วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สุขภาพลูก ตรวจได้ตั้งแต่ในครรภ์

สุขภาพลูก ตรวจได้ตั้งแต่ในครรภ์
ตลอด การตั้งครรภ์ คุณแม่จะได้รับโอกาสให้ตรวจคัดกรองและตรวจวินิจฉัยภาวะผิดปกติของทารกใน ครรภ์อยู่หลายอย่าง แม้ว่าคุณแม่บางคนอาจจะไม่ต้องตรวจทุกอย่าง แต่สำหรับคุณแม่หลายคน จะได้รับการแนะนำให้ตรวจทารกในครรภ์ ทั้งนี้การจะได้รับการแนะนำให้ตรวจอะไรนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ พื้นที่ที่อาศัยอยู่ และความเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้คุณแม่มีแนวโน้มว่าจะมีลูกที่ความผิดปกติ

ชนิดของการตรวจ
การตรวจลูกในครรภ์มีอยู่ 2 ชนิด คือ การตรวจคัดกรอง และการตรวจจำเพาะ
การ ตรวจคัดกรองเป็นเพียงการตรวจหาว่าเด็กในครรภ์มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะผิด ปกติหรือไม่ แต่ไม่ได้ชี้ชัดว่าเด็กจะคลอดออกมาผิดปกติ ซึ่งหากตรวจคัดกรองแล้วพบว่ามีความเสี่ยง คุณหมอก็จะแนะนำให้คุณแม่ไปตรวจจำเพาะอีกครั้งเพื่อชี้ชัดว่าเด็กมีภาวะผิด ปกติหรือไม่ ซึ่งการตรวจจำเพาะจะสามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้ว่าเด็กเป็นโรคนั้นหรือไม่
ในปัจจุบันการตรวจหาภาวะผิดปกติของทารกในครรภ์ที่สำคัญๆ มีดังนี้

การตรวจคัดกรองเบาหวาน
คุณแม่ทุกคนจะได้รับการซักประวัติว่าน่าจะมีปัญหาโรคเบาหวานหรือไม่ หากมีความเสี่ยง อาทิ
-อายุมากกว่า 35 ปี
-มีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน
-เคยคลอดลูกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม
-เคย คลอดลูกที่มีความพิการโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น ไขสมองสันหลังผิดปกติ กระดูกสันหลังเปิด หรือในท้องก่อนๆ เคยคลอดเด็กออกมาแล้วตายโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือว่าตายตั้งแต่อยู่ในท้อง
-แม่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะโรคอ้วน เป็นต้น
เหล่า นี้ถือว่าเป็นแม่ที่มีความเสี่ยงสูง จะต้องมีการเจาะเลือดเพื่อสกรีนเบาหวาน และถ้าผลการสกรีนออกมาเป็นบวก คุณหมอก็จะนัดคุณแม่มาตรวจวินิจฉัยต่อไปว่าเป็นเบาหวานจริงหรือไม่
สถานที่: โรงพยาบาลทุกแห่ง

ตรวจคัดกรองทาลัสซีเมีย
ทา ลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังที่เกิดจากกรรมพันธุ์ คนไทยถึง 40 % เป็นพาหะของโรคนี้ เด็กไทยจึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้สูงมาก ปัจจุบันการตรวจคัดกรองทาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์จึงเป็นนโยบายของชาติ แม่ทุกคนต้องได้รับการตรวจคัดกรอง โดยการตรวจเลือดดูลักษณะของเม็ดเลือดแดง ถ้าพบว่าแม่เป็นพาหะหรือเป็นโรคทาลัสซีเมียจะต้องมีการนำสามีมาตรวจด้วย เพื่อหาว่าคู่นี้เป็นคู่เสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรคทาลัสซีเมียหรือไม่
หาก ตรวจพบว่าทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะหรือเป็นโรค ลูกมีโอกาสที่จะเป็นพาหะถึง 75 % และมีโอกาสที่จะเป็นโรค 25 % ดังนั้นคุณหมอจะแนะนำให้ตรวจจำเพาะด้วยการเจาะเอาเนื้อรกของลูกไปตรวจ หรือการตรวจเลือดทารกในครรภ์แล้วแต่อายุครรภ์ว่าจะใช้วิธีใด เพื่อหาคำตอบว่าลูกในครรภ์เป็นโรคทาลัสซีเมียหรือไม่ ซึ่งในระหว่างนี้คุณหมอก็จะให้ข้อมูลและให้คำปรึกษาว่าถ้าพบว่าลูกเป็นโรค จริง คุณพ่อคุณแม่จะมีทางเลือกอย่างไรต่อไป
สถานที่: โรงพยาบาลทุกแห่ง

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม
ปัจจุบัน เมืองไทยมีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมได้ตั้งแต่ท้องอ่อนๆ ในไตรมาสแรก แม่ทุกคนสามารถตรวจได้ โดยวิธีการอัลตราซาวนด์ดูความหนาของน้ำระหว่างผิวหนังกับกระดูกต้นคอ ควบคู่กับการตรวจหาสารชีวเคมีบางอย่างในเลือดแม่ ด้วยการดู 2 อย่างนี้ควบคู่กันซึ่งเป็นวิธีที่ไม่มีความเสี่ยง แม่จะได้รู้ว่าลูกมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่
แต่ การตรวจคัดกรองเป็นเพียงแค่การหาความเสี่ยง ไม่ใช่ผลที่แน่นอนว่าลูกจะเป็นดาวน์ ดังนั้นหากผลการตรวจคัดกรองออกมาว่ามีโอกาสเป็น คุณแม่จะได้รับการแนะนำให้ไปตรวจจำเพาะเพื่อหาคำตอบที่แน่นอนว่าลูกเป็นหรือ ไม่
สถานที่:ปัจจุบันในเมือง ไทยมีการตรวจคัดกรองที่ รพ.รามาธิบดี และตามโรงเรียนแพทย์ต่างๆ เช่น รพ.จุฬา หรือศิริราช ก็กำลังจะมีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมให้บริการเช่นกัน

อัลตร้าซาวนด์ดูโครงสร้างร่างกาย
อัล ตร้าซาวนด์เป็นการตรวจขั้นพื้นฐานเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือน การตรวจอัลตราซาวนด์มีประโยชน์ในแง่สกรีนเรื่องของโครงสร้าง สามารถดูความผิดปกติของเด็กได้ตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงเท้า ดูหน้าตามีปากแหว่ง เพดานโหว่ไหม นิ้วมือนิ้วเท้าครบหรือเปล่า หัวใจมีผิดปกติไหม
ถ้า เจอโครงสร้างที่ผิดปกติ ก็สามารถวินิจฉัยได้เลยว่าเด็กคนนี้มีความผิดปกติ เช่น ภาวะกระดูกสันไขสันหลังเปิด ซึ่งบางอย่างสามารถให้การดูแลรักษาและวินิจฉัยได้ก่อนที่เด็กจะคลอดออกมา แม่จะได้เตรียมตัวเตรียมใจกับลูกที่จะออกมา คุณหมอก็จะได้เตรียมทีมศัลยแพทย์เด็ก เตรียมกุมารแพทย์ เตรียมวิสัญญีแพทย์ เตรียมเนิร์สเซอรี่ หรือเตรียมการผ่าตัดไว้ให้พร้อม เป็นการเตรียมรับมือกับปัญหาแต่เนิ่นๆ

 คุณแม่ทั้งหลายสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.momypedia.com/knowledge/pregnancy/detail.aspx?no=23811
ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.momypedia.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น