะว่าความสามารถในเรื่องทิศทาง การอ่านแผนที่ มักจะพบว่าผู้ชายมีทักษะด้านนี้มากกว่าผู้หญิง แต่เมื่อผู้หญิงเป็นแม่พบว่าสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่เกี่ยวข้องกับการเรียน รู้เรื่องสถานที่มีการแตกแขนง มีปุ่มเล็กๆ ที่จะสร้างซินแนปมากขึ้น ทำให้ทักษะเรื่องทิศทางของแม่ดีขึ้น
มี การทดลองในหนู โดยการวางอาหารไว้แล้วให้หนูเดินหา เพื่อจะดูว่าหนูจะหาได้เจอเร็วแค่ไหน ปรากฏแม่หนูหาอาหารได้เร็วมากกว่าหนูที่ไม่มีลูกค่ะ

 สมองกับความเข้มแข็งของแม่
สมอง ของแม่เตรียมแม่ให้แข็งแกร่ง พร้อมเผชิญเหตุการณ์เฉพาะหน้าและพร้อมปกป้องลูกน้อยในทุกสถานการณ์ ความแตกต่างนี้ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วคราว ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองของผู้หญิงที่เป็นแม่ อย่างถาวร
การตั้งครรภ์ทำให้สมองส่วน Basolateral Amygdala ในฮิปโปแคมปัสทำงานลดลง นั่นคือจะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวลให้กับแม่ได้ค่ะ

 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=29690
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น